โรคมะเร็งสมอง

โรคมะเร็งสมอง คือเนื้อร้ายที่ทำลายการทำงานของร่างกาย พร้อมการรักษาที่ถูกต้อง

ก่อนจะไปศึกษา โรคมะเร็งสมอง อยากให้มาทำความรู้จักกับสมองของเรากันก่อน สมอง คืออวัยวะที่สำคัญที่ถูกปกป้องไว้ด้วยกระดูกที่หนา หรือที่เรียกว่ากะโหลกศีรษะ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายได้โดยง่าย ทำหน้าที่ คิด อ่าน เขียน คำนวณ และควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด รวมถึงพฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต สมดุลของเหลวในร่างกาย อุณหภูมิ และยังเกี่ยวข้องกับการรู้ อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว เป็นต้น

โรคมะเร็งสมอง

โรคมะเร็งสมอง คืออะไร

คือโรคที่เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายบริเวณสมอง และ มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเกิดขึ้นเองที่เนื้อเยื่อสมอง หรือจากการลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะอื่น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงทีอาจทำให้เกิด โรคมะเร็งสมอง เช่น การสัมผัสสารเคมี การสูบบุหรี่ ประวัติการเกิดโรคมะเร็งของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งส่งผลต่อร่างกายการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ปวดศีรษะ เป็นลม คลื่นไส้อาเจียน ความคิด สติปัญญา การมองเห็น การพูด เป็นต้น

 

สาเหตุของโรคมะเร็งสมองเกิดจากอะไร

โรคมะเร็งสมอง เป็นเนื้องอกที่อันตราย มีการเจริญเติบโตของเซลล์ในลักษณะที่ผิดปกติ หรือที่เราเรียกว่าเซลล์มะเร็ง โดยจะอาศัยเลือดและสารอาหารจากร่างกายไปหล่อเลี้ยง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ที่บริเวณสมอง หรือ เกิดจากมะเร็งที่ลุกลามหรือกระจายจากอวัยวะอื่น เช่น ปอด ไต ลำไส้ใหญ่ ผิวหนัง เต้านม

เนื้องอกที่มีเซลล์มะเร็งจะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สามารถแพร่กระจายทำลายเนื้อเยื่อดีในบริเวณรอบข้างได้และมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกถึงแม้เคยผ่านการผ่าตัดมาแล้วในปัจจุบัน ยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่าโรคมะเร็งสมองเกิดจากสาเหตุใด มีเพียงปัจจัยต่าง ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งสมอง ได้แก่

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • คนในครอบมีประวัติการเป็น โรคมะเร็งสมอง
  • พฤติกรรมการสูบบุหรี่มานาน
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อไวรัสเอชไอวี
  • การสัมผัสสารกัมมันตภาพรังสี สารเคมี รวมถึงยากำจัดศัตรูพืช
  • การทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น พลาสติก ตะกั่ว ยาง น้ำมัน
  • เป็นโรคมะเร็งส่วนอื่นของร่างกายที่สามารถแพร่กระจายมายังสมองได้ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

 

โรคมะเร็งสมองมีอาการอย่างไร

อาการขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งที่พบของเนื้องอก โดยอาการที่พบมีสาเหตุหรือเป็นผลข้างเคียงมาจากความผิดปกติอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งสมองก็ได้ หากเป็นเพียงอาการเบื้องต้นหรืออาการที่ไม่รุนแรง สามารถไปพบแพทย์ได้หากมีข้อสงสัยหรือเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ มีอาการรุนแรงในตอนเช้า
  • เป็นลมหมดสติ
  • ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ชัก
  • อ่อนแรง และชาบริเวณแขนและขา
  • มีปัญหาการทรงตัว เดินลำบาก
  • มีปัญหาทางความคิด สติปัญญา อารมณ์ หรือสูญเสียความจำ
  • มีปัญหาในการพูด การมองเห็น
  • มีปัญหาบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

หากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

  • อาเจียนบ่อยและไม่สามารถอธิบายของสาเหตุของการอาเจียนได้
  • มองเห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด
  • ปวดศีรษะอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • ง่วงซึม หรือง่วงนอนอย่างผิดปกติ

 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งสมอง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งสมองสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายด้วย โดยแพทย์จะมีแนวทางการวินิจฉัยคือ

  1. การตรวจร่างกายทางระบบประสาท Neurological Examination เพื่อหาผลกระทบของเนื้อร้ายที่มีต่อสมอง
  2. การเจาะน้ำไขสันหลัง Lumbar Puncture โดยเก็บตัวอย่างของเหลวบริเวณรอบ ๆ สมองและไขสันหลังเพื่อตรวจเซลล์มะเร็ง
  3. การตัดชิ้นเนื้อตรวจ Biopsy ด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกเพื่อกำจัดเนื้อร้ายในสมอง และการผ่าตัดด้วยระบบนำวิถี Stereotaxis  ทำได้โดยการหาตำแหน่งที่ชัดเจน จากนั้นทำการเจาะรูเล็กที่กะโหลกแล้วใช้เข็มสอดเข้าไปเก็บตัวอย่างเนื้องอก ส่งให้นักพยาธิวิทยาตรวจสอบหาเซลล์มะเร็งต่อไป

 

ความรุนแรงของโรคมะเร็งสมอง

ปัจจัยจากตัวผู้ป่วยเอง

  • อายุของผู้ป่วย ผู้ที่มีอายุน้อยมักให้ผลการรักษาที่ดีและทนต่อการรักษาได้ดีกว่าผู้ป่วยสูงอายุ
  • สุขภาพร่างกายของผู้ป่วย
  • โรคร่วมต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน อาจเป็นอุปสรรคต่อการรักษา
  • การที่ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจำวัน จะบ่งบอกถึงก้อนเนื้องอกที่อยู่ในสมองนั้นไม่ได้อยู่ได้ส่วนที่เป็นอันตรายมาก

ปัจจัยจากตัวโรค

  • ชนิดของเนื้องอก ที่มีความรุนแรงน้อยจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าชนิดที่มีความรุนแรงมาก
  • ตำแหน่งของเนื้องอก ก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้นในบริเวณที่สำคัญส่งผลอันตรายต่อร่างกายจะมีผลการรักษาที่ไม่ดีทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมาก รวมถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี อาจจะมีข้อจำกัดมากกว่าเนื้องอกที่ไม่ได้อยู่บริเวณสำคัญ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เนื้องอกในสมองที่รักษาด้วยการผ่าตัด มักจะมีผลการรักษาที่ดีกว่าเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดรักษาได้

 

การรักษาโรคมะเร็งสมอง

การรักษา โรคมะเร็งสมอง จำเป็นต้องใช้ทีมแพทย์ที่ประกอบด้วยหลายส่วน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งของก้อนเนื้องอก อายุ และสภาพร่างกายของผู้ป่วย ถ้าหากเป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่รุนแรงขนาดเล็กและอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตราย เช่น เนื้องอกของเยื่อหุ้มสมอง , เนื้องอกประสาทหู  จะทำให้การรักษามักจะได้ผลดีหรือช่วยให้หายขาด เมื่อผ่าตัดออกได้หมด ผู้ป่วยจะมีโอกาสหายสูง แต่หากเป็นชนิดร้ายแรงลุกลามเร็ว หรือเป็นจำพวกมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากส่วนอื่นมักจะไม่หายขาด แพทย์จะทำการรักษาแบบประคับประคับประคองเพื่อช่วยลดความทรมาณ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน

1. การรักษาโรคมะเร็งสมองด้วยการผ่าตัด

รักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาอย่างเหมาะสม โดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์กำลังสูงทำให้สามารถเจอตำแหน่งของก้อนเนื้องอกได้ในระหว่างการผ่าตัด ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด และกำจัดเนื้องอกที่เป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็ง หากเป็นเนื้องอกสมองชนิดไม่รุนแรง เมื่อผ่าตัดออกได้หมด ผู้ป่วยจะมีโอกาสรักษาหายสูงถึงประมาณร้อยละ 80-90

2. การรักษาโรคมะเร็งสมองด้วยรังสี (Radiation Therapy)

คือการฉายแสงที่มีพลังงานสูงเพื่อทำลาย ลดการขยายตัวและหยุดการเจริญเติบโตของเนื้อร้ายใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เช่น กรณีที่เนื้อร้ายอยู่ในตำแหน่งที่บอบบางและยากต่อการผ่าตัด ซึ่งในการรักษาด้วยรังสีทำได้หลายวิธี เช่น

  •  2.1 External Radaition คือ การฉายรังสีที่มีพลังงานสูงผ่านชั้นผิวหนัง กะโหลก เซลล์สมอง ไปยังตำแหน่งเนื้อร้าย จะทำประมาณ 5 ครั้งต่อสัปดาห์
  • 2.2 Stereotatic Radiosurgery คือ การทำลายเนื้อร้ายโดยการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงจากหลายทิศทาง โดยทำหลังจากมีการระบุตำแหน่งชัดเจน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและใช้เวลาในการพักฟื้นน้อยกว่า

3. การรักษาโรคมะเร็งสมองด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy)

หรือที่เรียกว่าการทำคีโม คือการใช้ยาหนึ่งชนิดหรือรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปในการรักษา ให้ได้ทั้งทางเส้นเลือดหรือรับประทาน การให้ยาจะเว้นระยะให้ผู้ป่วยได้พักฟื้น และดูการตอบสนองต่อการรักษา การทำเคมีบำบัด สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นต้น

4. การรักษาโรคมะเร็งสมองโดยทำกายภาพบำบัด

หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในผู้ป่วยบางรายพบว่าสมองถูกทำลายจากเซลล์มะเร็ง ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการพูด การเดิน จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการฟื้นฟู เพื่อจะได้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

5. ฟื้นฟูโดยการรักษาแบบทางเลือก

เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือการทานอาหารเสริม เพื่อชดเชยสารอาหารที่สูญเสียไปในระหว่างการรักษา รวมถึงการฝังเข็มหรือการใช้สมุนไพร

6. ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งสมอง

ภาวะแทรกซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ โดยมีผลข้างเคียงจากการักษาได้แก่

  • เนื้องอกมีเลือดออกเฉียบพลัน
  • เกิดการอุดตันของน้ำในไขสันหลัง ทำให้เกิดภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง
  • ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นกะทันหันจากการเคลื่อนของสมอง

 

การป้องกันโรคมะเร็งสมอง

การป้องกันคือการสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น และ ปฏิบัติตัวตามแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสมองได้ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น พวกยาฆ่าแมลง โรงงานผลิตยาง สารเคมี สารกัมมันตภาพรังสี รวมถึงลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย เพื่อช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งในส่วนอื่นแล้วแพร่กระจายมาที่สมอง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมกับมะเร็งปอด และสังเกตตัวเองหากมีอาการผิดปกติดังที่กล่าวไปควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

โรคมะเร็งสมอง ป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งสมองได้ แต่หากใครที่มีอาการดังกล่าวเบื้องต้น ก็ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการรักษาอย่างเนิ่น ๆ ไม่ให้ถึงขั้นร้ายแรง และอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ผู้ป่วยจึงต้องมีเตรียมไว้อย่างเพียงพอ และหากไม่มีเพียงพอก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการรักษา

ดังนั้นสิ่งที่จะมาช่วยเหลือในการสำรองค่าใช้จ่าย คือการทำประกันสุขภาพกับทางโบรกเกอร์ประกันภัยอย่าง อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ประกันภัย ที่มีประกันสุขภาพให้เลือกทำให้ความคุ้มครองสูงสุด เพราะว่า โรคมะเร็งสมอง นั้นจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง โดยเรามีเจ้าหน้าที่ประกันภัยที่ให้คำแนะนำในการทำประกันสุขภาพเป็นอย่างดีกับลูกค้าในราคาย่อมเยาว์ และบริการหลังการขายที่จะดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และหากท่านสนใจในการทำประกันสุขภาพสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.easyinsure.co.th  ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : โรงพยาบาลนนทเวช , โรงพยาบาลศิริราช , โรงพยาบาลสมิติเวช

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *