โรคมะเร็งรังไข่ คืออะไร
รังไข่ ( Ovary ) คืออวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานทั้งสองข้างของมดลูก โดยทำหน้าที่ผลิตไข่ สำหรับใช้ในการสืบพันธุ์ไข่ที่ถูกผลิตมา เดินทางจากรังไข่ผ่านท่อนำไข่ไปที่มดลูก เพื่อเกิดการปฏิสนธิและเติบโตเป็นตัวอ่อน โรคมะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งพบได้ในผู้หญิงหลายช่วงวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40-60 ปี โรคนี้เกิดจากการที่มีเซลล์มะเร็งเติบโตในรังไข่ เป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง
โรคมะเร็งรังไข่เกิดจากอะไร
โรคมะเร็งรังไข่ เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ Ovary หรือท่อนำไข่ Fallopian Tube ซึ่งทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้นจนในที่สุดมีการแพร่กระจายไปตามเยื่อบุช่องท้องหรือเข้าสู่กระแสเลือด หรือเข้าสู่ทางเดินน้ำเหลือง จนปรากฏไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อุ้งเชิงกราน ปอด ตับ โดยเราเรียกมะเร็งรังไข่ระยะนี้ว่าระยะแพร่กระจาย Metastasis
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงจะเพิ่มโอกาสในการเป็น โรคมะเร็งรังไข่ แต่ก็มีบ้างที่ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่โดยไม่ทราบสาเหตุ
- อายุที่เพิ่มสูงขึ้น อายุที่มากกว่า 50 ปี
- สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง
- มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้
- มีประวัติเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ หรือ ช็อกโกแลตซิสต
- เคยรับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานาน
โรคมะเร็งรังไข่มีกี่ระยะ
- ระยะที่ 1 : เป็นระยะแรกที่พบเซลล์มะเร็งรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือ 2 ข้าง
- ระยะที 2 : เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือ 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ รังไข่แต่อยู่ภายในเยื่อบุอุ้งเชิงกราน
- ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือ 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเยื่อบุช่องท้องด้านบนหรือต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้เคียง
- ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ปอด ตับ เป็นต้น
อาการเบื้องต้นโรคมะเร็งรังไข่
โรคมะเร็งรังไข่ระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการ แต่หากมีอาการเบื้องต้นดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป โดยอาการทั้งหลายเหล่านี้ อาจจะเป็นอาการของ โรคมะเร็งรังไข่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุของอาการต่อไป
- มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- คลื่นไส้อาเจียน
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักขึ้น หรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปัสสาวะบ่อย
- รู้สึกเหนื่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ
- ปวดท้อง หรือปวดในอุ้งเชิงกราน
- รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง
- รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังรับประทานอาหาร
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่เบื้องต้น
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ในเบื้องต้นสามารถทำได้โดย
- ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด เพื่อดูขนาดและลักษณะของรังไข่โดยรวมทั้งปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่
- ใส่ใจสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
- ตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสาร CA125 ที่สร้างจากมะเร็งรังไข่
- ตรวจภายในประจำปี
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรไปพบแพทย์เพื่อดำเนินการค้นหา โรคมะเร็งรังไข่ ตั้งแต่เริ่มแรก แพทย์และทีมผู้ดูแลสุขภาพจะเป็นผู้แนะนำถึงการตรวจ เวลาที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยต่อไป
การตรวจร่างกายภายใน และประวัติครอบครัว
ประวัติทางพันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งรังไข่ หรือเต้านมให้ตรวจพันธุ์กรรมเพิ่มเติม เพื่อหารอยโรคก้อนมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก ๆ มักจะคลำพบก้อนในท้องและบริเวณท้องน้อย ส่วนใหญ่ในวัยสตรีที่หมดประจำเดือน มักจะเป็นมะเร็งรังไข่ เพราะเมื่อประจำเดือนหมด รังไข่จะฝ่อและมีขนาดเล็กลง
การตรวจเลือด
เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและติดตามการรักษา เพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งคือ สาร CA125 ซึ่งอาจจะสูงขึ้นในมะเร็งรังไข่บางชนิด เพราะค่านี้อาจปกติในมะเร็งรังไข่บางชนิด และอาจจะสูงขึ้นได้ในบางภาวะ เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ การอักเสบในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุมดลูเจริญผิดที่เนื้องอกของมดลูก ตั้งครรภ์และการมีประจำเดือน
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
Ultrasound คลื่นเสียงความถี่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ในระยะแรก ใช้ตรวจหาลักษณะและตำแหน่งของตัวก้อน หรือมีน้ำในช่องท้อง ในบางรายที่มีน้ำหนักมาก การตรวจร่างกายตามปกติอาจจะเป็นไปได้ยากและผลการตรวจวินิจฉัยอาจจะไม่ชัดเจน ดังนั้นควรตรวจร่วมกับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงควบคู่ไปด้วย
การตรวจด้วยรังสีวินิจฉัย
เช่น เอกซเรย์ปอด CT หรือ MRI มีความละเอียดสูง สามารถเห็นภาพลักษณะ ขนาดและจำนวนก้อนในท้อง สามารถตรวจต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้องได้ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและการดูแพร่กระจายของโรคเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
การตรวจชิ้นเนื้อ
เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา Biopsy มะเร็งรังไข่ชนิด LMP จะขึ้นอยู่กับพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ การแพร่กระจายของโรค อายุของผู้ป่วย ระยะของโรคขณะผ่าตัดและความต้องการมีบุตรในอนาคต
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งรังไข่
การรักษาโรคมะเร็งรังไข่อยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงชนิดของมะเร็งรังไข่ ที่อยู่ ความรุนแรงของโรค ตำแหน่ง และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยด้วย เพื่อการรักษาให้หายขาดสำหรับผู้ป่วยในระยะแรก ๆ ส่วนใหญ่ใช้การรักษาโดยการผสมผสานกับของการผ่าตัดและให้ยาเคมีบำบัด
1. การผ่าตัด Surgery
การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งรังไข่ สมควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางมะเร็งนรีเวช จุดหมายหลักของการผ่าตัดคือ เอาก้อนมะเร็งออกจากตัวผู้ป่วยให้มากที่สุด ลักษณะการผ่าตัดขึ้นอยู่กับขนาดของตัวก้อน ตำแหน่ง และบริเวณเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไป แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็งเนื้อเยื่อรอบ ๆ ออก โดยการนำรังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่ มดลูก รวมถึงบริเวณปากมดลูกอาจผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง และเยื่อบุช่องท้องออกด้วย
2. การให้ยาเคมีบำบัด Chemotherapy
ยาเคมีบำบัดเป็นการใช้ยาเพื่อทำลายหรือยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วทั้งร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเซลล์มะเร็ง เซลล์ปกติของร่างกาย เช่น ผม เล็บ เม็ดเลือด เป็นต้น ผลข้างเคียงทั่วไปของยาเคมีบำบัด เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง เหนื่อยล้า โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น
3. การให้ยารักษาแบบมุ่งเป้า Targeted Therapy
โดยการใช้ยาหรือสารอื่น ๆ ที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งและก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ยากลุ่ม Anti-angiogenesis ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง และลดการสร้างน้ำในช่องท้อง อยู่ในรูปแบบของยาฉีดยากลุ่ม PARP Inhibitor ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการซ่อมแซมรหัสพันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง ซึ่งอยู่ในรูปแบบของยารับประทาน
4. การรักษาด้วยฮอร์โมน Hormone Therapy
เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งอาจมีผลในการช่วยชะลอหรือยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งรังไข่ได้แต่อาจใช้ในการรักษาแบบประคับประคอง
การป้องกันโรคมะเร็งรังไข่
ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางในการป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ โดยส่วนใหญ่จะเจอช่วงอายุ 40 – 60 ปี ซึ่งมักจะตรวจไม่พบโรคในช่วงระยะแรก แต่จะไปพบในระยะสุดท้าย ก้อนเนื้อโตหมดแล้ว ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ หมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมถึงพยายามกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ เช่นผักผลไม้ อาหารที่มีกากใย กินให้ครบ 5 หมู่ และตรวจสุขภาพและตรวจภายใน หรือทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจเช็กว่ามีก้อนในช่องท้องหรือไม่ เป็นการป้องกันปัญหาที่จะตามมาภายหลังได้ดีที่สุดเริ่มจากการกิน
สิ่งที่ป้องกันที่ดีที่สุดในการดูแลไม่ให้ป่วย โรคมะเร็งรังไข่ ที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คุ้มค่าที่สุดคือ การทำประกันสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองในการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างคุ้มค่า เพราะการทำประกันสุขภาพจะช่วยสำรองเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาให้ก่อนตามเงื่อนไขการทำประกันสุขภาพที่ได้ทำไว้ ยิ่งได้ทำประกันสุขภาพกับทางอีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ที่เป็นบริษัทด้านประกันภัยชั้นนำที่มีผลิตภัณฑ์และบริการให้เลือกมากมาย มีเจ้าหน้าที่ด้านการขายและบริการให้คำแนะนำด้านการทำประกันสุขภาพอย่างมืออาชีพ ที่พร้อมจะคัดสรรเงื่อนไขที่ให้ความคุ้มครองสูงสุดแก่ท่าน และหากท่านสนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดก่อนได้ที่ www.easyinsure.co.th ได้ตลอด24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.bangkokhospital.com , www.si.mahidol.ac.th , www.bumrungrad.com , www.podpad.com