โรคงูสวัดคือโรคอะไร
โรคงูสวัด คือโรคที่ติดเชื้อไวรัส ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส หากเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อก็จะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใส และเชื้อดังกล่าวจะหลบอยู่บริเวณปมประสาทของร่างกาย และเข้าโจมตีร่างกายอ่อนแอจนเกิดเป็นงูสวัด ถึงจะยังไม่เป็นโรคที่ถูกพูดถึงมากนักในบ้านเรา แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องเฝ้าระวังและหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้
- โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ รวมถึงผู้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
- โรคงูสวัดสามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาทัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
- โรคงูสวัด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ก่อให้เกิดอีสุกอีใส พบมากในผู้ใหญ่ และมักเกิดบริเวณผิวหนังตามร่างกาย และ มีอาการออกมาในลักษณะของผื่นหรือตุ่ม จะขึ้นบริเวณแนวบั้นเอวแนวชายโครง ใบหน้า แขน ขา โดยมีลักษณะการขึ้นที่คล้ายกัน คือ ขึ้นเพียงซีกหนึ่งซีกใดของร่างกายเท่านั้น
- โรคงูสวัด ไม่มีอันตรายร้ายแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ บางคนหลังจากแผลหายแล้วอาจมีอาการปวดตามเส้นประสาทนาน หรือ เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
โรคงูสวัดเกิดจากสาเหตุใด
โรคงูสวัดมีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ Varicella Zoster Virus เป็นเชื้อชนิดเดียวกับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่โรคงูสวัดจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนเท่านั้น โดยเมื่อเชื้อดังกล่าวอยู่ในร่างกายจนเป็นโรคอีสุกอีใส ก็จะไปหลบตามปมประสาท และกลายเป็นงูสวัดในภายหลัง ขณะที่กลุ่มเสี่ยงโรคงูสวัด จะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาด้านระบบภูมิคุ้มกัน หรือ ผู้ที่ใช้การรักษาด้วยยาบางชนิด เช่นสเตียรอยด์ ผู้ที่รักษาโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งสมองด้วยรังสีวิทยา เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่าคนปกติ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด
- เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน
- อายุมาก
- มีความเครียดทางอารมณ์
- เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ได้รับอุบัติเหตุ
อาการของโรคงูสวัด
- มีอาการปวดตามตัว ก่อนมีผื่น 2-3 วัน
- มีอาการทางผิวหนัง คันตามผิวหนัง มีผื่นแดง เริ่มเป็นตุ่มน้ำใส เรียงตัวกันเป็นกลุ่มแนวยาวตามแนวเส้นประสาทของร่างกาย กระจายตัวกันเป็นหย่อม ๆ ตาม แขน ขา รอบเอว รอบหลัง บางคนมีอาการปวดแสบปวดร้อน ปวดตามแนวเส้นประสาท เพราะช่วงนี้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้เชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนขึ้นได้อย่างง่ายดาย
- มักจะไม่มีไข้ หรือมีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั้นตัว ปวดศีรษะ
- รู้สึกเสียวที่ผิวหนัง สำหรับคนที่เป็นบริเวณใบหน้าจะมีอาการปวดศีรษะ
- เมื่อผ่านไป 1-5 วัน จะมีผื่นแดงอยู่เป็นกลุ่ม และเป็นตุ่มน้ำใส โดยจะขึ้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายตามเส้นประสาทที่เป็น ตุ่มน้ำใสจะอยู่ประมาณ 5 วัน และต่อมาผื่นจะตกสะเก็ดและหายไปใน 2-3 สัปดาห์
การวินิจฉัยโรคงูสวัด
ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการตนเองในระยะแรกเริ่มมีผื่นขึ้น โดยจะเกิดกับผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุอีใสมาแล้วเท่านั้น โดยหากมีผื่นขึ้นอย่างผิดปกติที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายร่วมกับอาการปวดแสบร้อนบริเวณผื่นที่ขึ้น อาจมีอาการคัน มีไข้ร่วม ก็สันนิษฐานได้เบื้องต้นว่าอาจเป็นโรคงูสวัด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอีกครั้ง โดยแพทย์จะทำการซักถามประวัติว่าเคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือไม่ พร้อมกับทำการตรวจดูว่ามีผื่น หรือตุ่มน้ำที่เกิดบริเวณใดของร่างกาย แพทย์อาจมีการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยนำเนื้อเยื่อหรือน้ำของเหลวในตุ่มน้ำไปตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยต่อไป
โรคงูสวัดติดต่อกันได้หรือไม่
โรคงูสวัดเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสที่มีอยู่แล้วในร่างกาย แต่สามารถส่งต่อเชื้อไวรัส VZV ไปสู่คนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใสได้ เช่นคนที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หรือยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมาก่อน โดยการติดต่อผ่านการสัมผัสผื่น แผล ที่มีตุ่มพุพองของโรค และหลังจากได้รับเชื้อมาก็จะเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสก่อน ยังไม่เกิดเป็นโรคงูสวัดทันทีหลังได้รับเชื้อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ได้แก่ ปกปิดรอยผื่น, หลีกเหลี่ยงการสัมผัสหรือเกาผื่น และ หมั่นล้างมือบ่อย ๆ
วิธีการรักษาโรคงูสวัด
แพทย์จะรักษาตามอาการและใช้ยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลาม หรือเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ที่มีอาการปวด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวด ยากลุ่มลดอาการอักเสบ และยาทาบางชนิดที่ช่วยลดอาการผื่นคันร่วม กรณีที่พบว่าแผลหายแล้วแต่ยังคงมีอาการปวดอยู่ จะต้องทำการรักษาอาการปวดของปมประสาท โดยแพทย์เกี่ยวกับระบบประสาทเท่านั้น
ผู้ป่วยที่มีอาการโรคงูสวัดขึ้นตา ควรรักษากับจักษุแพทย์โดยตรง แพทย์จะใช้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานและ หยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา การรักษาโรคงูสวัด อาจมีระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง พร้อมรับประทานยาและใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากทำได้จะทำให้อาการโรคงูสวัดเป็นปกติอย่างแน่นอน
การรักษาโรคงูสวัดด้วยตนเอง
ในการรักษาโรคงูสวัดด้วยตนเอง ให้อาบน้ำเย็นร่วมกับใช้ครีมอาบน้ำที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ต หรือ ทาโลชั่นคาลาไมน์ หรือใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ ประคบเย็นที่ตุ่มน้ำงูสวัด ทั้งหมดจะช่วยลดอาการคันและอาการปวดได้ และยังมียาแผนปัจจุบันที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาเช่น
- ครีมที่มีส่วนผสมของสารแคปไซซิน Capsaicin หรือ เมนทอล Menthol
- ยากลุ่ม Antihistamine ยาแก้แพ้ เช่น ไดเฟนไฮตรามีน Diphenhydramine, คลอเฟนนิรามีน Chlorpheniramine
- ครีมไฮโดรคอร์ติโซน Hydrocortisone cream
- ยากลุ่ม NSAIDs ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ เช่น ยาแอสไพริน Aspirin หรือ ยาไอบูโพรเฟน Ibuprofen, ยานาพร็อกเซน Naproxen
การป้องกันโรคงูสวัด
คือการดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ แต่ก็ไม่ได้มีข้อห้ามรับประทานอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ พักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากพบว่าตนเองมีอาการอีสุกอีใส ควรอยู่ให้ห่างเพื่อป้องกันการติดเชื้อให้มากที่สุด ถือเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายจนไปกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคงูสวัด รวมถึงการป้องกันโดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตั้งแต่ก่อนเป็น
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่น และตุ่มโรคของผู้ป่วยงูสวัด
- ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
วิธีป้องกันตัวเองเมื่อเป็นโรคงูสวัด
- ใช้น้ำเกลือประคบแผลนานครั้งละประมาณ 10 นาที โดยประคบวันละ 3-4 ครั้ง
- หากเกิดอาการคัน ให้ทายาคาลามายด์เพื่อบรรเทาอาการ แต่หากคันมากอาจรับจะต้องทานยาแก้คันร่วมด้วย
- ไม่ควรใช้ยาพ่นหรือใช้ยาสมุนไพรทาลงไปบนจุดที่มีแผลโดยตรง เพราะอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนส่งผลให้แผลหายช้า
- หากผู้ป่วยมีอาการปากเปื่อยลิ้นเปื่อย แนะนำให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือจะช่วยให้อาการดีขึ้น
- ควรอาบน้ำด้วยการฟอกสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียแบบซ้ำซ้อน และเลือกใส่เสื้อผ้าแบบหลวม ๆ
- ไม่ควรแกะหรือเกาแผล บริเวณที่เป็นงูสวัดอย่างเด็ดขาด
แม้ว่าโรคงูสวัดอาจจะดูไม่ร้ายแรงเท่าใดนัก แต่ต้องยอมรับว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดไม่น้อยเลยที่เสียชีวิต เนื่องจากไม่เข้ารักการรักษาอย่างถูกต้อง จนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือลุกลามจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นผู้ป่วยโรคงูสวัดจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาจะสูงก็ตาม
สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษา โรคงูสวัด แต่ติดเรื่องงบประมาณมีไม่เพียงพอ การทำประกันสุขภาพคือตัวช่วยที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะการทำประกันสุขภาพจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ด้วย และหากท่านใดสนใจทำประกันสุขภาพ สามารถติดต่อ อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ ที่เป็นโบรกเกอร์ชั้นนำในเรื่องของการทำประกันสุขภาพ มีเจ้าหน้าที่บริการที่เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำด้านการทำประกันสุขภาพ เพื่อให้ท่านได้รับความคุ้มครองสูงสุด และหากท่านใดสนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดได้ที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : www.saintlouis.or.th , www.bangkokhospital.com, www.honestdocs.co.th