โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย โรคร้ายที่สามารถรักษาและป้องกันได้

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว คืออะไร

ก่อนไปรู้จัก โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เรามาทำความรู้จักกับเม็ดเลือดขาวกันก่อน เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่สำคัญคือ มีปฏิกิริยาต่ออันตรายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการป้องกันการรุกรานจากสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ป้องกันโดย Phagocytosis การสร้างภูมิคุ้มกัน Antibody และการไม่รับสิ่งแปลกปลอม Rejection of foreign tissue. เม็ดเลือดขาวยังช่วยสร้างความต้านทานให้กับร่างกายของเราได้อีก ส่วนโรคมะเร็งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย เพราะอวัยวะของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์มากมายรวมกัน แต่การเจริญเติบโตของมะเร็งจะเป็นแบบเซลล์ที่ผิดปกติ คือเจริญเติบโตที่เร็วเกินไปจนกลายเป็นก้อนเนื้อและสามารถเกิดขึ้นในเม็ดเลือดที่อยู่ในร่างกายของเราได้อีก หรือที่เราได้ยินกันในเรื่องของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากอะไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย ( Leukemia ) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก ที่เกิดจากมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเติบโตมากผิดปกติ การแบ่งตัวอย่างไม่หยุดของเซลล์เหล่านี้ ได้ไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่นของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ และเกล็ดเลือดลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง มีเลือดออกผิดปกติ มีจ้ำเลือดตามร่างกาย และเซลล์มะเร็งยังสามารถไปสะสมตามอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้ามโต เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอของเซลล์เลือด ส่งผลให้เซลล์ดังกล่าวเติบโตผิดปกติและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติน้อยลงและสูญเสียการทำงานของระบบเลือด

  • เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม
  • มีบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดอย่างโรคไมอีโลดิสพลาสติกซินโดรม หรือ โรคเอ็มดีเอส ส่งผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดในไขกระดูก
  • มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างหนัก
  • การเผชิญรังสีบางชนิดในปริมาณมาก

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางประการอาจเพิ่มความเสี่ยงได้ดังนี้

  • เกิดจากการรับเคมีบำบัด ที่เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่น เพราะยาบางกลุ่มอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
  • การได้รับรังสีขนาดสูง คือรังสีนิวเคลียร์
  • การสัมผัสกับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีพวกเบนซีน และยาฆ่าแมลง
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม
  • ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม
  • อายุที่มากขึ้น 60 ปีขึ้นไปมีโอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวสูง

ชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถแบ่งออกได้ตามระยะการเกิดโรคและแบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง

แบ่งตามระยะเวลาที่เกิด

  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน Acute Leukemia คือ เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว โดยอาการจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง Chronic Leukemia คือ ความผิดปกติจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ  เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกผลิตออกมามากไป ทำให้ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เลยเป็นปี แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด

แบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง

  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลจีนัส Myelogenous Leukemia –  CML : เกิดจากเซลล์ในสาย Myeloid เติบโตผิดปกติ
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโพซิติก Acute Lymphocytic Leukemia – ALL : เกิดจากเซลล์ในสาย lymphoid การแบ่งชนิดของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษา เพราะมะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีการดำเนินโรคที่แตกต่างกัน

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้น ซักประวัติทางการแพทย์ ตรวจร่างกาย ตรวจดูการบวมโตของต่อมน้ำเหลือง ม้าม ตับ ตรวจภาวะผิวซีดด้วยการตรวจผิวหนังและดวงตา เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ และอาจตรวจเพิ่มเติมดังนี้

  1. การตรวจเลือด : เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปตรวจระดับเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือดที่ผิดปกติหรือไม่
  2. การตรวจภาพถ่ายรังสี : ทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูง เพื่อดูความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะภายในที่ได้รับผลกระทบจาก โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  3. การตรวจไขกระดูก : แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่และเก็บตัวอย่างไขกระดูกบริเวณสะโพก นำตัวอย่างไขกระดูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  4. เก็บตัวอย่างน้ำไขสันหลัง : หรือการเจาะ อาจทำให้พบเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่แพร่เข้าไปในเยื่อหุ้มหรือพื้นที่รอบ ๆ สมองและไขสันหลัง
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอาการอย่างไร

เซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการดังนี้

  • เกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะเลือดออกง่าย หรืออาจพบจุดเลือดออกจ้ำเลือดตามตัวได้
  • เม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการภาวะโลหิตจางได้
  • เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
  • อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลำพบก้อนตามตัวหรือปวดกระดูกได้
  • มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลดลง ปวดหรือมีอาการกดเจ็บบริเวณกระดูก
  • ตับหรือม้ามโต

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ก่อนการรักษาแพทย์จะประเมินชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว อายุ สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ก่อนแนะนำวิธีการรักษาทีเหมาะสม ได้แก่

1.เคมีบำบัด Chemotherapy

เป็นการรักษาทางหลักสำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน โดยตัวยาจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งเพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่ เคมีบำบัดมีทั้งชนิดกิน และฉีดเข้าหลอดเลือดดำและฉีดเข้าไขสันหลัง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันต้องใช้เคมีบำบัดร่วมหลายชนิด เพราะเคมีบำบัดมีผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่น ๆของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร เซลล์ในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปาก โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ หรือ เกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้น ในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องได้เลือด เกล็ดเลือด รวมถึงยารักษาตามอาการ เพื่อลดผลข้างเคียง เช่น ยาแก้อาเจียน ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เป็นต้น

2.การรักษาแบบปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด Stem cell transplantation

แพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือด หรือไขกระดูกในตัวผู้ป่วย ญาติพี่น้อง ที่เข้ากันได้มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รับการรักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบ

3.การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง Targeted Therapy

เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนโคเนส Tyrosine Kinase Inhibitor ที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์

4.การดูแลรักษาตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

  • ดูแลสุขอนามัยและความสะอาด โดยเฉพาะในช่องปากและฟัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปรุงสุกด้วยความร้อน ล้างผักให้สะอาด
  • ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ควรอยู่ในที่แออัด หรือ การระบายอากาศไม่ดี เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ

การป้องกันโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ถึงแม้จะยังไม่มีแนวทางการป้องกันที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เพราะยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด ทั้งปัจจัยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนี้ได้

และแนวทางการป้องกัน โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ปลอดภัยนอกจากจะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงแล้ว การทำประกันสุขภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างต่อเนื่อง เพราะการทำประกันสุขภาพจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสรักษาโรคหายขาดได้ การทำประกันสุขภาพกับทางอีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ ที่เป็นโบรกเกอร์ชั้นนำในการทำประกันภัย โดยเฉพาะการทำประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองที่หลากหลายให้ท่านได้เลือกทำ และหากท่านยังมีข้อสงสัยในการทำประกันเรามีเจ้าหน้าที่ประกันภัยมืออาชีพคอยดูแลและให้คำแนะนำกับท่านเสมอ หรือสามารถเข้าไปดูในรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.easyinsure.co.th  ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์โรงพยาบาลกรุงเทพ , พบแพทย์

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *