โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร ในระยะแรกตรวจเจอก่อนรักษาหายได้ 100 %

รู้หรือไม่ โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งแนวโน้มของหญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงขึ้นทุกปี โรคมะเร็งเต้านม ถือเป็นภัยเงียบของผู้หญิง เพราะมักมาโดยไม่มีสัญญาณเตือน ทำให้ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ การทำตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญ และหากตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น ย่อมช่วยไม่ให้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ และมีโอกาสรักษาหายขาดได้ ประกันโรคร้ายแรงก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก สำหรับผู้ที่สนใจทำประกันที่เป็นกังวลในเรื่องค่ารักษา และตระหนักถึงความเสี่ยง สามารถมีเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้ จะเห็นได้ว่าการทำประกันสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรจะมีติดตัว

โรคมะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร

เป็นโรคที่เกิดขึ้นจาก เซลล์บนผิวของต่อมเต้านมได้รับผลกระทบจากสารก่อมะเร็ง ทำให้ยีนจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เซลล์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้เกินขีดจำกัดของร่างกาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม โดยเซลล์เหล่านี้จะมีการแบ่งตัวที่ผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมมันได้ มักแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลืองสู่อวัยวะที่ใกล้เคียง เช่นต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ แพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเต้านมกันก่อนดีกว่า เต้านมมีส่วนประกอบอยู่หลายชนิด เช่นไขมัน ต่อมน้ำนม ที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำนมและท่อน้ำนม โดยทำหน้าที่รวบรวมน้ำนมที่ผลิตจากต่อมน้ำนมมายังหัวนม โดยเซลล์ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ แต่ที่พบบ่อยที่เกิดความผิดปกติ คือ เซลล์ท่อน้ำนม

 

อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม มีอัตราการเกิด 7%-10% ของการเกิดมะเร็งต่าง ๆ ในร่างกาย โดยในช่วงชีวิตของผู้หญิงจะมีความเป็นไปได้ในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมประมาณ 10%  โดยทุกปีทั่วโลกจะมีผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านมประมาณ 1,200,000 คน และมีประมาณ 400,000 คน ที่เสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งเต้านม อัตราการเสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 3% ต่อปี รวมถึงอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้น 0.2%-0.8% ต่อปี

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม

ปัจจัยที่ได้รับการยอมรับว่ามีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ จำนวนการคลอดน้อย การเป็นหมัน วัยหมดประจำเดือนมาถึงช้า หรือ ประจำเดือนมาตั้งแต่อายุยังน้อย มีประวัติโรคเต้านม มีประวัติโรคมะเร็งเต้านมของคนในครอบครัว การกินยาคุมกำเนิด และได้รับผลกระทบจากรังสี เป็นต้น แต่สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังไม่สามารถยืนยันได้ทั้งหมด แต่ฮอร์โมนเพศหญิงที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังหมดประจำเดือนนั้น เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมอย่างชัดเจนนอกเหนือจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยด้านการบริโภค ปัจจัยทางด้านจิตใจที่มีความสัมพันธ์กันกับมะเร็งเต้านม

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม

  • เพศ : เพศหญิงมีฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน สามารถกระตุ้นการเจริญของของเซลล์มะเร็งเต้านมได้ จึงมีโอกาสป่วยเป็น โรคมะเร็งเต้านม ได้มากกว่าเพศชาย
  • อายุ : ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • มีประวัติการเป็นโรคมะเร็งเต้านม : เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็น 3-4 เท่า
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม : เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็น 2-4 เท่า
  • มีประวัติการเป็นมะเร็งไข่
  • การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน
  • ประวัติประจำเดือนมาเร็ว : คือมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็น 2 เท่า
  • ผู้ไม่มีบุตร : พบโอกาสเสี่ยงเป็น 3 เท่า
  • ยาคุมกำเนิดและการใช้ฮอร์โมนมานานกว่า 5 ปี : การให้เอสโตรเจนรักษาวัยหมดประจำเดือนนานเกิน 5 ปี ก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นมากขึ้น
  • ภาวะอ้วน : โดยเฉพาะหลังวัยหมดประจำเดือน เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็น 1.5-2 เท่า

 

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม

จะทำการตรวจวินิจฉัยเมื่อมีการตรวจพบก้อนผิดปกติจากการเอ็กซเรย์และคลำด้วยตนเอง หรือพบการมีแคลเซียมเป็นจุดที่ผิดปกติจากการตรวจเอ็กซเรย์ แพทย์จะต้องทำการตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ และมีการแพร่กระจายไปส่วนใดแล้วหรือไม่ วิธีที่วินิจฉัยได้แม่นยำคือ วิธีการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจ แต่หากไม่สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้ แพทย์จะพิจารณาการตรวจด้วยวิธีอื่นต่อไป ในการตรวจวินิจฉัยโรค แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ การใช้ยาในปัจจุบัน ประเภทของมะเร็ง ระดับความรุนแรงของอาการ โดยวิธีการวินิจฉัย โรคมะเร็งเต้านม สามารถทำได้ดังนี้

  1. การตรวจทางรังสีวิทยา
    • การใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมเพื่อการวินิจฉัย
    • การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงถ่ายภาพเต้านม
    • การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถ่ายภาพเต้านม
  2. การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
  3. การตรวจเลือด
  4. การเก็บชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
  5. การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก
  6. การตรวจการลุกลามของมะเร็งไปยังกระดูก
  7. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 

อาการของโรคมะเร็งเต้านม

ในบางครั้งผู้หญิงที่เป็น โรคมะเร็งเต้านม อาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านมให้เห็นเลย  หรือบางครั้งอาการผิดปกติที่เป็นอาจไม่ใช่ มะเร็งเต้านม ก็ได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีก้อนหนา ๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
  • มีอาการปวดบริเวณเต้านม
  • บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือมีแผล มีเลือดออกจากหัวนม
  • เต้านมเห็นรอยรูขุมขนชัดขึ้นทำให้ดูคล้ายของผิวส้ม ซึ่งเกิดจากมีเซลล์มะเร็งอยู่ใต้ชั้นผิวหนังบริเวณหลอดน้ำเหลือง
  • เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่เต้านมเพียงข้างเดียว

 

โรคมะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ

เนื่องจากทุกวันนี้ผู้หญิงมีการตรวจเช็คโรคมะเร็งเต้านมกันบ่อยขึ้น เพราะว่าปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าเมื่อก่อน จึงทำให้มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เซลล์มะเร็งยังอยู่ในระยะแรก ๆ ยังไม่ทันลุกลามไปจากจุดกำเนิด ทำให้มีความง่ายในการรักษา เพราะยิ่งก้อนมะเร็งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โอกาสที่เซลล์มะเร็งจะหลุดไปยังอวัยวะอื่นยิ่งมากขึ้น ดังนั้นยิ่งตรวจพบเร็วยิ่งมีโอกาสหายได้มากกว่า โดยการผ่าตัดเอาบริเวณนั้นออกไป มีโอกาศหายขาดสูงถึง 100 % โดยทั่วไประยะของ โรคมะเร็งเต้านม แบ่งออกเป็น

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 0

ระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อของเต้านม จึงทำให้สามารถรักษาเซลล์มะเร็งระยะ 0 ให้หายขาดได้ 100%

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 1

มะเร็งเริ่มมีการลุกลามออกมานอกเนื้อเยื่อ มีขนาดเล็กไม่เกิน 2 ซม. และยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ โดยมักจะยังคลำก้อนผิดปกติที่เต้านมไม่ได้ มีโอกาสหายขาดได้ 80%

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 2

ก้อนมะเร็งขนาดเกิน 2 – 5 ซม. และเริ่มลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 3

มีก้อนขนาดใหญ่มากขึ้น มากกว่า 5 เซนติเมตรขึ้นไป มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เช่น คลำได้ก้อนที่รักแร้ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะห่างไกล

มะเร็งเต้านม ระยะที่ 4

เป็นระยะสุดท้าย มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายมะเร็งจะมีการกระจายไปยังอวัยวะห่างไกล เช่น ปอด สมอง กระดูก ตับ เป็นต้น

 

วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจ โรคมะเร็งเต้านม คือตรวจหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากเต้านมจะลดความตึงลงสามารถคลำได้ง่ายกว่าช่วงเวลาอื่น โดยมีขั้นตอนในการตรวจ ดังนี้

  1. ดูหน้ากระจก – เพื่อดูว่าเต้านมสองข้างเท่ากันหรือไม่ หัวนมอยู่ในระนาบเดียวกันไหม ผิวเต้านมมีรอยแผลอะไรผิดปกติ หัวนมบุ๋มลงไปไหม
  2. คลำเต้านม  – ขั้นตอนนี้ควรทำในท่านอนโดยเอาแขนด้านที่จะตรวจรองไว้ใต้ศีรษะ และเอาผ้าเล็กมารองบริเวณไหล่เพื่อให้ตรวจได้ง่ายขึ้น จากนั้นค่อย ๆ คลำเต้านมให้ทั่ว ๆ โดยคลำวนเป็นก้นหอย คลำเป็นส่วน ๆ ของเต้านมหลักใหญ่คือการคลำให้ทั่วเต้านม ถ้าสัมผัสพบก้อนสะดุดมือผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยัน
  3. ให้บีบหัวนมดูว่ามีของเหลวออกไหม – เช่นมีเลือดผิดปกติไหลออกมาหรือไม่ ถ้ามีให้พบแพทย์ทันที

 

การรักษาโรคมะเร็งเต้านม

การรักษาโรคมะเร็งเต้านม จะอาศัยแพทย์จากศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยก็จะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเลือกวิธีรักษาของแพทย์

ปัจจัยในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม

  • ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
  • อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย
  • กรรมพันธุ์และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
  • ภาวะก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน
  • ขนาดตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
  • ปัจจัยที่บ่งบอกความรุนแรงของเนื้องอก เช่นยีน HER2

วิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านม

  • การรักษาโดยการผ่าตัด
  • การรักษาโดยการฉายแสง
  • ใช้ยาเคมีบำบัด
  • ใช้ฮอร์โมน
  • ใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง

 

การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม

ปัจจุบันยังไม่มีสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมที่แน่ชัด หลักการลดความเสี่ยงทั่วไปจึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเอง ด้วยการหมั่นตรวจเต้านมของตนเองเป็นปะจำทุกเดือน สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี เพราะการตรวจพบโรคได้เร็วจะเพิ่มโอกาสในการรักษาหายมากขึ้น เมื่อถึงอายุ 40 ปีขึ้นไปให้เข้ารับการตรวจจากแพทย์ทุก 1 ปี นอกจากนี้ อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยางอย่างเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม เช่น จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

จะเห็นได้ว่า โรคมะเร็งเต้านม สามารถป้องกันด้วยตนเองในเบื้องต้นได้ ด้วยวิธีการหมั่นตรวจเช็คเต้านมตัวเองตามคำแนะนำเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม เพียงเท่านี้ก็สามารถห่างไกลจากโรคมะเร็งเต้านมได้แล้ว แต่สำหรับกรณีที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้และเป็นโรคมะเร็งเต้านมแล้ว แพทย์ก็สามารถช่วยดูแลรักษาได้ตามขั้นตอนการรักษาและปฏิบัติตัวหลังการรักษาอย่างเคร่งครัด

 

สำหรับคำแนะนำที่ดีและปลอดภัยเมื่อเป็นโรคมะเร็งเต้านมแล้วคือ การทำประกันสุขภาพ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะการทำประกันสุขภาพจะช่วยให้เราไม่ต้องจ่ายค่ารักษา และสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเห็นได้ว่าการทำประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อเรามากยามเจ็บป่วยก็มีประกันสุขภาพอยู่เคียงข้างและหากท่านใดสนใจทำประกันสุขภาพ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ประกันภัย ที่เป็นบริษัทชั้นนำในการทำประกันภัยได้อย่างครบวงจร มีผลิตภัณฑ์และบริการมากมายให้ท่านได้เลือกทำ เรามีทีมงานที่เป็นมืออาชีพด้านประกันภัยสุขภาพไว้คอยต้อนรับท่าน เราจะดูแลและให้คำแนะนำในเรื่องความคุ้มครองสูงสุดให้กับท่าน และหากท่านสนใจในรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเช็คด้วยตนเองได้ที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์ , โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์โรงพยาบาลศิริราช

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *