จะกล่าวกันได้ว่า โรคที่น่ากลัวสำหรับผู้หญิงอันดับต้น ๆ เลยคือ โรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัวและอาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน หากไม่ได้รับการดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี แต่จะขอบอกว่าโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีง่าย ๆ และการรักษาก็ไม่ได้ยากเย็นอย่างที่คิดเลย วันนี้เรามาเจาะลึกเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกกัน เพื่อสาว ๆ จะได้นำไปปฏิบัติกันได้อย่างเคร่งครัด
โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร
เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูกของผู้หญิง จากเชื้อไวรัส HPV Human Papillomavirus สายพันธุ์ที่ดุร้ายที่สุดคือสายพันธุ์ 16 และ 18 พบเป็นสาเหตุของ โรคมะเร็งปากมดลูก ถึงร้อยละ 70-80 เป็นไวรัสที่มีอยู่ได้ทั้งในร่างกายผู้ชายและผู้หญิง ติดต่อกันผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในระบบสืบพันธุ์สตรี
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้คือ การฉีกขาดของช่องคลอดในกรณีของผู้หญิงที่มีบุตรหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การไม่รักษาสุขอนามัยบริเวณช่องคลอด การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย การอักเสบและมีแผลที่ปากมดลูกและทิ้งไว้โดยไม่ได้รักษา มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังนี้
- การสูบบุหรี่ Smoking การสูบบุหรี่ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพต่ำลงในการต้านทานกับเชื้อไวรัสเอชพีวี โดยสตรีที่สูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้มากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือติดเชื้อเอชไอวี Human Immunodeficiency Virus-HIV ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคเอดส์ มีโอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อเอชพีวี นำมาสู่โรคมะเร็งปากมดลูก เพราะระบบภูมิคุ้มกันเป็นระบบที่มีความสำคัญในการต้านทานเซลล์มะเร็งไม่ให้เจริญเติบโตหรือแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
- มีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่น หนองใน ซิฟิลิส หรือ เริม ทำให้ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ และติดเชื้อเอชพีวีได้ง่าย
- ปัจจัยทางพฤติกรรมการบริโภค คือ หากบริโภคผักผลไม้อาหารกากใยไม่เพียงพอจะเพิ่มโอกาสเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
- สตรีที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ หรือ เป็นโรคอ้วน มีแนวโน้มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้
- มีประวัติการตั้งครรภ์ที่ครบกำหนดบ่อยครั้ง การตั้งครรภ์มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้
- มีประวัติการตั้งครรภ์ และคลอดบุตรในช่วงอายุที่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ คือสตรีที่มีบุตรก่อนวัยอันควรมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าสตรีทั่วไปที่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป
- มีพฤติกรรมการใช้เม็ดยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ติดต่อกันเกินกว่า 4-5 ปี มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ แต่หากหยุดใช้ยาความเสี่ยงจะหมดไป
- ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม สตรีที่มีรายได้น้อยอาจไม่ได้รับบริการทางสุขภาพที่เพียงพอและไม่ได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสเอชพีวีในทุกปี จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้
สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกนั้น ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงวัย 30-55 ปี โดยมีสาเหตุสำคัญที่สุดได้แก่ ไวรัส HPV ซึ่งติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยไวรัสตัวนี้จะใช้เวลาเฉลี่ยราว 5-10 ปีในการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อปากมดลูกปกติให้กลายเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก รวมถึงอีกหลายสาเหตุดังนี้
- มีจำนวนการตั้งครรภ์ การคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง
- รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
- มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย
- มีคู่นอนหลายคน หรือ มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
- มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน ซิฟิลิส
- สูบบุหรี่
- ขาดการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะผู้หญิงที่รับประทานผักและไม้น้อย มีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดพบบ่อย รวมถึงโรคมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้มก
สาเหตุสำคัญที่เป็นตัวการของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง Oncogenic Type เช่น Type 16 และ 18 ที่ทำให้เซลล์ปากมดลูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ผิดปกติอันนำมาสู่การเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ติดเชื้อ และเกิดการติดต่อได้หลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นทางปาก ช่องคลอด ทางทวารหนัก
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
การคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปสเมียร์ Pap Smear ในผู้หญิงอายุ 35-60 ปี ทุก 5 ปี ครอบคลุมร้อยละ 50 ของประเทศจะสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกได้ถึงร้อยละ 44 การคัดกรองด้วยวิธีแปปสเมียร์ จึงเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ค่าใช้จ่ายไม่สูง และเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายกันมานานจนถึงปัจจุบัน ในผู้หญิงคือ ควรรับการตรวจแปปสเมียร์ครั้งแรกเมื่ออายุระหว่าง 30-35 ปี และควรตรวจเป็นประจำทุก 1-3 ปี
ขั้นตอนการทำแปปสเมียร์ Pap Smear
สามารถทำได้ระหว่างการตรวจภายในที่ห้องตรวจโดยสูตินรีแพทย์ การตรวจใช้เพียงเวลา 1-2 นาที ในการเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดด้านในป้ายลงบนแผ่นสไลด์แก้ว ก่อนนำแผ่นสไลด์ส่งไปย้อมสีด้วยวิธีการเฉพาะแล้วให้พยาธิแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติผ่านกล้องจุลทรรศน์
การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป Colposcope
กล้องส่องปากมดลูกเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจและส่องดูรายละเอียดรอยโรคของปากมดลูก โดยมีเลนส์ที่มีกำลังขยาย 6-40 เท่า สำหรับดูการติดสีที่ผิดปกติ ความคมชัดของรอยโรค เส้นเลือดที่ผิดปกติบริเวณผิวของปากมดลูก
การตรวจคัดกรองด้วยวิธีลิควิดเบส Liquid-based Cytogy
คือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้อุปกรณ์เฉพาะโรคในการเก็บตัวอย่าง ป้ายเยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูก และนำเซลล์ตัวอย่างที่เก็บได้ทั้งหมดใส่ลงในขวดน้ำยาเพื่อรักษาเซลล์ส่งเข้าเครื่องอัตโนมัติในการเตรียมเซลล์เยื่อบุผิวที่ปราศจากสิ่งปนเปื้อนพวกมูก เม็ดเลือด ลดการซ้อนทับของเซลล์ที่หนาแน่เกินไปลงบนแผ่นสไลด์แก้ว
การตรวจเนื้อเยื่อ Biopsy
เมื่อการตรวจเนื้อเยื่อเป็นผลลบ ควรนำชิ้นเนื้อตรงจุดที่หก เก้า สิบสอง และสามบริเวณรอยต่อของเซลล์เยื่อบุผิวไปทำการตรวจ หรือใช้เครื่องมือขูดช่องปากมดลูกเพื่อนำเซลล์ไปตรวจทางพยาธิวิทยาต่อ
การทดสอบด้วยไอโอดีน
เป็นการตรวจดูปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคป แล้วทาปากมดลูกและเยื่อเมือกช่องคลอดด้วยไอโอดีนที่มีความเข้มข้น 2% บริเวณที่ไม่เกิดสีจะได้ผลเป็นลบ หากพบส่วนที่มีผลลบผิดปกติควรตัดชิ้นเนื้อส่วนนั้นส่งตรวจทางพยาธิวิทยาทันที
การตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกออกเป็นรูปโคน Cone Biopsy
เมื่อการตรวจเนื้อเยื่อไม่สามารถชี้ชัดว่ามะเร็งไม่มีการลุกลาม ก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกออกเป็นรูปโคนเพื่อทำการตรวจต่อไป
อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก
- มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ เช่น ขณะหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ หลังการตรวจภายในยังคงมีเลือดออกจากช่องคลอด หรือ หลังจากหมดประจำเดือน หรือ มากะปริดกะปรอยผิดปกติ
- มีอาการเจ็บ ขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีตกขาวอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีเลือดปน
- ปัสสาวะบ่อย หรืออาจปวดบวม ปัสสาวะไม่ออก
- มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดมากผิดปกติ หรืออาจปนเลือด
- เบื่ออาหาร ซูบผอม น้ำหนักลง
- ปวดท้องน้อย
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- หากอาการรุนแรงขึ้น อาจมีอาการขาบวม ปวดหลัง ปัสสาวะมีเลือดปน
โรคมะเร็งปากมดลูกมีกี่ระยะ
- ระยะที่ศูนย์ – เซลล์มะเร็งยังอยู่ผิวส่วนบนของปากมดลูก โดยมีชื่อเรียกได้อีกชื่อว่า มะเร็งในจุดกำเนิด
- ระยะที่หนึ่ง – เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก และเริ่มลุกลาม
- ระยะที่สอง – เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าช่องคลอด แต่ยังไม่ถึง1 ใน 3 ของช่องคลอด หรืออาจลุกลามเข้าที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก แต่ไม่ถึงผนังของเชิงกราน
- ระยะทีสาม – เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปถึง 1 ใน 3 ส่วนล่างของช่องคลอด หรือลุกลามไปถึงกระดูกเชิงกราน กดทับท่อไต เริ่มเกิดการอุดตันของระบบปัสสาวะ
- ระยะที่สี่ – เซลล์มะเร็งลุกลามออกจากส่วนอวัยวะเพศ ผ่านกระดูกเชิงกรานลามเข้าในลำไส้ตรง และ กระเพาะปัสสาวะโดยตรง หรือลามไปบริเวณอื่น ๆ ได้อีก
การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก
- การใช้รังสีรักษา Radiotherapy การใช้รังสีรักษามีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่การฉายรังสีจากภายนอก External Irradiation และ การใส่แร่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด Intracavitary Irradiation / Brachytherapy ในการรักษาด้วยการฉายรังสีทำขึ้นเพื่อทำลายก้อนมะเร็งของปากมดลูก การใช้รังสีเพื่อการรักษามีบทบาทมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก โดยจากสถิติพบว่าผู้ป่วยใช้วิธีการรักษาด้วยรังสีเป็นหลัก เพราะสามารถใช้รักษากับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกได้ทุกระยะ
- การให้ยาเคมีบำบัด Chemotherapy คือการให้ยาเคมีบำบัด การทำคีโม หรือการใช้ยาเพื่อทำลายการก่อตัวเกิดขึ้นของเซลล์มะเร็ง และป้องกันการลุกลาม ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาถึงการรักษาด้วยวิธีการนี้โดยมีระยะอาการมะเร็งผู้ป่วยเป็นเกณฑ์การตัดสินใจ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่มีระยะลุกลาม
- การผ่าตัด Surgery คือการผ่าตัดมะเร็งบริเวณอวัยวะบางส่วนของร่างกายออกไป ได้แก่ การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้าง Radical Trachelectomy การตัดมดลูกและปากมดลูกออก Hysterectomy และการผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง Radical Hysterectomy ส่วนมากแพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 1 และ 2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการ การลุกลามของมะเร็งที่พบด้วย สำหรับการผ่าตัดสามารถทำได้ 3 วิธีคือ การผ่าตัดทางหน้าท้อง, การผ่าตัดทางช่องคลอด และ การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องช่องท้อง
- การใช้กล้องเป็นอุปกรณ์ช่วยในการผ่าตัด โดยมีข้อดีคือ ช่วยลดอาการ ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยผู้ป่วยจะใช้เวลาในการพักฟื้นเพียงระยะเวลาอันสั้น 1-2 วัน และการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องช่องท้องจะมีบาดแผลจากการผ่าตัดขนาดที่เล็กกว่าแบบอื่น ๆ
- การรักษาร่วม Combined Treatment เป็นการรักษาหลายวิธีร่วมกัน คือมีวิธีการให้ยาเคมีบำบัดควบคู่กับการใช้รังสีรักษา Concurrent Chemoradiation จะเพิ่มประสิทธิภาพทำให้ทราบผลการรักษาด้วยการใช้รังสีได้ดีเยี่ยม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของมะเร็งในผู้ป่วยแต่ละรายด้วย โดยเราจะใช้วิธีการนี้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม
มะเร็งปากมดลูกระยะแรก
การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกขึ้นอยู่กับระยะของโรค คือ ระยะก่อนมะเร็งเป็นการรักษาเฉพาะที่เช่น การจี้ด้วยความเย็นหรือความร้อนในการทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ การตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า ส่วนระยะมะเร็งแล้ว ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 ถึงขั้นนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งต่างจากการผ่าตัดมดลูกทั่วไป คือเป็นการผ่าตัดแบบ ถอนรากถอนโคน หรือการผ่าตัดเอาปากมดลูกเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปากมดลูก ช่องคลอดส่วนต้นและต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้นออกทั้งหมดเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเซลล์มะเร็งเหลืออยู่ ซึ่งการผ่าตัดทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้อง
มะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย
ระยะมะเร็งแล้ว ระยะที่ 3 และ ระยะที่ 4 มะเร็งจะลุกลามออกนอกปากมดลูก การรักษาประกอบด้วยการเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา ( Concurrent Chemoradiation ) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทำให้ผลการรักษาด้วยรังสีออกมาได้ดีเยี่ยม เพื่อคุมไม่ให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง และเนื้อเยื่อชั้นในรอบมดลูก แต่หากมะเร็งลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองและกระดูกเชิงกราน จะส่งผลให้ไต กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ
วิธีดูแลหลังการผ่าตัดโรคมะเร็งปากมดลูก
- การดูแลด้านสุขอนามัย – หลังการผ่าตัดควรล้างช่องคลอดด้านนอกและปากท่อปัสสาวะวันละ 2 ครั้ง เพื่อรักษาความสะอาดของช่องคลอด และสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ
- การดูแลด้านการออกกำลัง – ฝึกซ้อมการหายใจส่วนท้องและฝึกขมิบทวารหนัก เพื่อเพิ่มพลังการหดตัวของกล้ามเนื้อท่อปัสสาวะ และกล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะ ช่วยฟื้นฟูระบบประสาทของกระเพาะปัสสาวะ
- การดูแลด้านการบริโภค – ควรรับประทานอาหารวิตามินสูง โปรตีนสูง และอาหารที่ย่อยง่ายให้มาก เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร คู่นอนหลายคน
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี เพราะโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรกนั้นไม่มีอาการแต่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองพร้อมการตรวจภายในประจำปี
- เมื่อพบเซลล์ผิดปกติ หรือตรวจพบรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งต้องรับการรักษาและตรวจติดตามอย่างเคร่งครัด
- การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในรายที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่อายุ 9 ถึง 26 ปี จะได้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีสูงที่สุด สำหรับสตรีที่อายุมากกว่านี้ฉีดวัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงเช่นกัน โดยวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปีตั้งแต่ปี 2549 ขณะนี้ในบ้านเรามีให้เลือกใช้ 2 ชนิด 2 สายพันธุ์ Cervarix® และ 4 สายพันธุ์ Gardasil® และอนาคตจะมีชนิด 9 สายพันธุ์ Gardasil®
ชนิด 2 สายพันธุ์ : สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน โดยจะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม (เข็มที่ 1 ฉีดทันที หลังจากนั้น 1 เดือนค่อยฉีดเข็มที่ 2 และเข็มที่ 3 ฉีดหลังจากเข็มแรก 6 เดือน)
ชนิด 4 สายพันธุ์ : สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์16 และ 18 และป้องกันหูดหงอนไก่ที่เกิดจากเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 6 และ 11
ชนิด9 สายพันธุ์ : สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกทีเกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 19, 18, 31, 33, 45, 52, 58 และป้องกันหูดหงอนไก่ที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 6, 11
โดยวัคซีนโรคมะเร็งปากมดลูก มีความปลอดภัยสูงและไม่ค่อยมีผลข้างเคียงที่รุนแรง โดยผลข้างเคียงที่พบซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ คือเกิดรอยอักเสบ บวมแดง คันบริเวณที่ฉีด หรืออานปวดหัว มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน แต่แล้วอาการเหล่านี้จะทุเลาลงและหายไป สำหรับผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 25-49 ปี จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปี และผู้หญิงอายุ 50-64 ปี จะได้รับคำแนะนำในการตรวจคัดกรองทุก 5 ปี สำหรับผู้หญิงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จะแนะนำให้ตรวจคัดกรองเฉพาะผู้ที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองเลยตั้งแต่อายุ 50 ปี หรือคัดกรองผู้มีผลครั้งก่อนพบว่ามีความผิดปกติ
อีกทางเลือกใหม่ในการรักษา โรคมะเร็งปากมดลูก คือ การจัดเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ล่วงหน้าเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำประกันสุขภาพกับทางอีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ประกันภัย เพราะการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้แต่อาจมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง หากไม่มีงบประมาณเพียงพออาจทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการทำประกันสุขภาพเป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยที่สุด โดยทางอีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์มีประกันสุขภาพหลายรูปแบบให้ได้เลือกสรรมากมาย และหากท่านสนใจในการทำประกันสุขภาพสามารถอ่านเงื่อนไขก่อนได้ที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง โดยทีมงานอีซี่อินชัวร์ยินดีให้คำแนะนำในการทำประกันสุขภาพ โดยเสนอเงื่อนไขที่คุ้มครองให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดอย่างแน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลรามคำแหง , โรงพยาบาลศิริราช , โรงพยาบาลกรุงเทพ