กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้ผู้ที่ขับขี่จักรยานยนต์ทุกคนต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาหรือหมดอายุ จะต้องทำการต่อ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ เพื่อให้ใบอนุญาตขับขี่ยังคงมีผลใช้ได้ต่อไป บทความนี้ เราจะมาเตรียมตัวในการสอบและการต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์กัน โดยข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้ถ้าอ่านแล้วสามารถสอบหรือต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ครบจบทุกกระบวนการ
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ คือ ใบอนุญาตสำคัญที่รับรองได้ว่าคุณเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการขับขี่ และ ได้ผ่านการตรวจสอบทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติครบทุกชั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด และ ได้รับอนุญาตให้สามารถขับขี่รถตามกฎหมายประเภทต่าง ๆ ได้ อาทิ ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถรับจ้าง เป็นต้นให้คุณสามารถขับรถยนต์ได้ หากไม่มีใบอนุญาตขับขี่แล้วกระทำการขับขี่จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมาย มีโทษทางแพ่ง รวมถึงจะเสียสิทธิ์จากการได้รับการคุ้มครองจากประกันภัยต่าง ๆ อีกด้วย
สอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์
สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถยื่นคำร้องขอได้ที่สำนักทะเบียนและภาษีรถ กรมการขนส่งทางบก
- สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถยื่นคำร้องขอได้ที่สำนักทะเบียนและภาษีรถ กรมการขนส่งทางบก
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 บางขุนเทียน
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 ตลิ่งชัน
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 พระโขนง
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4 มีนบุรี
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 จตุจักร
และสำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ให้ยื่นคำร้องขอที่สำนักงานขนส่งจังหวัด สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา กรมการขนส่งทางบก หรือ สำนักงานขนส่งเขตใดเขตหนึ่ง
ขั้นตอนการสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์
1. จองคิวอบรมใบขับขี่รถจักรยานยนต์
ขั้นตอนแรกต้องจองสถานที่อบรมใบขับขี่รถจักรยานยนต์ล่วงหน้า โดยกรมขนส่งทางบก เปิดให้ประชาชนสามารถจองคิวเพื่อเข้ารับการอบรมล่วงหน้าได้ ซึ่งผู้สนใจอบรมสามารถจองคิวอบรมใบขับขี่ได้ตามช่องทาง ดังนี้
- จองคิวด้วยตัวเองที่กรมขนส่งทางบก
- จองคิวอบรมทางโทรศัพท์ที่กรมขนส่งทางบก หมายเลข 02-271-8888 หรือ 1584 และต้องมาลงทะเบียนที่กรมขนส่งก่อน เวลา 08.00 น.
- จองคิวอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ ebooking.dlt.go.th/ebooking
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ปิดรับคำขอใบขับขี่ไม่เกิน 120 คน/วัน โทร 0-2415-7667 ต่อ 204-205
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 ปิดรับคำขอใบขับขี่ไม่เกิน 85 คน/วัน โทร 0-2433-4773
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 ปิดรับคำขอใบขับขี่ไม่เกิน 100 คน/วัน โทร 0-2333-0035
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 ปิดรับคำขอใบขับขี่ไม่เกิน 100 คน/วัน โทร 0-2543-5512
- สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด ในส่วนภูมิภาพสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด จะเปิดรับคำขอตามความเหมาะสม
2. เตรียมเอกสารที่ใช้สอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์
หลักฐานประกอบคำขอสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ มีดังนี้
- ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ภาพถ่ายหนังสือเดินทาง ภาพถ่ายหนังสือสำคัญประจำตัว
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกหรือแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนน 2 รูป
- ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
3. ทดสอบสมรรถภาพทางกาย
- ทดสอบการมองเห็นสี เป็นสิ่งจำเป็นในการขับรถ โดยยืนห่างจากป้ายสี 2-3 เมตร แล้วจะมีเจ้าหน้าที่ชี้ป้ายสี เรียกชื่อสีให้ถูกต้อง หากผิดเกิน 2 ครั้งถือว่าไม่ผ่าน
- ทดสอบสายตาทางลึก โดยการกดปุ่มเลื่อนเสาสองต้น ให้อยู่ตำแหน่งตรงกัน
- ทดสอบสายตาทางกว้าง เป็นการทดสอบการมองเห็นกระจกข้าง โดยให้จ้องสีที่จุดตรงกลางแล้วจะมีสีต่าง ๆ ขึ้นมาให้เห็นทางหางตาทั้งสองข้าง และให้ตอบให้ถูกต้องว่าสีที่หางตานั้นคือสีอะไร
- ทดสอบปฏิกิริยาเท้า โดยการเหยียบคันเร่งและเหยียบเบรกหลังเห็นสัญญาณไฟแดง ต้องผ่านเกณฑ์ 2 ใน 3 ครั้ง
4. อบรมใบขับขี่รถจักรยานยนต์
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถและการบำรุงรักษารถ 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทในการขับรถ 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับการขับรถลากจูง การขับรถลากจูงอย่างปลอดภัย 30 นาที
- ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย
- ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตราย และความรู้เกี่ยวกับหลักการบรรทุกวัตถุอันตราย 6 ชั่วโมง
- การตรวจความพร้อมของรถก่อนและหลังการใช้งาน 30 นาที
- หัวใจของการบริการทางการขนส่ง 30 นาที
- หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ 30 นาที
5. ข้อเขียนใบขับขี่รถจักรยานยนต์
ผู้สอบต้องสอบข้อเขียนทั้งหมด 50 ข้อ โดยข้อสอบส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่อบรม ซึ่งผู้สอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องทำให้ได้มากกว่า 45 คะแนนขึ้นไป หรือ ต้องสอบผ่านคิดเป็น 90% จึงจะสอบผ่าน ซึ่งเมื่อทำข้อสอบเสร็จเราจะรู้ผลสอบทันที หากสอบไม่ผ่านจะต้องมาสอบใหม่ภายใน 90 วันเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : ข้อสอบใบขับขี่ สอบใบขับขี่ แบบทดสอบ แนวข้อสอบ พร้อมเฉลย ฉบับ 2563
6. สอบขับรถจักรยานยนต์
การสอบปฎิบัติขับรถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่จะต้องทดสอบทั้งหมด 5 ท่าด้วยกันดังนี้
- การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ให้ขับขี่รถจักรยานยนต์พร้อมปฏิบัติตามป้ายบอกทางจราจรให้ถูกต้อง
- การชับรถทรงตัวบนทางแคบ โดยให้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในทางแคบหรือสะพานไม้แคบ ๆ ซึ่งกว้างประมาณ 30 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3 เมตร ให้ขับขี่ทรงตัวไปจนสุดทาง
- การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูป Z ให้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในรูปตัว Z โดยช่องทางเดินรถกว้างประมาณ 2 เมตร ให้ขับรถโดยไม่ชนสิ่งกีดขวางใด ๆ
- การขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัว S ให้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในรูปตัว S โดยช่องทางเดินรถกว้างประมาณ 2 เมตร โดยให้ขับรถไม่ชนสิ่งกีดขวางใด ๆ
- การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ให้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยความเร็ว 20-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และขับซิกแซกไม่ให้ชนสิ่งกีดขวางใด ๆ
เพื่อความเข้าใจโดยง่าย สามารถรับชมภาพ Infographic คลิปติวก่อนสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์กันเลย
7. รอรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์
เมื่อสอบทุกขั้นตอนผ่านหมดแล้ว ก็สามารถชำระค่าธรรมเนียม 105 บาท เพื่อถ่ายรูปพิมพ์ใบอนุญาต และรอรับใบขับขี่ได้เลยซึ่งใบขับขี่ที่เราได้จะเป็นใบขับขี่แบบชั่วคราวมีระยะเวลา 2 ปี เมื่อครบ 2 ปี ก็ต่ออายุทำเรื่องขอต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ใหม่ต่อไป
ต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์
การต่ออายุใบขับขี่รถจักรยานยนต์ จะมีการต่อใบขับขี่เป็น 2 แบบ คือ ต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ 2 ปีเป็น 5ปี และต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ 5 ปีเป็น 5 ปี
ต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ล่วงหน้า
การต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ล่วงหน้า ได้กี่วัน กี่เดือน มาดูข้อมูลดังนี้
- ต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ 2 ปี เป็น 5 ปี สามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 60 วัน
- ต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ 5 ปี เป็น 5 ปี สามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน
ต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์ใช้อะไรบ้าง
- บัตรประชาชนตัวจริง
- ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน
- ใบชับขี่ใบเดิมที่หมดอายุ
ขั้นตอนการต่ออายุใบขับขี่รถจักรยานยนต์
- ตรวจสอบเอกสาร เตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
- ออกใบคำร้อง รอออกใบคำร้อง หลังจากนั้นก็รอคิวเพื่อเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย
- ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทดสอบการมองเห็นสี ทดสอบสายตาทางกว้าง ทดสอบสายตาทางลึก และทดสอบปฏิกิริยาเท้าด้วยการเหยียบ
- เข้ารับการอบรม ถ้าต่ออายุจาก 2 ปี เป็น 5 ปี จะไม่มีการอบรมภาคทฤษฎี แต่ถ้าต่ออายุจาก 5 ปี เป็น 5 ปี ต้องอบรมภาคทฤษฎี 1 ชั่วโมง
- รอรับใบอนุญาตขับขี่ใบใหม่ ถ้าผ่านทุกขั้นตอน ก็รอเจ้าหน้าที่เรียกไปถ่ายรูป แล้วชำระค่าธรรมเนียมการออกใบขับขี่รถจักรยานยนต์ แล้วรอรับได้ทันที
ต่อใบขับขี่รถจักรยานยนต์กี่บาท
ค่าธรรมเนียมใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ราคาเท่าไหร่
- ใบขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ 2 ปี ชำระ 100 บาท และค่าคำขอ 5 บาท รวมทั้งสิ้น 105 บาท
- ใบขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ 5 ปี ชำระ 250 บาท และค่าคำขอ 5 บาท รวมทั้งสิ้น 255 บาท
กฎระเบียบที่ต้องทราบก่อนคิดจะทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์
- ในวันที่นัดอบรม โปรดแต่งกายสุภาพ ห้ามใส่กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ
- มายื่นเอกสารตั้งแต่เวลา 07.45-08.30 น. หากไม่ติดต่อในเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์และต้องทำการจองคิวใหม่
- กรณีทุพพลภาพ ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนจองคิวอบรม
- ในกรณีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ยกเลิกการจองของผู้รับบริการได้
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์หมดอายุ ต้องต่อภายในกี่วัน
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์หมดอายุไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องสอบข้อเขียน และ ไม่ต้องสอบปฏิบัติ
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ต้องสอบข้อเขียน
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์หมดอายุเกิน 3 ปี ต้องสอบทั้งข้อเขียนและสอบปฏิบัติ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ใบขับขี่หมดอายุ ต้องต่ออายุภายในกี่วัน ปรับเท่าไหร่ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
การทำ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องปฏิบัติให้ถูกต้องทางกฎหมาย หากคุณมีความจำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์เป็นประจำ เพราะความสำคัญของการมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ก็เพื่อทำหน้าที่ในการเป็นเอกสารเพื่อยืนยันว่าผู้นั้นสามารถขับรถได้บนถนนสาธารณะได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยกรมการขนส่งทางบกจะเป็นผู้ที่สามารถออกใบขับขี่ให้กับผู้ขับขี่ให้กับเราหลังจากผ่านการอบรมตามทุกขั้นตอนของกรมการขนส่งทางบก