เป็นโรคที่เกิดจากการมีกรดยูริกสะสมในร่างกายมากเกินไป จนตกตะกอนเป็นผลึกตามบริเวณข้อต่อต่าง ๆ และมักเกิดขึ้นกับเพศชายมากกว่า เรากำลังพูดถึง โรคเก๊าท์ ว่าแต่โรคเก๊าท์คือโรคอะไร สาเหตุของการเกิดโรค และมีโอกาสรักษาหายไหม เรามาติดตามกัน
โรคเก๊าท์คือโรคอะไร
คือโรคข้ออักเสบที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีกรดยูริกสูงมากในเลือด และสะสมมาเป็นเวลานานเกือบ 10 ปีกว่าจะแสดงอาการข้ออักเสบ ปวดแดงร้อนที่ข้อ จนกระทั่งกรดยูริกตกตะกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้ากรดยูริกสะสมตามผิวหนังจะทำให้มีปุ่มนูนขึ้น แต่ถ้ากรดยูริกไปตกตะกอนที่ใดจะทำให้เกิดนิ่วในไตและเป็นโรคไตเสื่อมในที่สุด ซึ่งกรดยูริกเปรียบเสมือนของเสียในร่างกายที่เหลือจากการกำจัดเซลล์ที่หมดอายุ ที่ร่างกายแต่ละคนมีกรดยูริกประมาณร้อยละ 80 %
กรดยูริกคืออะไร : ร่างกายคนเราจะสร้างกรดยูริกขึ้นเองประมาณ 80 % และอีก 20 % เกิดจากการที่เรารับประทานอาหารที่สารพิวรีนสูงมากไป ซึ่งสารนี้พบได้ในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด อาหารทะเลบางอย่าง ซึ่งโดยปกติร่างกายสามารถขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้เอง แต่บางคนร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกได้หมด ทำให้มีกรดยูริกสะสมในร่างกายบริเวณข้อและกระดูก ผนังหลอดเลือดและไต
ปัจจัยที่กระตุ้นให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้น
- อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ผักบางชนิด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
- การใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง
- อาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์เพิ่มข้น เช่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคสะเก็ดเงิน
- อาการเจ็บป่วยที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปกติ และลดความสามารถในการกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร
เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดเป็นผลึกสะสมอยู่ในข้อ ทำให้เกิดอาการปวด อาการอักเสบ ปวดบวมอย่างรุนแรง กรดยูริกเปรียบเสมือนของเสียในร่างกายที่เหลือจากการกำจัดเซลล์ที่หมดอายุ ร่างกายแต่ละคนจะมีกรดยูริกประมาณร้อยละ 80 เกิดจากผู้ป่วยที่เป็นโรคประจำตัวอื่นอยู่ เป็นเหตุทำให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงจนเกิดอาการโรคเก๊าท์ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
อาการของโรคเก๊าท์
อาการของโรคเก๊าท์ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวมแดง ร้อนบริเวณข้อ โดยมักเริ่มจากข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ จะเป็น ๆ หาย ๆ ในระยะแรก โดยถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการอักเสบจะรุนแรงมากขึ้นทำให้ปวดนานมากขึ้น จนอาจกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
การตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์
เจาะเลือด
เพื่อดูว่าระดับกรดยูริกว่าสูงมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ระดับกรดยูริกสูงไม่ได้หมายความว่าจะเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกในข้อ
เจาะน้ำ
ทำการเจาะน้ำในข้อที่มีอาการออกมาตรวจว่ามีผลึกของกรดยูริกหรือไม่ แพทย์จะพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเจาะ หากผู้ป่วยยังมีอาการปวดมาก อาจไม่สมควรเจาะในขณะนั้น
การตรวจ dual energy CT Scan
เป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้แพทย์เห็นผลึกของกรดยูริกที่ตกตะกอนอยู่ในข้อได้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเจาะน้ำออกมาตรวจ ซึ่งการตรวจเช่นนี้เหมาะสำหรับกรณีที่ผลึกจับตัวก้อนใหญ่จนสามารถเอกซเรย์เห็นได้
การรักษาโรคเก๊าท์
การรักษาคือการลดกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลง ทำได้โดยการรับประทานยาละลายผลึกกรดยูริก แล้วให้ขับออก เพราะเมื่อกรดยูริกลดต่ำลงจะเกิดการอักเสบน้อยลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาอาการอักเสบเฉียบพลันแล้วยังป้องกันการกลับมาสะสมใหม่ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรค
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์จะพัฒนาอาการให้รุนแรงมากขึ้นหากไม่มีการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรคบ่อยมากขึ้น จนถึงการเกิดก้อนโทฟี่หรือปุ่มนูนใต้ผิวหนัง เช่นตามนิ้วมือ เท้า ข้อศอก แต่โดยมากจะไม่ก่ออาการเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่เมื่อโรคกำเริบมากขึ้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อปวดตามข้อได้
การป้องกันโรคเก๊าท์ และการดูแลตัวของผู้ป่วยโรคเก๊าท์
ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้วย อาหารและผักที่โรคเก๊าท์กินได้ คือการไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่วนจะกินอะไรได้บ้างและการดูแลตัวเองมีดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่นเนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด
- ผักที่ห้ามกิน เช่น เห็ด ชะอม ยอดตำลึง และแตงกวา จะเป็นผักที่มีพิวรีนสูง
- เน้นรับประทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
- เน้นรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวแป้ง ข้าวขาว ข้าวโพด แครกเกอร์ ก๋วยเตี๋ยว มักกะโรนี พาสต้า มันเทศ เพื่อป้องกันการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงาน
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน รักษาระดับน้ำหนักของตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ผู้ที่น้ำหนักเกินควรลดกินเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
- ดื่มน้ำให้มากเพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ ลดน้ำหวานหรืออาหารที่มีส่วนผสมของฟรุกโตส เพราะสามารถทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้นได้
- พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามนัดทุกครั้ง และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
จะเห็นได้ว่า โรคเก๊าท์ เกิดจากการที่มีกรดยูริกสะสมในร่างกายมากเกินไป เพราะมาจากการกินอาหารทะเล เครื่องในสัตว์เป็นจำนวนมาก และปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ แต่ถ้าหากใครที่เป็นโรคเก๊าท์แล้ว ก็ต้องทำการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า การรักษาต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษา ดังนั้น สิ่งที่จะมาช่วยเยียวยาให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องคือการทำประกันสุขภาพ กับทางโบรกเกอร์อย่าง อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์
เพราะการทำประกันสุขภาพจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ โดยเราสามารถเข้ารักษาตามโรงพยาบาลในเครือข่ายได้ทันที โดยไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาแต่อย่างใด และหากท่านสนใจในรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อเข้ามาที่ www.easyinsure.co.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะเรามีเจ้าหน้าที่ด้านประกันภัยสุขภาพคอยดูแลให้คำแนะนำที่ให้ความคุ้มครองสูงสุดแก่ท่านตลอดเงื่อนไขการทำประกันภัย
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ , พบแพทย์