เรียกได้ว่า โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุการตายอันอับที่ 3 จากการตายจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลกสำหรับบ้านเรามะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 6 ในผู้ชาย และอันดับที่ 9 ในผู้หญิงถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยในคนไทยแต่ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศไทยมักพบในระยะสุดท้ายของโรค
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร คืออะไร
คือการที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะ เมื่อมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น จะเกิดการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ ได้เช่น ตับ ลำไส้ ปอด เป็นต้น
โรคมะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการอักเสบของกระเพาะอาหาร แล้วอาการก็เรื้อรังจนเยื่อบุกระเพาะกลายเป็นมะเร็ง โดยกระบวนการนี้จะมีเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Helicobacter pylori เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้กระบวนการกระเพาะอาหารอักเสบไม่หาย และนำไปสู่การเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้นการรักษาการอักเสบเรื้อรัง จะทำร่วมกับกำจัดเชื้อโรคตัวนี้ อาจมีผลป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีอาหารบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้ ได้แก่อาหารที่ถูกเก็บรักษาไว้ด้วยเกลือ อาหารที่ดองเกลือ อาหารผ่านการรมควัน อาหารเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้น โดยปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่พบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- อายุ : เมื่ออายุมากขึ้น จะมีโอกาสเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มากขึ้น
- เพศ : เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า
- เชื้อชาติ : พบในคนเอเชียตะวันออก จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ได้มากกว่าชาวผิวขาว
- อาหาร : อาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน เพิ่มความเสี่ยงของโรคได้มากขึ้น
- การติดเชื้อ : Helicobacter pylori เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบ และแผลในกระเพาะอาหารได้ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น
- ประวัติคนในครอบครัว : มีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต : เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
- ภาวะอ้วน : ผู้ชายที่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
โรคมะเร็งกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็นกี่ระยะ
- ระยะที่ 1 : ผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งที่ผิวด้านในของผนังกระเพาะอาหาร โดยอาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง หรือ ลุกลามถึงขั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 2 : ผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งที่มีผิวด้านในกระเพาะอาหาร และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามเข้าถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร และเข้าต่อมน้ำเหลืองไมเกิน 6 ต่อม หรือลุกลามถึงผิวนอกของผนังกระเพาะอาหารแต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที 3 : ระยะนี้จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อ และเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือ ลุกลามถึงผิวนอกของกระเพาะอาหาร และต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 4 : ระยะนี้มะเร็งจะแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 15 ต่อม รวมทั้งเข้าต่อมน้ำเหลือง
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- การซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นอย่างแรก
- การกลืนแป้งสารทึบแสง – ผู้ป่วยจะต้องกลืนน้ำที่ผสมที่ผสมด้วยสารทึบแสงคล้ายแป้ง ไปเคลือบหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก และทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะ ๆ ทำให้สามารถมองเห็นก้อนเนื้อหรือความผิดปกติได้
- การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องที่ติดอัตราซาวนด์ – เพื่อช่วยให้แพทย์ทราบความลึกของมะเร็งกระเพาะอาหารหรือการกระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงของมะเร็ง
- การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น – เพื่อทำการตรวจประเมินรอยโรคภายในกระเพาะอาหาร หากตรวจพบสิ่งผิดปกติสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบได้
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan – จะแสงดภาพอวัยวะภายในแบบสามมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของโรคและการกระจายของโรคได้ละเอียด
- การเอกซเรย์ปอด – เพื่อตรวจความผิดปกติในช่องปอดและการแพรกระจายของโรคไปยังปอด
อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
ในระยะแรก อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็นหรืออาจมีอาการคล้ายโรคอื่น ๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือ กระเพาะอาหารอักเสบ ได้แก่รู้สึกอาหารไม่ย่อย หรือ ไม่สบายท้อง ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร คลื่นไส้เล็กน้อย ไม่อยากรับประทานอาหาร มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก และในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลุกลามมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกไม่สบายท้อง โดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบน
- มีเลือดปนในอุจจาระ
- อาเจียนเป็นเลือด
- ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ
- น้ำหนักตัวลดลง
- ปวดท้องหรืออาเจียนเป็นอาหารที่กินเข้าไป
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
ในการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จะมีทีมแพทย์ในสาขาต่าง ๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งมาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุด และมีความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่แพทย์จะนำมาพิจารณาได้แก่
- ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
- ระยะโรค และ การกระจายของมะเร็ง
- สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
ปัจจุบันการรักษาโดยการผ่าตัดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้อง หรือผ่าตัดผ่านกล้องเป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ การผ่าตัดผ่านกล้องจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นจากอาการผ่าตัดได้เร็ว ลดระยะเวลาการพักรักษาที่โรงพยาบาลได้ ทั้งนี้การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แพทย์อาจพิจารณาให้ทำเคมีบำบัดร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงโรคกำเริบและไม่กลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ โดยแนวทางการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จะแบ่งตามระยะของโรค ดังนี้
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแรก
ในช่วงระยะแรกอาจจะไม่แสดงอาการ แต่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการแน่นท้อง ท้องอืด หรือจากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยระยะเริ่มต้นนี้ สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดใช้กล้องส่องทางเดินอาหารเข้าไปตัดเฉพาะ เยื่อบุกระเพาะอาหารที่ผิดปกติ มีโอกาสหายขาดสูงมาก
การรักษาผู้ป่วยระยะที่มะเร็งเริ่มมีขนาดโต
มะเร็งยังไม่กระจายไปยังอวัยวะอื่น สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก โดยการเอามะเร็งและต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก
การรักษาระยะที่มะเร็งลุกลามไปติดอวัยวะอื่น
เช่น ในผนังช่องท้อง สามารถใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับความร้อน มาช่วยในการผ่าตัดส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดมากขึ้น
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้าย
ระยะมะเร็งกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ เมื่อถึงระยะนี้แล้วไม่สามารถผ่าตัดและไม่สามารถรักษาให้หายขาด แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดเพื่อคุมโรคและลดอาการของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
คำแนะนำเพิ่มเติมจากสมาชิก Pantip
โรคมะเร็งกระเพาะอาหารถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก หากใครมีอาการของโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียนนานเกินกว่า 4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแรก ๆ สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งในการรักษาผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาในการรักษานานพอสมควร นั่นหมายถึง การมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มสูงขึ้น หากผู้ป่วยไม่มีเงินสำรองไว้ก็อาจทำให้ขาดการรักษาไปได้
ดังนั้น สิ่งที่จะมาช่วยในเรื่องของเงินสำรองที่ดีที่สุดคือ การทำประกันสุขภาพ เพราะการทำประกันสุขภาพจะช่วยดูแลคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาให้กับท่าน โดยที่ท่านสามารถรักษา โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ทันที ณ โรงพยาบาลชั้นนำ ตามในเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งหากท่านสนใจทำประกันโรคร้ายแรง สามารถติดต่อได้ที่ โบรกเกอร์ประกันภัยกับทาง อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ บริษัทชั้นนำด้านการทำประกันภัยที่มีชื่อเสียงและมีความมั่นคง มีพนักงานด้านประกันภัยที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมที่จะให้คำแนะนำและเสนอเงื่อนไขในการทำประกันเพื่อให้ท่านได้รับความคุ้มครองมากที่สุด หากท่านสนใจเข้าไปที่เว็บไซต์ www.easyinsure.co.th ได้ตลอด 24ชั่วโมง
ขอบคุณภาพประกอบจาก : Pantip