สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเจ้าของรถยนต์ทุกคันคือ การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ที่โดยทั่วไปจะต้องไปต่อที่กรมการขนส่งทางบกในวันทำการเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ปี 2563 กรมการขนส่งทางบกได้เปิดช่องทางใหม่ ๆ ให้กับประชาชนเพื่อความสะดวกสบายให้กับเจ้าของรถยนต์ทุกคนที่สามารถ ต่อภาษีรถยนต์ ได้ทุกวันแม้แต่วันหยุดอย่างวันเสาร์และวันอาทิตย์ ก็ยังสามารถไปต่อภาษีได้ตามห้างสรรพสินค้า Big C ร้านสะดวกซื้อ 7 – 11 หรือ ที่ทำการไปรษณีย์ รวมไปถึงการ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ นั้นก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะมีขั้นตอนอย่างไร ราคากี่บาท เดียวเราไปดูกันดีกว่า
ต่อภาษีรถยนต์
ต่อภาษีรถ ภาษาอังกฤษ ( Per vehicle tax ) นั้นมีความสำคัญมาก ถือเป็นการทำตามกฎหมายในการจ่ายภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปี อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องจัดทำประกันภัยรถยนต์ ภายใต้ข้อบังคับของ พรบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ควมคุ้มครองแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ จะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องคำนึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่อย่างไร
ต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง
ในการ ต่อภาษีรถยนต์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ปัจจุบันมีความง่ายดายมากเลย เพียงแค่เตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นที่จะต้องนำไปด้วยในการต่อภาษีรถยนต์ให้ครบถ้วน ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างนั้นมาดูกัน
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (เล่มสีน้ำเงิน) หรือ สำเนาการจดทะเบียนรถยนต์
- เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี
- ใบติดตั้งแก๊สสำหรับรถยนต์ที่มีการติดตั้งแก๊ส
- ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งมีราคาที่แตกต่างกันตามลักษณะของซีซีรถยนต์ ยิ่งซีซีมากเท่าไหร่ก็เสียภาษีแพงขึ้นไปด้วย
วิธีการต่อภาษีรถยนต์
สำหรับ ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ นั้นไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ การต่อภาษีรถยนต์ก็สำเร็จลุล่วงได้โดยง่ายเพียงไม่กี่ขั้นตอน หลักฐานการต่อภาษีรถยนต์จะมีอะไรบ้างเราไปดูกัน
1. ตรวจสภาพรถยนต์
ตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ.2522 ได้ระบุไว้ว่า รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 หรือนำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด เครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับรถและผู้โดยสาร ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไปจะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน ต.ร.อ. แล้วนำใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกครั้ง ซึ่งการตรวจสภาพรถยนต์ ทางกรมขนส่งได้กำหนดประเภทของรถยนต์ที่ต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปีไว้ดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
- รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป
2. ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือการ ต่อ พรบ รถยนต์ เพื่อให้ได้เอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ.รถยนต์ มาใช้ในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์ โดยสามารถต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ได้ล่วงหน้าแม้จะยังไม่หมดอายุก็ตาม
3. ต่อภาษีรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
- พ.ร.บ.รถยนต์
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปีขึ้นไป
- เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊ส สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส LPG / NGV.
4. เอกสารรับรองการติดแก๊ส สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส
สำหรับรถยนต์คันใดที่ติดแก๊ส ไม่ว่าจะแก๊ส NGV หรือ LPG จะต้องขอเอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สจากสถานที่ติดตั้งแก๊สไว้ด้วยนะ เพราะเราถือว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีการดัดแปลง ซึ่งจะต้องแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก ซึ่งรถยนต์ที่ติดแก็ส LPG ควรทำการตรวจสอบถังบรรจุก๊าซทุก 5 ปี และทุก 1 ปี สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV ควรตรวจกับสถานที่ได้รับมาตรฐานจากกรมขนส่ง และที่มีวิศวกรออกใบรับรองให้อย่างถูกต้อง
5. ชำระภาษีรถยนต์
ถึงขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์แล้ว โดยหลังจากที่เตรียมเอกสารเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาการต่อภาษีรถยนต์ได้แล้ว โดยสถานที่ต่อภาษีรถยนต์ มีดังนี้
- สำนักงานขนส่งทางบก
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ร้านค้า หรือ ตามห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th
ต่อภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่
สำหรับ ราคาต่อภาษีรถยนต์ ในปี 2563 นั้นการที่เราจะรู้ได้ว่าจะต้องจ่ายค่าต่อภาษีรถยนต์ กี่บาท จะมีสูตรในการคำนวณภาษีรถยนต์ประจำปีแบบเข้าใจได้ง่าย ซึ่งแบ่งเกณฑ์การเสียภาษีออกเป็น 3 ประเภท
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ( ป้ายทะเบียนพื้นสีขาวอักษรสีดำ ) : รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู จะคำนวณอัตราภาษีจากความจุกระบอกสูง หรือเราเรียกว่า CC เช่น
- ตั้งแต่ 1 – 600 C.C. จะคิดอัตราภาษี C.C. ละ 0.5 บาท
- ตั้งแต่ 601 – 1,800 C.C. จะคิดอัตราภาษี C.C. ละ 1.5 บาท
- ตั้งแต่1,801 C.C. ขึ้นไป จะคิดอัตราภาษี C.C. ละ 4 บาท
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ( ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว อักษรสีเขียว ) : การคำนวณอัตราภาษีขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ เราสามารถดูน้ำหนักรถได้จากในเล่มทะเบียนรถ
- น้ำหนักรถตั้งเเต่ 501 – 750 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 450 บาท
- น้ำหนักรถตั้งเเต่ 501 – 1000 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 600 บาท
- น้ำหนักรถตั้งแต่ 1001 – 1250 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 750 บาท
- น้ำหนักรถตั้งแต่1251 – 1500 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 900 บาท
- น้ำหนักรถตั้งแต่1501 – 1750 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,050 บาท
- น้ำหนักรถตั้งแต่ 1751 – 2000 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,350 บาท
- น้ำหนักรถตั้งแต่ 2001 – 2500 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,650 บาท
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ( ป้ายทะเบียน พื้นสีขาวอักษรสีฟ้า ) : การคำนวณอัตราภาษีนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะแตกต่างกับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,600 บาท
ต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้าง
ปัจจุบันทางกรมการขนส่งทางบกได้เปิดช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ ผ่านบริการ Shop Thru for Tax ในวันเสาร์และอาทิตย์ ณ ห้างสรรพสินค้า เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชน ไม่ต้องไปแออัดกันที่กรมการขนส่งทางบกที่เดียว ซึ่งในการต่อภาษีรถยนต์ได้เปิดช่องทางในห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายสถานที่ ได้แก่ Big C , Lotus , Zeer Rangsit , Central Westgate , Central World เพียงแค่เตรียมเอกสารไปให้ครบถ้วนแล้วไปตามวันเวลาที่เปิด
ต่อภาษีรถยนต์ในห้าง
- บิ๊กซี : เปิดวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. ได้แก่ Big C ลาดพร้าว, รามอินทรา, สำโรง บางนา, รัชดาภิเษก, เพชรเกษม, บางบอน, สุขาภิบาล 3, บางใหญ่, สุวิทนวงค์, สมุทรปราการ, แจ้งวัฒนะ, บางปะกอก
- โลตัส : จำนวนกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ เปิดบริการทุกวัน 09.00-17.00 น.
- เซียร์รังสิต : เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00-16.00 น.
- เซ็นทรัลเวิลด์ : เปิดเฉพาะวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.
- เซ็นทรัลเวสเกต และ เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-16.00 น. และ วันเสาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-17.30 น.
- เซ็นทรัลศาลายา : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 11.00-18.30 น. และ วันเสาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.30 น.
- ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต : จุดบริการชั้น 3 ฝั่งเซ็นทรัล ให้บริการทุกวัน เวลา 10.30-18.30 น.
- ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค และ ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค : วันเสาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.
ต่อภาษีรถยนต์ 7 11
อีกช่องทางพิเศษสุดที่สะดวกสบายที่สุดสำหรับทุกคน ตลอดชั่วโมง 24 ชั่วโมง สำหรับการ ต่อภาษีรถยนต์ ที่ 7 – 11 กี่วันได้นั้น เพียงเตรียมเอกสารได้แก่ บัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนรถ, ชำระค่าใช้จ่าย โดยอีกประมาณ 2 สัปดาห์จะจัดส่งทางไปรษณีย์
ต่อภาษีรถยนต์ ขนส่ง
สถานที่หลักในการต่อภาษีรถยนต์ ที่ขนส่งทางบกตามสาขาใกล้บ้านท่าน หรือเข้าช่องทางเว็บไซต์ออนไลน์ www.dlt.go./th/th ต่อบริการผ่านอินเตอร์เน็ต และชำภาษีรถผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถต่อได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ต่อภาษีรถยนต์ ไปรษณีย์
ไม่ต้องเดินทางไปไกล เพียงไปที่ไปรษณีย์แถวบ้านทึ่ครอบคลุมทั่วทุก ๆ เขต ก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้แล้ว
ต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์
นอกจากการต่อภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้ว การต่อภาษียุคใหม่ที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว แต่มีข้อจำกัดอยู่บ้าง ซึ่งรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีออนไลน์ได้ต้องมีคุณสมบัติคือ
- รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล
- รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี
- รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี
- รถที่ค้างจ่ายภาษีรถยนต์ไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน
ต่อภาษีรถยนต์วันหยุดที่ไหนได้บ้าง
ในปี 2563 กรมการขนส่งได้เพิ่มวันทำการในการ ต่อภาษีรถวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เพราะในวันทำงาน จันทร์ ถึง ศุกร์ อาจจะไม่สะดวกสำหรับคนทำงานประจำ ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์วันหยุดได้ที่ห้างสรรพสินค้า Big C, Lotus, เซียร์รังสิต, เซ็นทรัลเวสเกต, เซ็นทรัลเวิลด์ และ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต.
ต่อภาษีรถล่วงหน้าได้ไหม
สำหรับใครที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า สามารถทำได้โดยทำการชำระภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์ล่วงหน้าได้ก่อนไม่เกิน 3 เดือน
ต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี
สำหรับการต่อภาษีรถยนต์ผู้ที่มีรถยนต์เกิน 7 ปี นั่นหมายถึงรถยนต์ของคุณได้มีอายุการใช้งานมานาน 7 ปีแล้ว จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์เพิ่มเติมก่อน ซึ่งกรมการขนส่งทางบกมีหน้าที่ในการรับผิดชอบการตรวจสภาพรถว่ารถยนต์ที่จะนำมาใช้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ต้องมีสภาพที่แข็งแรง มั่นคง ทั้งขนาดและลักษณะ เครื่องอุปกรณ์ของรถต้องถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกระทรวงเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ โดยเราสามารถนำรถยนต์ที่ใช้งานไปตรวจสภาพรถยนต์ได้ที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชน ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก อัตราการตรวจรถยนต์น้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท หรือ รถยนต์ที่มีนำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
ต่อภาษีรถจักรยานยนต์
กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันจำเป็นต้องมี พรบ รถจักรยานยนต์ ดังนั้นการ ต่อภาษีรถมอเตอร์ไซด์ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง แล้วต่อภาษีรถมอไซค์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างมาดูกัน
- สำเนา หรือ ทะเบียนรถจักรยานยนต์เล่มจริง
- พ.ร.บ. ฉบับจริง
- ใบตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ค่าตรวจสภาพรถ 60 บาท
- ค่าต่อภาษี 100 บาท
จะเห็นได้ว่าการต่อภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่สำคัญของเจ้าของรถทุกคนที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากแต่อย่างใด แถมสถานที่ต่อภาษีรถยนต์ก็มีมากมายทั่วประเทศ ดังนั้นแล้วเจ้าของรถยนต์ทุกคนอย่าลืมต่อภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปีกันนะ แต่หากท่านใดที่ไม่สะดวกไปต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเอง ให้เราอีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์เป็นผู้ดูแลเรื่องการต่อภาษีรถยนต์ให้กับท่านเป็นประจำทุกปีดีกว่า เรารับรองว่าท่านจะไม่มีการขาดต่อภาษีรถยนต์แต่อย่างใดอย่างแน่นอน
เพราะเรา อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ เป็นโบรกเกอร์ชั้นนำที่มีชื่อเสียงมานาน มีความมั่นคงและผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยอย่างครบวงจร มีผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยรถยนต์ทุกประเภท ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ รวมถึงมีบริการ ต่อภาษีรถยนต์ ต่อพ.ร.บ. ที่สำคัญเรามีบริการดี ๆ ให้กับท่านมากมาย เช่น ให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการรถใช้ระหว่างซ่อมฟรี ในราคาย่อมเยาที่สามารถผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน ไม่มีบัตรเครดิตก็ผ่อนได้ ฟรีค่าแท็กซี่ระหว่างซ่อม ท่านสามารถเข้าชมรายละเอียดประกันต่าง ๆ ของเราได้ที่ www.easyinsure.co.th เรายินดีต้อนรับทุกท่าน พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดให้กับทุกท่านอย่างมืออาชีพ