เช็คด่วนกลุ่มเสี่ยงหัวใจหยุดเต้น

เช็คด่วน! กลุ่มเสี่ยงหัวใจหยุดเต้น

ในวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมาในศึกฟุตบอลยูโร 2021คริสเตียน อีริคเซน นักเตะชาวเดนมาร์ก เกิดเหตุที่ทำให้ตกใจทั้งสนาม เมื่อเขามีอาการหัวใจหยุดเต้น หลังจากนั้นทางแพทย์สนามได้รีบเข้ามาทำการ CPR และใช้เครื่องช่วยหายใจก่อนจะส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลจนปลอดภัย วันนี้เราจะมาเจาะลึกว่าสาเหตุของอาการนี้นั้นเกิดขึ้นได้จากอะไรบ้างและมีทางแก้ไขอย่างไร

 

หัวใจหยุดเต้น คือ ภาวะซึ่งหัวใจทำงานผิดปกติ จนกระทั่งไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นโดยทันทีและไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกาย จนเกิดอาการของการทำงานผิดปกติที่อวัยวะต่างๆ ที่เห็นได้อย่างหนึ่งคือการทำงานของสมอง หากไม่มีเลือดไปเลี้ยงก็จะทำให้หมดสติ และหากผู้ป่วยเสียชีวิตภายในหนึ่งชั่วโมงหลังมีอาการเราจะเรียกภาวะนี้ว่า Sudden cardiac death ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องมีโรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวมาก่อน

กลุ่มเสี่ยงหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

หัวใจหยุดเต้น มักเกิดจากคนที่ดูปกแต่ไม่ทราย ไม่ได้ตรวจว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ หรือเคยเป็นมาก่อน ซึ่งความจริงแล้วเขาเหล่านั้นมักจะมีโรคหัวใจแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว โดยกลุ่มเสี่ยงเป็นหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมาจากสาเหตุดังนี้

  1. หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และสูบบุหรี่
  2. กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (low ejection fraction EF) ขออิบายก่อนนะครับว่า Ejection Fraction คือการวัดปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจในการบีบตัว 1 ครั้ง ซึ่งคนปกติหัวใจจะบีบตัวให้เลือดสูบฉีดออกไปต่อครั้งประมาณ 50-70% (EF 50-70%) แต่ในคนที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน จะมีการบีบตัวที่น้อยกว่า 35% (EF < 35%) และในผู้ป่วยที่อายุน้อย โดยเฉพาะที่น้อยกว่า 30 ปี มักเกิดจาก ความผิดปกติในทางเดินกระแสไฟฟ้าของหัวใจ เช่น Congenital long QT syndrome (LQTS) ความผิดปกติที่กล้ามนื้อหัวใจ เช่น Hypertrophic Cardiomyopathy ความผิดปกติที่หลอดเลือดโคโรนารีที่เลี้ยงหัวใจ (Abnormalities of coronary arteries)

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นนั้นมีดังนี้

  • ผู้ที่มีประวัติญาติสายตรงกับเช่น พี่น้อง บิดามารดา เสียชีวิตขณะอายุน้อยกว่า 50 ปีโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีโรคหัวใจรุนแรงขณะที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  • มีประวัติหมดสติหรือเป็นลมขณะออกกำลังกาย
  • มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกกกำลังกาย
  • รู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงออกกำลังกาย
ขอบคุณ : thaihealth.or.th

สาเหตุของภาวะหัววใจหยุดเต้น

สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี

  • มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจแต่กำเนิด ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว
  • มีความผิดปกติของโครงสร้างหลอดเลือดหัวใจ
  • มีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
  • ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว
  • ความผิดปกติของการเต้นของหัวใจโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

วิธีป้องกันหัวใจหยุดเต้น

  1. ทานผักผลไม้อย่างสม่ำเสมอ
  2. ออกกำลังกายวันละ 30 นาที
  3. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  4. ลด ละ เลิก สูบบุหรี่
  5. มั่นรักษาโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

วิธีปฐมพยาบาลกับผู้ที่หัวใจหยุดเต้น

  1. เข้าไปเรียก หรือเขย่าตัวผู้ที่หมดสติ
  2. ตรวจสอบการหายใจ อาการเกร็ง หรืออาการกระตุก ถ้าหากมีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้น
  3. นวดที่หัวใจ ไม่จำเป็นต้องเป่าปาก หากบริเวณนั้นมีเครื่อง

 

โดยสรุปแล้วอาการหัวใจหยุดเต้น นั้นอาจจจะเกิดจากการที่เป็นโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว สำหรับการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นได้แก่ การให้ออกซิเจนแอสไพริน และไนโตรกลีเซอรีนชนิดอมใต้ลิ้น จากนั้นต้องการพิจารณาถึงการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด หรือการขยายหลอดเลือดโคโรนารีทางผิวหนังโดยสาเหตุของผู้ที่อายุมากจะมาจาก โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และสูบบุหรี่ สำหรับผู้ที่ติดตามเว็บไซค์ Hunsahealth วันนี้หากท่านกำลังมองหาประกันสุขภาพที่น่าสน แต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประกันไม่รู้จะปรึกษาใคร ผมมีผู้ช่วยมาแนะนำกับ บริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยที่น่าเชื่อถืออย่าง Easyinsure ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประกันไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ปะรกันอุบัติเหต เป็นต้น ทางพนักงานจะแนะนำเบี้ยประกันที่เหมาะกับท่านพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับประกันให้ตัวท่านทราบ ติดต่อไปได้ที่ 02-801-9000 ทางออนไลน์ที่ Line : @easyinsure หรือจะเป็นเว็บไซค์ที่ Easyinsure.co.th จะมีพนักงานรอตอบท่านตลอด 24 ชั่วโมง

bannerเช็คเบี้ยประกันสุขภาพ

 

 

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *