โรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่

โรคมือเท้าปาก คืออะไร อาการและสาเหตุการติดต่อในเด็กและผู้ใหญ่

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทีไร สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ โรคภัยที่ระบาดมากับฤดูฝน ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก หรือแม้แต่ โรคมือเท้าปาก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่ระบาดมากในฤดูฝน และเด็ก ๆ ก็ติดต่อได้ง่ายจากสารคัดหลั่ง เช่น การอยู่ใกล้ชิดกัน การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่มาก หรืออยู่รวมกันเยอะๆ ซึ่งโรคนี้เกิดจากสาเหตุอะไร อาการและวิธีการรักษาโรคเป็นอย่างไร วันนี้เราขอมาเจาะลึกโรคนี้กัน

โรคมือเท้าปาก

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปีในแถบร้อนชื้น ซึ่งมักจะเกิดกับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งจากรายงานสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากในประเทศไทย พ.ศ.2557 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวนทั้งสิ้น 64,000 ราย มีรายการการเสียชีวิตเพียง 2 ราย โดยในรอบ 10 ปี พ.ศ.2547-2556 มีแนวโน้มการเกิดโรคนี้สูงขึ้นทุกปี โดยจะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม และจะมีจำนวนลดลง หรือเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในเดือนมิถุนายน – สิงหาคม เรียกได้ว่าเป็นฤดูกาลของการระบาดโรคนี้ คือช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว

โรคมือเท้าปากจะพบได้ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5 ปีมากที่สุด ตามด้วยกลุ่ม 5-9 ปี และ 10-14 ปี รวมถึงเด็กชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กหญิง และพบผู้ป่วยในภาคเหนือมากที่สุด รองมาคือ ภาคใต้ ภาคกลาง

โรคมือเท้าปาก คืออะไร

โรคมือเท้าปาก คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร คือในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส Enterovirus และ คอคซาคีไวรัส Coxsackievirus เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์เด็กเล็ก สถานที่เล่นของเด็กห่างสรรพสินค้า ที่อยู่กันอย่างแออัด และและมีโอกาสเกิดระบาดได้ประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enterovirus ซึ่งมักเป็น Coxsackievirus A16 และ ยังอาจเกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่นในกลุ่มนี้ได้เช่น Enterovirus 71

โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายตัวที่ทำให้เกิดได้ โดยเชื้อที่รุนแรงที่สุดคือ เอนเตอโรไวรัส 71 หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเชื้อ อีวี 71

โรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่
โรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่ มีอาการอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีรักษาที่ถูกต้อง

โรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่

มีความเป็นไปได้ที่โรคมือ เท้า ปาก จะเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ซึ่งโอกาสเกิดได้น้อยเพียง 1-2% แม้ร่างกายของผู้ใหญ่จะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ค่อนข้างสูงกว่าเด็ก ๆ แต่หากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสโรคมือ เท้า ปากซ้ำ ๆ คืออาจได้รับเชื้อจากใครสักคนมาครั้งหนึ่งแล้ว จะได้รับเชื้อไวรัสตัวเดิมซ้ำอีกครั้งในระยะเวลาที่เชื้อตัวแรกไม่ถูกทำลายก็อาจป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปากได้เช่นกัน

โรคมือเท้าปากในเด็ก
โรคมือเท้าปากในเด็ก มีอาการอย่างไร กับสาเหตุและวิธีรักษา

โรคมือเท้าปากในเด็ก

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดขึ้นในวัยเด็กมากกว่าวัยอื่น ๆ โดยเฉพาะเด็กวัยอายุต่ำกว่า 5 ปี และติดต่อกันได้ง่ายจากสารคัดหลั่งเช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม จากเด็กที่ป่วยเป็นโรคไปสู่เด็กอีกคนหนึ่งได้ เนื่องจากเด็กเล็กเมื่ออยู่รวมกันอย่างเช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก หรือ ทางเครื่องเล่นตามห้างสรรพสินค้า ที่เด็กอยู่กันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เด็กเล็กติดกับโรคมือ เท้า ปากได้ง่าย

โดยเมื่อติดไวรัสชนิดนี้แล้วจะแสดงอาการจากการเริ่มมีไข้ เบื่ออาหาร ซึม และมีเริ่มมีตุ่มใสตามบริเวณในปาก กระพุ้งแก้ม มือ ฝ่าเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 3-4 วัน และแผลในปากหายได้เองภายใน 6-7 วัน ส่วนตุ่มที่มือและเท้าจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน (หากไม่มีอาการอื่นใดแทรกซ้อน)

โรคมือเท้าปากมีกี่ระดับ

โรคมือเท้าปาก สามารถแบ่งเป็น 2 ระดับด้วยกัน คือ ระดับธรรมดา และระดับรุนแรง ดังนี้

โรคมือเท้าปากระดับธรรมดา

โรคมือเท้าปากระดับธรรมดา เป็นระดับที่เมื่อเป็นโรคมือ เท้า ปาก แล้วสามารถหายได้เองภายใน 7 วัน หากไม่มีอาการแทรกซ้อน

โรคมือเท้าปากระดับรุนแรง

โรคมือเท้าปากระดับรุนแรง เป็นระดับที่รุนแรงกว่า คือติดเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเชื้อ อีวี71 อาจเกิดสมองอักเสบรุนแรงได้ โดยจะมีสัญญาณเตือนอันตรายได้แก่ อ่อนแรง มือสั่น หอบ อาเจียน ซึม ชักกระตุก ซึ่งหากพบอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันที

อาการของโรคมือเท้าปาก

อาการโรคมือเท้าปาก ของแต่ละคนจะมีลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อมากน้อยไม่เหมือนกัน ซึ่งลักษณะโดยรวมจะมีอาการดังต่อไปนี้

รอยของโรคมือเท้าปากบริเวณปาก

อาการเช่นนี้จะพบในผู้ป่วยทุกราย โดยพบทุกบริเวณในปาก แต่ที่พบได้บ่อยคือ เพดานปาก ลิ้น เยื่อบุกระพุงแก้ม โดยรอยโรคระยะเริ่มต้น จะมีลักษณะเป็นรอยสีแดง นูนเล็กน้อยขนาด 2-8 มิลิเมตร และจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำสีเทาขนาดเล็กขอบแดง และช่วงที่รอยเป็นโรคเป็นตุ่มน้ำจะสั้น จึงมักตรวจไม่พบรอยโรคในระยะนี้ แต่จะพบเป็นแผลตื้น ๆ สีเหลืองแทน

รอยของโรคมือเท้าปากบริเวณผิวหนัง

จะมีรอยโรคที่ปาก หรือพบที่มือบ่อยกว่าเท้า ลักษณะเป็นรอยแดง ๆ อาจนูนเล็กน้อยขนาด 23-10 มิลลิเมตร บางรอยมีลักษณะเป็นตุ้มน้ำใสขอบแดง กระจายขนานไปกับแนวของผิวหนัง หลังจากนั้นจะค่อย ๆ เริ่มตกสะเก็ด และค่อย ๆ หายไปภายใน 7-10 วัน และอาจจะพบได้อีกบริเวณ ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้

โดยปกติโรคมือ เท้า ปากไม่ได้น่ากลัว และหายเองโดยไม่มีปัญหา แต่อาจมีโอกาสบ้างที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือปัญหาแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะถ้าติดเชื้ออีวี 71 เพราะเป็นเชื้อที่รุนแรงกว่า

โดยปัญหาแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดคือ ก้านสมองอักเสบ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว อาจถึงแก่ชีวิตได้ และบางครั้งเชื้ออีวี 71 อาจทำให้เกิดสมองอักเสบรุนแรงได้ เด็กที่จะมีปัญหาแทรกซ้อนรุนแรง จะมีสัญญาณเตือนอันตรายได้แก่ อ่อนแรง มือสั่น หอบ อาเจียน ซึม ชักกระตุก ซึ่งหากพบอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันที

การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
เพื่อหาสาเหตุของเด็กที่เป็นโรคมือ เท้า ปาก มักจะวินิจฉัยได้จากลักษณะอาการของโรคที่แสดงออกคือ

  • ผู้ป่วยจะมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส
  • พบจุด นูนแดง แผลที่เยื่อบุปาก ลิ้น เหงือก และมีตุ่มน้ำใส
  • พบจุด แดงราบ ตุ่มนูน หรือตุ่มน้ำที่มือ ฝ่าเท้า แก้มก้น
  • ในรายผู้ป่วยอาการแทรกซ้อนรุนแรง แพทย์จะทำการตรวจเชื้อไวรัสจากสิ่งคัดหลั่งที่บริเวณคอหอย อุจจาระ น้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบนผิวหนัง เพื่อยืนยันว่าเป็นการติดเชื้อในกลุ่มนี้ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

โรคมือเท้าปากระยะเริ่มต้น

อาการเริ่มแรก คือ มีไข้แต่ไม่มีอาการอะไรในช่วงแรก เพราะจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน แต่มักจะเริ่มจากการมีไข้ 38-39 องศาเซลเซียล และมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวอยู่ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บปาก และพบว่ามีแผลในบริเวณปาก มีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือพบที่ต้นขา หรือก้นได้ และจะพบผื่นแดงทั่วตัวได้เช่นกัน

  • เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
  • ต่อมา ผู้ป่วยจะมีน้ำมูก เจ็บคอ เจ็บปาก ไม่อยากรับประทานอาหาร สำหรับเด็กเล็กจะมีน้ำลายยืดมากกว่าปกติ ร้องไห้งอแงบ่อย
  • มีอาการไข้อยู่ประมาณ 3-4 วันก็จะทุเลาลงไป แผลในปากหายได้เองภายใน 7 วัน ส่วนตุ่มที่มือและเท้าจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน ไม่ทำให้เกิดแผลเป็น (หากไม่มีอาการอื่นใดแทรกซ้อน)
  • อาการที่รุนแรง แต่พบได้น้อยคือ จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาเจียนรุนแรง ไม่ค่อยรู้สึกตัว มีอาการชัก แขนขาอ่อนแรง หายใจเหนื่อยหอบ

โรคมือเท้าปากระยะฟักตัว

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการป่วย หรือ ระยะฟักตัวภายใน 3-5 วันหลังได้รับเชื้อ

โรคมือเท้าปากระยะแพร่เชื้อ

การแพร่เชื้อของโรคมือ เท้า ปาก สามารถแพร่เชื้อได้จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใสรวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อ และยังรวมถึงการติดต่อโดยทางอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อน อาหาร น้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ มือของผู้เลี้ยงดู

และจากการติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง จากการสัมผัสโดยตรงทางน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ละอองจากการไอจาม น้ำเหลืองจากแผลพุพอง หรืออุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อ โดยเชื้อไวรัสของโรคมือ เท้า ปาก จะแพร่ติดต่อในช่วงที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะแพร่เชื้อ และ อาจจะแพร่ได้นานกว่านั้น

โรคมือเท้าปากคันไหม

ตามที่ทราบกันดีว่า อาการของโรคมือ เท้า ปาก จะมีตุ่ม หรือ ผื่นนูนสีแดงเล็ก ๆ ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ้าเท้า ซึ่งตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส บริเวณรอบ ๆ อักเสบและแดง ซึ่งรอยตุ่มผื่นนูนสีแดงนี้ จะมีลักษณะคล้ายเป็นอีสุกอีใส แต่มีขนาดเล็กกว่า บางครั้งทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคืองได้ในบางราย และบางรายก็อาจจะไม่มีอาการคันแต่อย่างใด โดยแผลนูนสีแดงนี้จะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน

โรคมือเท้าปากไม่มีไข้ กับ มีไข้ อาการต่างกันอย่างไร

สำหรับโรคมือ เท้า ปาก ที่ไม่มีไข้ หรือ มีไข้ต่ำ ๆ มักจะมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากกินอาหาร อาจบ่นว่าปวดศีรษะ หงุดหงิดบ้าง และสำหรับผู้ที่มีไข้ หรือ มีไข้สูง มักจะมีอาการไม่ยอมกินอาหาร น้ำดื่ม อาเจียน หอบ ชัก แขนขาอ่อนแรง ถึงขั้นอาจเกิดภาวะสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสลบ น้ำท่วมปอด

โรคมือเท้าปากอันตรายไหม

โรคมือ เท้า ปากไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัว เพราะสามารถรักษาให้หายได้ และโดยธรรมชาติอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะหายได้เองภายในหนึ่งสัปดาห์ หากไม่ติดเชื้อที่รุนแรงอย่างเช่น Enterovirus 71 ซึ่งกรณีที่ติดเชื้อที่รุนแรงแล้ว อาจทำให้เชื้อขึ้นสมองอักเสบในเด็กได้ จึงต้องรีบพาเด็กไปรักษาอย่างเร่งด่วน

โรคมือเท้าปากเกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มที่อยู่ในลำไส้ของคน Enteroviruses ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ก่อโรคมือ เท้า ปาก ได้แก่ Coxsackievirus Group A, Type 16 และ Group A Type 4, 5, 9, 10 Group B Type 2 และ 5 และ Enterovirus 71

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์คํอกซากี้ เอ16 Coxsackie A16 Virus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส Enterovirus และบางส่วนเกิดจากเอนเทอโรไวรัส 71 Enterovirus 71 โดยเชื้อไวรัสสามารถติดต่อกันกันได้ผ่านการไอ หรือ จาม การสัมผัสของเหลว ของเสียที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงสายพันธุ์อื่น ๆ ที่สามารถเป็นต้นเหตุของโรคมือ เท้า ปาก ได้ อีกคือ กลุ่มเอนเทอโรไวรัส เช่น กลุ่มโปลิโอไวรัส Polioviruses หรือ กลุ่มค็อกซากี้ไวรัส Coxsackieviruses กลุ่มเอ็กโคไวรัส Echoviruses และกลุ่มเอนเทอโรไวรัสชนิดอื่น ๆ Enteroviruses

โรคมือเท้าปากติดต่อกันอย่างไร

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันโดยเชื้อไวรัสที่แพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ และติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วย รวมถึงติดต่อกันโดยทางอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู อาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ

โดยโรคมือ เท้า ปาก นี้มักจะระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก และโรคมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์

วิธีรักษาโรคมือเท้าปาก

โรคมือ เท้า ปาก ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ โดยแพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาทาแก้ปวดสำหรับแผลที่ลิ้น หรือ กระพุ้งแก้ม การรักษาโดยทั่วไป ผู้ปกครองควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำ หรือ น้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมาก ๆ

ซึ่งปกติแล้ว โรคมือ เท้า ปาก ไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัส Enteroviruses 71 อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือน้ำดื่ม อาเจียน แขนขาอ่อนแรง ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที

เป็นโรคมือเท้าปากกี่วันหาย

เด็กที่เป็นโรคมือ เท้า ปาก แล้วจะมีอาการไข้ หลังติดเชื้อ 3-7 วัน อาจมีอาการก่อนเพลีย เบื่ออาหาร หลังจากนั้น 1-2 วัน เด็กจะมีน้ำมูกร่วมกับอาการเจ็บปาก เจ็บคอ อาการไข้มักเป็นอยู่ 3-4 งัน อาการก็จะดีขึ้น ส่วนแผลในปากหายได้เองภายใน 7 วัน ส่วนตุ่มน้ำที่มือ และเท้า หายได้เองภายใน 10 วัน

อ่านเพิ่มเติม : โรคซึมเศร้า คืออะไร อาการและสาเหตุ พร้อมวิธีรักษาที่ถูกต้อง

จะเห็นได้ว่า โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในเรื่องของความสะอาดของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ปกครองต้องหมั่นล้างมือให้กับเด็ก ๆ และพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่มีเด็กเล็กเล่นซนกันเป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องเล่นตามห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น เพราะสถานที่เหล่านี้เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ดี เพราะถ้าหากติดเชื้อไวรัสโรคมือ เท้า ปาก อาจทำให้ต้องได้รับการรักษาพยาบาลที่เป็นเงินจำนวนมากน้อยแตกต่างกันไป ทางเลือกที่ดีสำหรับการรองรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ให้เสมือนมีตู้เอทีเอ็มอยู่ข้าง ๆ ก็เพียงแต่ทำประกันสุขภาพกับทางโบรกเกอร์ อย่างอีซี่อินชัวร์ โบรกเกอร์ประกันภัย

เพราะอีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ เป็นโบรกเกอร์ชั้นนำด้านการประกันภัย ประกันวินาศภัย ประกันสุขภาพ ที่มีรายการและเงื่อนไขประกันภัยที่หลากหลาย ครบวงจร ตอบโจทย์ให้กับผู้เอาประกันในเรื่องของความคุ้มครองที่คุ้มค่า ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการรักษา เพียงทำประกันสุขภาพกับทางอีซี่โบรกเกอร์ เราพร้อมยินดีรับใช้และดูแลท่านเสมือนเป็นครอบครัวในด้านการบริการประกันภัยเป็นอย่างดี

ขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *