โรคเริม

โรคเริม คือโรคผิวหนังที่รักษาได้ เกิดจากสาเหตุใด และมีอาการอะไรบ้าง

โรคเริมภาษาอังกฤษ ( Herpes ) เชื่อหรือไม่ครับว่าในช่วงหนึ่งของคนเราร้อยละ 80 อาจเคยได้รับเชื้อไวรัสเริม แต่ไม่ค่อยแสดงอาการโรคให้เห็น ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นโรคเริมสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โรคเริม เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่ถึงแม้จะติดต่อกันได้ไม่ง่ายนัก แต่ก็สามารถติดต่อกันได้จึงต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างดี สามารถรักษาให้หายได้โดยการรักษาโรคเริมจะรักษาผ่านการรับประทานยาต้านเชื้อไวรัส ยาแก้ปวด ต่าง ๆ และดูแลและป้องกันตัวเองอย่างเหมาะสม

โรคเริม
โรคเริมที่ปาก , ในปาก

โรคเริมคืออะไร

โรคเริมเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes Simplex หรือ HSV ซึ่งมีอยู่ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Herpes Simplex Virus ชนิดที่ 1 (HSV-1) , Herpes Simplex Virus ชนิดที่ 2 (HSV-2) โดยโรคเริมทั้ง 2 สายพันธุ์สามารถเกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย ไม่จำกัดว่าสายพันธ์ใดจะต้องขึ้นที่ปากหรือที่อวัยวะเพศเท่านั้น รวมถึงหากเป็นผู้ที่มีเชื่อเริมสายพันธุ์ใดที่ปาก แล้วมีเพศสัมพันธ์ทางปากกับคู่นอน หรือคู่นอนมีเชื้อเริมสายพันธ์ใดที่อวัยวะเพศ ก็สามารถส่งต่อเชื้อให้กันและกันได้ทั้งสองสายพันธ์

โรคเริมเกิดจากอะไร

สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม หรือ เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ Herpes Simplex Virus – HSV เป็นไวรัสต่างกับโรคงูสวัดและโรคอีสุกอีใส โดยเชื้อไวรัสเริมจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ ไวรัสเริมชนิดที่ 1 หรือ เรียกว่า เอชเอสวี-1 Herpes simplex virus 1 หรือ HSV-1 และไวรัสเริมชนิดที่ 2 หรือ เอชเอสวี-2 Herpes simplex virus 1 หรือ HSV-2 โดยเริมทั้ง 2 ชนิดสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งบริเวณผิวหนังทั่วไป ช่องปาก อวัยวะเพศ และเยื่อเมือกต่าง ๆ ซึ่งเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 มักจะทำให้เกิดอาการกำเริบที่ปากมากกว่าที่อวัยวะเพศ ส่วนเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 มักจะเกิดอาการกำเริบที่อวัยวะเพศมากกว่าที่ปาก

การติดต่อของโรคเริม

มักจะติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรค ผ่านทางรอยถลอกของผิวหนังหรือทางเยื่อเมือก เช่น เยื่อบุตา ช่องปาก องคชาติ ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก  จากน้ำลายหรือสิ่งคัดหลั่ง รวมถึงจากการใช้ของร่วมกัน ดังนั้นผู้ที่คลุกคลีอยู่ใกล้ชิดกัน เช่นสามีภรรยา สมาชิกในครอบครัว เด็ก ๆ ในโรงเรียน จะมีโอกาสติดเชื้อเริมได้ง่าย

ระยะฟักตัวของโรคเริม

ในการติดเชื้อครั้งแรกจนกระทั่งมีการแสดงอาการจะใช้เวลา 2-20 วัน  เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายอยู่ในชั้นของผิวหนัง เชื้อเริมจะแบ่งตัวทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวมเป็นตุ่มน้ำและการอักเสบ และเชื้อเริมจะเข้าไปหลบซ่อนที่ปมประสาทในบริเวณใต้ผิวหนังและแฝงตัวอยู่อย่างสงบโดยไม่มีการแบ่งตัว  เมื่อมีปัจจัยมากระตุ้น เช่น เป็นไข้ ถูกแดดจัด ร่างกายอิดโรย มีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การทำฟัน ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ เป็นต้น เชื้อเริมที่แฝงตัวอยู่จะเกิดการแบ่งตัวเจริญเติบโตเกิดการปลุกฤทธิ์คืน ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ

การเกิดซ้ำของโรคเริม

โรคเริมสามารถเป็นซ้ำได้บ่อย แต่จะค่อย ๆ ลดไปเมื่ออายุสูงขึ้น โดยเริมที่ริมฝีปากจะมีอัตราการเกิดเป็นซ้ำประมาณ 20-40%  ส่วนเริมที่อวัยวะเพศจะมีอัตราการเกิดเป็นซ้ำประมาณ 80% แต่จะหายเร็วกว่าการเกิดครั้งแรกและมักไม่มีอาการใด ๆ ร่วม

ปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นทำให้เป็นโรคเริมซ้ำ

  • รอยถลอกขีดข่วน
  • แสงแดดที่มาก
  • ความเครียด
  • การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์
  • การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท

อาการของโรคเริมเป็นอย่างไร

อาการโรคเริมที่เป็นแรก ๆ จะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-7 วันหลังได้รับเชื้อ ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยมักไม่มีอาการ หรือถ้ามีอาการจะรุนแรงและพบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำแตกเป็นแผลตื้น ๆ อาการมักจะเจ็บ ปวดแสบร้อน แผลจะค่อย ๆ แห้งตกสะเก็ดและหายในระยะเวลา 2-6 สัปดาห์ ทั้งนี้อาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือต่อมน้ำเหลืองโตร่วม โรคเริมสามารถเป็นซ้ำได้ ตุ่มน้ำจะมีขนาดเล็กกว่า และจำนวนตุ่มน้ำน้อยกว่าการเป็นครั้งแรก อาการจะมีการคันแสบร้อนบริเวณที่จะเป็น และจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำเกิดขึ้นตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม

โรคเริมที่ผิวหนัง

ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อซ้ำ มีอาการปวดแสบร้อนหรือปวดเสียวนำมา มีตุ่มน้ำใสขนาดประมาณ 2-3 มิลิเมตร โดยรอบจะมีผื่นแดง ต่อมาตุ่มน้ำในจะกลายเป็นสีเหลืองขุ่นแล้วแตกกลายเป็นสะเก็ด แต่จะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ ด้วยลักษณะของตุ่มน้ำใสที่อยู่กันเป็นกลุ่มแบบนี้ ชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่า ขยุ้มตีนหมา ตำแหน่งที่พบบ่อย คือริมฝีปาก แก้ม จมูก ตา หู ก้น ซึ่งผื่นมักจะขึ้นที่ตำแหน่งที่เคยขึ้นอยู่เดิมหรือบริเวณใกล้เคียง

โรคเริมที่ปาก

โรคเริมในปาก มักจะมีอาการที่พบได้บ่อยสุดของการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-3 วัน หรือ อาจนานถึง 20 วัน

โรคเริมที่อวัยวะเพศ

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการเป็นแผลที่อวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเริม

อาการส่วนใหญ่หายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ และอาจกำเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีเพียงส่วนน้อยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น

  • ตุ่มหรือแผลกลายเป็นหนองพุพองจากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย
  • หากเริมขึ้นตาอาจทำให้กระจกตาอักเสบ
  • ในเด็กที่เป็นเริมในช่องปากอาจมีภาวะขาดน้ำ
  • ผู้หญิงที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
  • เชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 อาจเข้าไปที่ประสาทใบหน้า ทำให้เส้นประสาทอักเสบกลายเป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกหรืออัมพาตเบลล์ได้

การวินิจฉัยโรคเริม

แพทย์จะวินิจฉัยโรคเริมได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากลักษณะตุ่มน้ำ บางรายอาการไม่ชัดเจน แพทย์อาจตรวจหาเชื้อด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การขูดแผลนำเนื้อเยื่อไปย้อมสี การตรวจหาสารก่อภูมิต้านทาน หรือดีเอ็นเอของเชื้อเริมจากแผลหรือสิ่งคัดหลั่ง มักจะตรวจพบตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มิลลิเมตร หลายตุ่มอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนหรืออาจพบตุ่มตกสะเก็ดหรือแผลเล็ก ๆ คล้ายรอยถลอกในบริเวณผิวหนังส่วนของริมฝีปาก อวัยวะเพศ และอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง ผู้ป่วยบางรายอาจตรวจพบแผลพร้อมกันหลายแห่งในช่องปาก

การรักษาโรคเริม

โรคเริมส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษามักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะเริมที่กลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งจะมีอาการน้อยกว่า การรักษาโรคเริมโดยหลักคือ การรับยาต้านไวรัส ยาแก้ปวด เพราะโรคนี้ไม่มีการรักษาให้หายขาด เนื่องจากเชื้อจะอยู่ในร่างกายของคนเราไปตลอดชีวิต

ยาต้านไวรัสที่ช่วยรักษาโรคเริม

จะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส Herpes มีทั้งแบบรับประทานและครีมทาที่ผิวหนัง ยาที่นิยมใช้ได้แก่

  1. Zovirax (acyclovir)
  2. Famvir (famciclovir)
  3. Valtrex (valacyclovir)
  4. Abreva (docosanol)

ยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาโรคเริม

จะช่วยบรรเทาในส่วนของอาการปวดจากโรคเริม แต่ไม่ช่วยรักษาการติดเชื้อไวรัส โดยรูปแบบ รับประทานได้แก่

  1. Aspirin
  2. Tylenol (acetaminophen)
  3. Advil หรือ Motrin (ibuprofen)

ยาในรูปแบบเจลแก้ปวดโรคเริม

หรือ ขี้ผึ้งที่สามารถใช้ทาลงบนเริมเพื่อลดอาการปวดได้ ได้แก่

  1. Benzocaine
  2.  Idocaine
  3. Dibucaine
  4. Benzoyl Alcohol

การป้องกันการแพร่เชื้อของโรคเริม

เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดแผล และอาจเป็นที่รังเกียจเกี่ยวกับรูปลักษณ์ เราสามารถป้องกันตนเองจากโรคเริมได้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  2. การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  3. การใช้ยาต้านไวรัส ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้บ้าง
  4. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคซ้ำ
  5. งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายสนิท

การดูแลป้องกันตนเองเมื่อเกิดโรคเริม

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เริมเกิดเป็นซ้ำ เช่นอารมณ์เครียด หรือความวิตกกังวล ร่างกายอิดโรยทรุดโทรม ภูมิคุ้มกันต่ำ
  2. ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ วันละ 8 แก้ว
  3. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน คือการรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศในระหว่างที่มีผื่น หรือ ตุ่มใส
  4. การรับประทานยาต้านไวรัสเร็วภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการนำ จะช่วยลดระยะเวลาการเกิดโรมเริมได้
  5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น เช่น การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
  6. ทำความสะอาดผื่นด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ
  7. ใช้น้ำเกลือกลั้วปากถ้ามีแผลในปาก

ถึงแม้โรคเริมจะไม่ได้มีอาการรุนแรง และสามารถหายได้เองก็ตาม แต่เมื่อเป็นแล้วควรได้รับการรักษาด้วยการให้แพทย์ทำการรักษาจึงจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยและเป็นการรักษาได้ดีที่สุด ซึ่งการรักษาถึงแม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษา สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีงบประมารเพียงพอในการดูแลรักษาตนเองหรือคนในครอบครัว สิ่งที่จะมาช่วยในการดูแลค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ดีคือการทำประกันสุขภาพ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง

และเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะกระตุ้นทำให้เป็น โรคเริม ซ้ำอีกครั้ง การทำประกันสุขภาพกับทางอี่ซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ประกันภัย ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในเรื่องของการทำประกันภัยอย่างมืออาชีพ มีเจ้าหน้าที่บริการให้คำแนะนำในเงื่อนไขที่ให้คุ้มครองมากที่สุดแก่ลูกค้า ในราคาที่ไม่แพงแต่ได้รับความคุ้มครองสูงสุด และหากท่านใดสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : โรงพยาบาลรามามหิดล  , โรงพยาบาบเปาโล , สยามเฮลล์

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *