โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ คืออันดับ 3 ของคนไทยโดยผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็ต่อเมื่อมีอาการขับถ่ายผิดปกติ เช่นถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ถ่ายมีมูกเลือด ปวดเบ่งถ่ายตลอดเวลา อุจจาระลำเล็กลง หรือก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสการเสียชีวิตสูง
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออะไร
เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเซลล์ในลำไส้ใหญ่ โดยเซลล์ลำไส้ใหญ่จะทำการแบ่งตัวเพิ่ม จำนวนอย่างไม่หยุดยั้งจนไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลาหลายปี โดยในระยะแรก ๆ เซลล์ อาจเป็นเพียงแค่เนื้องอกชิ้นธรรมดา ๆ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาหรือผ่าตัดทิ้ง เนื้องอกนี้อาจจะลุกลาม กลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อันตรายแค่ไหน เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไม่มีอาการผิดปกติที่บ่งชี้ชัด จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในบางครั้งจะมีอาการที่แสดงออกมาคล้ายกับอาการโรคอื่น ๆ เช่น ระบบขับถ่ายมีการเปลี่ยนแปลง ท้องเสียสลับกับท้องผูก น้ำหนักลด อ่อนเพลีย อ่อนแรง เลือดออกมาปนอุจจาระ อาการเหล่านี้คล้ายโรคลำไส้ และทางเดินอาหาร จึงทำให้หลายคนคิดว่าไม่เป็นอันตราย แต่มันกลับเป็นความน่ากลัวของมะเร็งลำไส้ เพราะ กว่าจะถึงมือหมอก็ป่วยในระยะสุดท้ายแล้ว ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดได้ของการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพียงแต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยง มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ ได้แก่
- มีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ : โดยเฉพาะชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้โดยเมื่ออายุมากขึ้น ติ่งเนื้อจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ โดยเฉพาะการมีติ่งเนื้อหลายก้อนและมีขนาดใหญ่ก็จะเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน
- มีประวัติเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ : หรือเป็นแผลเรื้อรัง ได้แก่โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล, โรคโครห์น
- คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน : โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี จะมีความเสี่ยงมากขึ้น อาจจะเป็นผลมาจากการถ่ายทองทางพันธุกรรม หรือการสัมผัสสารก่อมะเร็งรวมกันในครอบครัว
- เพศและเชื้อชาติ : พบว่าผู้หญิงชาวอเมริกันมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าคนผิวขาว แต่คนผิวดำในทวีปแอฟริกากลับมีความเสี่ยงต่ำมาก
- มีประวัติได้รับการฉายรังสีรักษามะเร็ง : ชนิดอื่นที่บริเวณท้อง
- เคยรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก : หรือมะเร็งอันฑะ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- มีประวัติผ่าตัดถุงน้ำดี : เพราะน้ำดีไม่มีถุงพัก จึงไหลลงลำไส้ตลอดเวลา และเกิดการระคายเคืองจนกลายเป็นมะเร็ง
- กินอาหารเนื้อแดง : เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแพะ ตับ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทอดปิ้งหรือย่างไหม้เกรียม อาหารเค็ม หมักดอง อาหารไขมันสูง ทำให้เกิดอาการท้องผูก อุจจาระคั่งค้างในลำไส้ใหญ่ เยื่อบุลำไส้มีโอกาสสัมผัสกับสารก่อมะเร็ง
- อาการท้องผูก : มีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้หญิงผิวดำมีอาการท้องผูกมีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น
- สูบบุหรี่เป็นเวลานาน : เพราะจากการศึกษาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- ทำงานเป็นกะ : ผู้ที่ทำงานเป็นกะมากกว่า 3 คืนต่อเดือนอย่างน้อย 15 ปี พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับเมลาโทนิน
- เป็นโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง : เช่น มะเร็งที่เกิดจากการมีติ่งเนื้อมาก ๆ ในลำไส้
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แม้ว่าสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะยังไม่แน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้ ได้แก่
- มีประวัติเนื้องอก โดยปกติจะพบที่ผนังลำไส้ใหญ่ แต่หากเวลาผ่านไปเนื้องอกบางชนิดอาจกลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
- อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- การไม่ออกกำลังกาย และความอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
- มีประวัติของโรค IBD Inflammatory bowel disease คือโรค Ulcerative Colitis ซึ่งอาจกลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปี
- การสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
แล้วใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุของการเกิดมะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าการเกิดโรคนี้มีเกิดขึ้นในกลุ่มคนดังนี้
- ชอบบริโภคเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดง ไขมันสูง
- ดื่มสุรา สูบบุหรี่
- อายุ 50 ปีขึ้นไป
- มีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้
- มีการอักเสบของลำไส้เรื้อรัง
อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ท้องผูกบ่อยจนเป็นเรื่องปกติ
คนที่มีอาการท้องผูกเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตในวัยทำงาน และปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรังจนมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมนี้คือสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
มีเลือดสีเข้มปนกับอุจจาระ
มีเลือดสดหรือเลือดสีแดงที่อาจเกิดจากอุจจาระที่แข็งเมื่อเบียดกับติ่งเนื้อที่ขึ้นผิดปกติ ภายในลำไส้เกิดเป็นแผลทำให้มีเลือดออกและปนออกมาในบางครั้งที่ขับถ่าย
อุจจาระลีบเป็นลำเล็ก
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเริ่มจากการที่มีติ่งเนื้อขึ้นมาในลำไส้ ซึ่งอาจเป็นติ่งเนื้อธรรมดาไม่ใช่เนื้อร้าย จึงพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งในภายหลัง การมีติ่งเนื้อเกิดขึ้นขวางภายในลำไส้นี้ทำให้อุจจาระที่เคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่มีลักษณะถูกบีบให้เป็นลำเล็กลีบ หากพบว่าอุจจาระมีลักษณะเล็กลีบเป็นประจำ อาจเป็นสัญญาณว่ามีก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อขึ้นในลำไส้
กินอาหารเท่าเดิมแต่น้ำหนักลดฮวบ
คือมีลักษณะอาการน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีพฤติกรรมการกินอาหารแบบเดิมหรือมากกว่าเดิม
มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก
มีอาการของอุจจาระแข็งและเหลวสลับกัน เป็นติดต่อกันแบบเรื้อรัง ถึงแม้ว่าจะกินอาหารที่เหมาะสมไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ท้องเสีย แต่ยังมีอาการแบบนี้อยู่ อาจเป็นความผิดปกติที่เกิดจากภายในลำไส้
อ่อนเพลียอ่อนแรงแบบไม่มีสาเหตุ
อาการอ่อนเพลียอ่อนแรงอาจเกิดจากการที่มีเลือดออกในลำไส้ปนออกมากับอุจจาระ หากเสียเลือดจากการขับถ่ายอาจมีภาวะซีด โลหิตจางร่วมด้วย ยิ่งทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียอ่อนแรงต่อเนื่อง
วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
1. การส่องกล้อง Sigmoidosopy
เป็นการส่องกล้องทางทวารหนัก โดยใช้กล้องแบบอ่อนยาว 60 เซนติเมตร เพื่อดูลำไส้ส่วนปลายทางด้านซ้ายได้แต่ไม่สามารถดูได้ตลอดความยาวของลำไส้ หากพบติ่งเนื้อที่มีความเสี่ยงในการกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แนะนำให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อทุกราย
2. การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ Colonoscopy
เป็นวิธีที่มีความไวและความจำเพาะในการตรวจสูงสุด วิธีนี้ช่วยให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมด กรณีตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ สามารถทำการตัดชิ้นเนื้อผ่านทางกล้องเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ หากตรวจพบปกติแนะนำให้ตรวจทุก 5-10 ปี
3. การตรวจหาเลือดออกในอุจจาระ Fecal occult blood test
การตรวจวิธีนี้ช่วยให้ตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ และช่วยให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างน้อย 33% อย่างไรก็ตามการตรวจหาเลือดออกในอุจจาระนั้นมีความแม่ยำค่อนข้างต่ำและคลาดเคลื่อนได้
4. การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ CT Colonography
เป็นการตรวจลำไส้ใหญ่โดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สร้างภาพสามมิติขึ้น มีความไวและความจำเพาะสูง โดยขึ้นกับขนาดของติ่งเนื้อ ถ้าติ่งเนื้อเล็กกว่า 1 เซนติเมตร ความไวความจำเพาะของการตรวจจะลดลง และเมื่อตรวจพบความผิดปกติในลำไส้ใหญ่แล้ว ต้องทำการส่องกล้องลำไส้ใหญ่อีกครั้ง เพื่อทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป
5. การตรวจค่า Carcino Embryonic Antigen
มีความไวและจำเพาะต่ำในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยทั่วไปการตรวจเลือดหาค่า CEA นี้จะมีประโยชน์ในการติดตามผลการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่า
6. การตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ Barium Enema
การสวนแป้งแบเรียมเป็นสารทึบรังสีให้ผู้ป่วย และถ่ายภาพเอ็กซเรย์การเคลื่อนตัวของแป้งแบเรียมผ่านระบบทางเดินอาหารในส่วนของลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง เพื่อตรวจหาเนื้องอก หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจวินิจฉัยโรค แพทย์จะใช้วิธีตรวจหลาย ๆ วิธี เพื่อการตรวจที่แน่ชัดว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ และมีการแพร่กระจายไปที่ใดแล้วหรือไม่ โดยแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย อายุและสุขภาพ ประเภทของมะเร็ง ระดับความรุนแรงของอาการ ผลการตรวจสอบก่อนหน้า เป็นต้น โดยวิธีการวินิจฉัย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำได้ดังนี้
- ตรวจเลือด – โดยการตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง หรือการวัดระดับโปรตีน CEA
- การตัดชิ้นเนื้อ Biopsy – เป็นวิธีการวินิจฉัย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่แม่นยำได้ผลที่สุด และเพื่อการตรวจทางชีวโมเลกุลของมะเร็ง
- ตรวจอัลตราซาวนด์ – เป็นการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง สามารถบอกได้ว่ามะเร็งกระจายสู่ตับหรืออวัยวะอื่นหรือไม่
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan ใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของโรคและการกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
- การเอกซเรย์ปอด – ตรวจเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังปอดหรือไม่
- PET Scan เป็นการตรวจโดยการฉีดสารรังสีให้ถูกดูดซึมในอวัยวะและเนื้อเยื่อ
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีกี่ระยะ
- ระยะที่หนึ่ง : จะพบมะเร็งที่เยื่อบุชั้นที่ 2 และ 3 ของผนังลำไส้ใหญ่ แต่ไม่พบที่ผนังด้านนอกลำไส้ใหญ่ระยะ 0 หรือ ระยะก่อนมะเร็ง โดยจะพบมะเร็งที่ผนังด้านนอกสุดของผนังลำไส้ใหญ่
- ระยะที่สอง : มะเร็งจะลุกลามไปที่ผนังลำไส้ใหญ่ แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่สาม : มะเร็งลุกลามไปผนังลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลือง ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น
- ระยะที่สี่ : มะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่นแล้วเช่น ตับ ปอด เป็นต้น
การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งของก้อนและอาการที่เป็น บางตำแหน่งรักษาโดยการผ่าตัดได้เลย แต่บางตำแหน่งในบริเวณอุ้งเชิงกรานอาจจำเป็นต้องฉายรังสีก่อนผ่าตัด เพื่อลดอัตราการแพร่กระจายออกไปและการกลับเป็นใหม่ การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มีวิธีหลัก ๆ อยู่ 3 วิธีคือ
1.การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการผ่าตัด
คือการผ่าตัดเป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด โดยอาจจะทำเพียงการตัดก้อนชิ้นเนื้อ หรือตัดเฉพาะที่ในกลุ่มที่เป็นในระยะแรก ๆ แต่ในระยะหลัง ๆ ที่ก้อนเนื้องอกลุกลามไปนอกลำไส้ใหญ่หรือเข้ายังต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตัดเนื้องอกร่วมกับส่วนหนึ่งของลำไส้ไปด้วย ร่วมกับการเลาะชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองที่คาดว่าจะกระจายเนื้องอกเข้าไปร่วมด้วย หรือในบางกรณีสามารถต่อลำไส้เข้ามาด้วยกันได้เลย
2.การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการให้เคมีบำบัด
ใช้ประกอบกับการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสการกำเริบของมะเร็งและโอกาสรอดชีวิตยืนยาวขึ้น โดยหลังการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกแต่ยังพบว่าเกิดการกลับมาใหม่ได้มากประมาณ 50-60% การรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการรักษาเพื่อลดการกลับมาใหม่หลังจากการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยตั้งแต่ระยะที่ 2 เป็นต้นไป โดยทั่วไปมักจะให้เคมีบำบัดประมาณ 6 ครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของยาเคมีบำบัด
3.การรักษาด้วยรังสีรักษา
อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาด้วยการฉายรังสีใน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อก้อนเนื้อนั้นลุกลามออกไปยังอวัยวะอื่น ๆ หรือ ออกมาเกาะยังผนังหน้าท้อง ซึ่งการฉายรังสีนั้นไม่เป็นการรักษาวิธีหลักในการรักษามะเร็งลำไส้
การป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
การป้องกัน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือการรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารจากผักและผลไม้ ลดการทานเนื้อแดง รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ การดูแลควบคุมน้ำหนักตนเองไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับการใช้สารเคมีหรือยา เพื่อการป้องกันการเกิดมะเร็งนั้น เช่น วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินดี วิตามินซี กรดโฟลิก ยาลดไขมันกลุ่มสแตติก พบว่าอาจมีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงไม่เป็นข้อแนะนำให้ใช้สารดังกล่าว อาการผิดปกติของระบบขับถ่ายแม้จะเพียงเล็กน้อย แต่อาจเป็นอาการเริ่มแรกของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือหากท่านมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ควรมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะการรักษาที่ทันท่วงทีมีโอกาสหายได้ ถึงแม้ว่าการรักษาอาจต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่หากท่านได้ทำประกันสุขภาพไว้ ที่เป็นเสมือนธนาคารไว้ให้ทานได้เบิกค่าใช้จ่ายไปทำการรักษาได้ตลอดเวลา การทำประกันสุขภาพไม่ได้ยากเย็นอย่างที่คิด เพียงแค่ท่านติดต่อเข้ามาที่อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ ทางบริษัทจะคอยให้คำแนะนำดูแลด้านผลิตภัณฑ์การทำประกันสุขภาพให้กับท่านอย่างมืออาชีพ พร้อมทั้งเสนอเงื่อนไขที่ให้ความคุ้มครองแก่ท่านได้รับผลประโยชน์สูงสุด และหากท่านสนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24 ชั่วโมงตัดสินใจทำประกันสุขภาพให้กับตัวท่านเองหรือคนในครอบครัวที่ท่านรักได้แล้วตั้งแต่วันนี้ เพื่อท่านจะได้ใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยเพราะท่านจะมีอีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์คอยดูแลท่านตลอดระยะเวลาการคุ้มครอง
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลบีเอ็นเอช , โรงพยาบาลกรุงเทพ , โรงพยาบาลศิริราช , โรงพยาบาลพญาไท