ฝุ่น PM 2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก แต่ความร้ายแรงไม่เล็กเลยนั้น ปัจจุบัน กลายเป็นมลพิษทางอากาศหรือที่เรารู้จักกันในนามฝุ่นควัน PM 2.5 ที่นับวันเริ่มเป็น วาระแห่งชาติ ของบ้านเราไปแล้ว ที่เป็นวิกฤตด้านสาธารณสุขในประเทศไทย ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย และ ประชากรทุกกลุ่มต้องเสี่ยงชีวิตอยู่ในสังคมฝุ่นควันพิษนี้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก๊าซโอโซนบนพื้นผิวและฝุ่นละอองโดยเฉพาะ ฝุ่นควัน PM 2.5 ที่เป็นมลพิษภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อสุขภาพอนามัยของคนในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังถึง ฝุ่นควัน PM 2.5 เกิดจากไหน PM 2.5 มีกี่ไมครอน PM 2.5 อันตรายหรือไม่ วิธีเช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศคืออะไร สถานการณ์ปัจจุบันในบ้านเรา ผลกระทบ อาการ PM 2.5 ป้องกัน เมื่ออ่านจบแล้ว หายสงสัยทันที แต่ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า ฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กระจ่างชัดกันก่อน
ความหมายของคำว่า PM ย่อมาจากคำว่า Particulate Matter โดยมีความหมายว่าเป็นของผสม Mixture ของอนุภาคของแข็ง Solid Particle และหยดของเหลว Liquid Droplet ที่กระจัดกระจายอยู่ในอากาศรูปของ ฝุ่น ผงละออง เขม่า ควัน ทั้งที่มีความหนาแน่นมากจนเห็นเป็นกลุ่มสีเทา หรือ สีดำ ด้วยตาเปล่า หรืออาจต้องส่งด้วยกล้องจุลทรรศน์ ปกติแล้ว ฝุ่นควัน PM อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ PM 10 คือฝุ่นละอองที่มีขนาด 10 ไมครอน หรือเล็กกว่า และ PM 2.5 มีกี่ไมครอน คือฝุ่นละอองที่มีขนาด 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่า
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร
ฝุ่นควัน PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนคือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ กล่าวคือ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด ( 5 ไมครอน )
ทำให้ฝุ่นพิษเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ซึ่งฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น ไฮโดรคาร์บอน แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอีกจำนวนมาก
สำหรับฝุ่นขนาดใหญ่จะตกลงสู่พื้นตามแรงดึงดูดของโลก แต่ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน PM 10 และฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน PM 2.5 จะสามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานกว่า และ ปะปนกับมลพิษอื่น ๆ ในอากาศ
แหล่งที่มาของฝุ่น PM 2.5 เกิดจากไหน
โดยทั่วไปแล้ว แหล่งของฝุ่นควัน PM 2.5 มาจากไหนนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ มาจากการปล่อยออกสู่บรรยากาศโดยทางตรง กับ โดยทางอ้อม
- โดยทางตรง ฝุ่นควัน PM 2.5 มาจาก การคมนาคมขนส่ง การเผาในโรงผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ โรงงานอุตสาหกรรม จากการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาหญ้า เผาขยะ หรือ การจราจรติดขัดที่ปล่อยควันพิษออกสู่บนชั้นอากาศ
- โดยทางอ้อม ฝุ่นควัน PM 2.5 มาจาก ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ โดยมีสารประกอบจำพวก ออกไซด์ของซัลเฟอร์ และ ออกไซด์ของไนโตรเจนต่าง ๆ และเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น Secondary PM 2.5 ดังนั้นการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซต์และออกไซต์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ การผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล และการผลิตทางอุตสาหกรรม เกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศจะมีผลต่อการก่อตัวของ PM 2.5 ในขั้นทุติยภูมิอีกด้วย
ฝุ่นควัน ขนาด PM 2.5 คือภัยร้ายที่มองไม่เห็น กรมควบคุมมลพิษสามารถปกป้องชีวิตคนไทยได้ด้วยการลดปัญหามลพิษจากผู้ก่อมลพิษทิ้งจากการเผาในที่โล่ง โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหินเดิมที่เดินเครื่องอยู่ด้วยการกำหนดมาตรการการวัด ฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ปลายปล่อง ประกอบกับใช้ค่าเฉลี่ย ฝุ่นควัน PM 2.5 ในการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ PM 2.5 AQI เพื่อความแม่นยำในการระบุผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงแนวทางการป้องกัน
ค่าเฉลี่ยมาตรฐานสารมลพิษมีกี่ไมครอน
ลำดับ | สารมลพิษ | ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นในเวลา | ค่ามาตรฐาน |
1 | ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน | 24 ชั่วโมง 1 ปี |
ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.ม. ไม่เกิน 0.025 มก./ลบ.ม. |
2 | ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน | 24 ชั่วโมง 1 ปี |
ไม่เกิน 0.12 มก./ลบ.ม. ไม่เกิน 0.05 มก./ลบ.ม. |
3 | ก๊าซโอโซน O3 | 1 ชั่วโมง 8 ชั่วโมง |
ไม่เกิน 0.10 ppm. (0.057 มก./ลบ.ม.) ไม่เกิน 0.07 ppm. (0.14 มก./ลบ.ม.) |
4 | ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ CO | 1 ชั่วโมง 8 ชั่วโมง |
ไม่เกิน 30 ppm. (34.2 มก./ลบ.ม.) ไม่เกิน 9 ppm. (10.26 มก./ลบ.ม.) |
5 | ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซต์ NO2 | 1 ชั่วโมง 1 ปี |
ไม่เกิน 0.17 ppm. (0.32 มก./ลบ.ม.) ไม่เกิน 0.03 ppm. (0.057 มก./ลบ.ม. |
6 | ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ SO2 | 1 ปี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง |
ไม่เกิน 0.04 ppm. (0.10 มก./ลบ.ม.) ไม่เกิน 0.12 ppm. (0.30 มก./ลบ.ม.) ไม่เกิน 0.3 ppm. (780 มก./ลบ.ม.) |
วิธีเช็คค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ หรือเกณฑ์มาตรฐานที่รับได้ เรามีวิธีเช็คค่าฝุ่น PM 2.5 ด้วยตนเองด้วยวิธีง่าย ๆ 5 ช่องทาง เพียงคุณมีโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถเช็คได้ว่าพื้นที่ ๆ ตนเองอยู่นั้นมีค่าฝุ่นเท่าไหร่ สามารถเช็ค ฝุ่น PM 2.5 วันนี้ หรือในทุก ๆ วันได้ทันที สามารถเช็คได้แบบ Real Time
แอพวัดค่าฝุ่น PM 2.5
1. Air4Thai
จัดทำโดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ของกรมควบคุมมลพิษ เป็นการตรวจสอบคุณภาพอากาศในประเทศไทยโดยเฉพาะ เป็นการรายงานผลเป็นชั่วโมง จะมีความบ่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานีนั้น ๆ ได้ทำการอัพเดทบ่อยขนาดไหน และสามารถดูย้อนหลังเกี่ยวกับสภาพอากาศได้ถึง 7 วัน มีความน่าเชื่อถืออย่างมากเพราะเป็นแอพพลิเคชั่นของกรมควบคุมมลพิษ
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://air4thai.pcd.go.th/webV2/
2. AirVisual
เป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถตรวจสอบค่าฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ทั่วโลก เหมาะสำหรับคนชอบเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศ พร้อมยังแนะนำวีการป้องกันเมื่อต้องอยู่ในสภานะที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อีกด้วย สามารถรายงานผลล่วงหน้าได้ถึง 7 วันเลยทีเดียว
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.airvisual.com/
3. Air Matters
เป็นแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจมาก เพราะมีรายงานผลแบบ Real Time สามารถใช้งานได้ทั่วโลกมากกว่า 50 ประเทศ มีการดึงข้อมูลคุณภาพอากาสในสถานีที่ใกล้ที่สุดจากตำแหน่งของคุณ อีกทั้งยังมีระบบการแจ้งเตือนมีเราจะเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://air-matters.com/
4. Airveda
เหมาะสำหรับนักเดินทาง เพราะสามารถตรวจสอบค่าฝุ่นละอองในอากาศเพื่อดูว่าสภาพอากาศบริเวณนั้น ๆ มีอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ รายละเอียดในการแจ้งเตือนจะสามารถแจ้งเตือนได้ทั้ง PM2.5 PM10 CO2 รวมทั้งอุณหภูมิและความชื้นได้อีกด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.airveda.com/
5. Air Quality Real time AQI
สามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้มากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก พร้อมกันนี้สามารถตรวจเช็คค่ามลพิษในอากาศได้ว่ามีค่าเกินมาตรฐานและมีอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ โดยจะแสดงความอันตรายไปตามสีต่าง ๆ เช่น สีแดง ถือว่าเป็นพื้นที่อันตราย สีฟ้าและสีเขียวเป็นพื้นที่ไม่มีมลพิษ เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://aqicn.org/city/bangkok
ดัชนีคุณภาพอากาศ Air Quality Index : AQI
คือการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจให้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภพาอนามัยหรือไม่ ซึ่งดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่าใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ ได้แก่ทั้ง 6 ชนิดคือ
สารมลพิษที่ใช้วัดคุณภาพอากาศประกอบด้วยอะไรบ้าง
1.ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน PM 2.5 คือฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ กระบวนการอุสาหกรรม การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า ที่สามมารถเข้าไปถึงลมในปอดได้ ซึ่งมีผลทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอดต่าง ๆ หากในปริมาณที่มากหรือเป็นเวลานานจะถูกสะสมในเนื้อเยื่อปิด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อม ทำให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด ไอ จาม คัดจมูก แสบจมูก แสบตา ตาแดง หรือ เป็นต้อหิน ต้อลมได้
2.ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน PM 10 คือฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาในที่โล่ง กระบวนการอุตสาหกรรม การโม่ การบด การทำให้เป็นผลจากการก่อสร้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยจะสะสมในระบบทางเดินหายใจ
3.ก๊าซโอโซน O3 เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่นฉุน ละลายน้ำได้ เกิดขึ้นได้ทั้งในระดับบรรยากาศชั้นที่สูงจากผิวโลก และระดับชั้นบรรยากาศผิวโลกที่ใกล้พื้นดิน ก๊าซโอโซนที่เป็นสารมลพิษทางอากาศคือก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศผิวโลก มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยก่อให้เกิดการระคายเคืองตา ต่อระบบบทางงเดินหายใจ เหนื่อยเร็ว ปอดทำงานแย่ลง
4.ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ CO เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น รส เกิดจาการไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพิลงที่มีค่าคาร์บอนเป็นองค์ประกำอบ สามารถอยู่ในร่างกายได้โดยจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า เมื่อหายใจเข้าไปทำให้ก๊าซชนิดนี้ไปแย่งขับกับฮีโมโกลยบินในเลือดเกิดเป็น คาร์บอนซีฮีโมโกลบิน CoHb ทำให้การลำเลียงออกซิเจนของร่างกายลดน้อยลง
5.ก๊าซไนโครเจนไดออกไซด์ NO2 เป็นก๊าซที่มีสีและกลิ่น มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ อุตสาหกรรมบางชนิด มีผลต่อโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
6.ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO2 เป็นก๊าซที่ไม่มีสี มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง เกิดจากธรรมชาติการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วนประกอบ สามารถรวมตัวกับสารมลพิษแล้วก่อตัวเป็นอนุภาพฝุ่นขนาดเล็กได้ มีผลต่อสุขภาพทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ
การวัดค่า AQI คืออะไร
ดัชนีคุณภาพอากาศ AQI คือตัวเลขที่ใช้เพื่อสื่อสารว่าอากาศมีมลภาวะแค่ไหน ขนาดไหน เมื่อ AQI มีค่าสูงขึ้น เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพยิ่งสูงขึ้น
ความหมายของสี เราจะเปรียบเทียบเป็นคุณภาพอากาศ โดยเราใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้น และจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
0-25 | 26-50 | 51-100 | 101-200 | 201 ขึ้นไป |
สีฟ้า | สีเขียว | สีเหลือง | สีส้ม | สีแดง |
ดีมาก | ดี | ปานกลาง | เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ | มีผลกระทบต่อสุขภาพ |
ความอันตรายของฝุ่น PM 2.5
ฝุ่นควันพิษ PM 2.5 อันตราย สามารถผ่านการกรองของขนจมูกและเข้าสู่ชั้นในสุดของปอดได้ แม้ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 จะไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายแบบเฉียบพลัน แต่ต้องใช้เวลาสะสมนับสิบปีถึงจะแสดงผล ซึ่งความร้ายแรงของมันสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางพาสารอื่น ๆ เข้าสู่ปอด ด้วยการให้สารเหล่านั้นมาเคลือบบนผิวของมัน เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก เป็นต้น
โดยปกติแล้วฝุ่นควัน PM 2.5 จะเกิดขึ้นมากในช่วงที่เปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูหนาวสู่ฤดูร้อน ซึ่งในช่วงปลายฤดูหนาวของทุกปี บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาสเย็นจากจีนลงมาปกคลุมเป็นระลอก ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประเทศไทยจะมีอากาศเย็นถึงหนาว แต่ก็มีบางช่วงความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว มีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีการผกผันกลับของอุณหภูมิในระดับล่าง ส่งผลให้ระดับเพดานการลอยตัวและการกระจายตัวของฝุ่นละอองอยู่ในระดับต่ำ การไหลเวียนและถ่ายเทของอากาศไม่ดี จึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง หมอก ควัน ในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย
คุณภาพอากาศในพื้นที่ทั่วไปในขณะนี้นั้น ยังมีมลพิษที่เป็นปัญหาหลัก หรือ วาระแห่งชาติคือ ฝุ่นละออง PM 2.5 ฝุ่นละออง PM 10 และ ก๊าซโอโซน ที่มีแนวโน้มเกินค่ามาตรฐานมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศใน 34 จังหวัก มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ จำนวนวันในรอบปีที่คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานมากกว่าร้อยละ 20 จำนวน 8 จังหวัด
และสถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤต 4 พื้นที่ กรุงเทพและปริมณฑล, พื้นที่นำไปสู่การยกระดับการ แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ได้จัดทำแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยในปี 2562-2564 เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะประกอบด้วยการดำเนินงานในระยะเร่งด่วน และระยะยาว รวมถึงการติดตามตรวจสอบและแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นควัน PM 2.5 โดย กทม.จะติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในทุกเขตของพื้นที่กรุงเทพต่อไป
สำหรับสถานการณ์คุณภาพอากาศ ค่าฝุ่นควัน PM 2.5 วันนี้ พื้นที่ทั่วประเทศไทย ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก สารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบได้แก่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ตรวจพบค่าระหว่าง 6-72 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จัดว่าอยู่เกณฑ์ดีปานกลาง
แผนแก้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 หรือมาตราการจากภาครัฐบาล
ทางหน่วยงานรัฐบาลได้มีการหารือกันเพื่อออกมาตรการบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองระยะสั้น ได้แก่ตรวจจับควันดำอย่างเข้มงวด ประกาศสั่งห้ามรถดีเซลวิ่ง หรือ สั่งห้ามประชาชนเผาขยะ แต่มาตราการเหล่านี้ล้วนเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นคณะกรรมการจึงรวบรวมข้อเสนอแนะมาตราการระยะยาว ระดับนโยบาย จากหลายภาคส่วนที่จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนคือ
- เปลี่ยนน้ำมันรถยนต์ คือการเปลี่ยนจากมาตรฐานยูโร 4 เป็นยูโร 5 และ ยูโร 6 ในที่สุด
- เปลี่ยนรถขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้า คือเปลี่ยนรถขนส่งมวลชนทุกคันทั้งของภาครัฐและเอกชนให้เป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า
- จัดทำผังเมืองบูรณาการ นำประเด็นการลดมลพิษทางอากาศเข้าสู่กระบวนการจัดวางผังเมืองใหม่
- จัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม คือการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อมตามหลักการ ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ได้แก่ ค่าภาษีมลพิษ ใบอนุญาตปล่อยมลพิษ
- ส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ คือการจัดให้มีระบบ Non-Motorized Transportation อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมใช้รถจักรยาน แทน ใช้เครื่องยนต์
มาตรการนี้เหมาะสำหรับการจัดการพื้นที่ของเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ และถึงแม้มาตรการเหล่านี้ยังไม่สามารถใช้ได้เต็มที่ แต่หากทำจริงจะสามารถลดปัญหาฝุ่นในรระยะยาวได้ และจะต้องมีการควบคุมปัญหาฝุ่นอย่างต่อเนื่อง
ฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
- อันตรายต่อปอด การหายใจเอาฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าไป ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอด เพราะฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้สามารถเข้าไปจนถึงถุงลมในปอดได้ ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น หายใจสั้นถึงขั้นส่งผลต่อโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดแข็งจากภาวะฝุ่นจับปอด
- ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก ตคัดจมูก แสบจมูก เจ็บคอ ไอมีเสมหะ ส่งผลเป็นไซนัสอักเสบได้ หรือส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างเช่น อึดอัดแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
- อันตรายต่อดวงตา อาจทำให้แสบตา ตาแดง ระเคืองตา ตาอักเสบ รุนแรงกว่านั้น เช่น ต้อลม ต้อเนื้อ ภูมิแพ้ขึ้นตา
- อันตรายต่อผิวหนัง ส่งผลให้เกิดอาการลมพิษ ระคายเคืองคันตามร่างกาย ผิวหนังอักเสบ
- ผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ เพราะฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางรกทำให้มีผลต่อน้ำหนักเด็กแรกเกิดน้อยผิดปกติ เสี่ยงต่อการแท้งบุตร หรือ คลอดก่อนกำหนด
ฝุ่น PM 2.5 มีอาการอย่างไรเมื่อสูดดมเข้าไปแล้ว
มีอาการไอ จาม หอบหืด เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบกำเริบ แสบจมูก คัดจมูก คันจมูก มีปริมาณน้ำมูกมากผิดปกติ อาการภูมิแพ้กำเริบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง เป็นต้น
โรคที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5
ฝุ่นละออง PM 2.5 เล็กกว่าเส้นผม เล็กขนาดที่ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ ส่งผลให้เล็ดลอดผ่านเข้าไปในโพรงจมูกได้อย่างง่ายดาย มีส่วนทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี
- โรคระบบทางเดินหายใจ ฝุ่นควัน PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กมาก และมีค่าความเข้มข้นสูงเกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สามารถเข้าถึงถุงลมปอด ทำให้ปอดอักเสบ ระคายเคือง และเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคภูมิแพ้ เมื่อสูดฝุ่นควัน PM 2.5 เข้าไป ทำให้เกิดอาการแพ้คัดจมูก หายใจลำบาก ไอ จาม แสบจมูกได้
- โรคหัวใจและหลอดเลือด การหายใจสูดฝุ่นควันเข้าไปทำให้เลือดข้นได้ และทำให้หัวใจทำงานหนัก
- โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคที่ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือมลพิษในอากาศ เช่นฝุ่นควัน PM 2.5 เมื่อฝุ่นละอองเข้าสู่เยื่อบุตาจนเกิดการอักเสบ ตาแดง แสบตา คันตา ได้
สำหรับกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่มีค่ามลพิษในอากาศสูงเกินมาตรฐาน โดยสามารถตรวจสอบได้จากแอพพลิเคชั่น หรือ เว็บไซต์ กรมควบคุมมลพิษได้ทุกวัน
วิธีป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5
- การปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในที่พักอาศัย ภายในบ้านหรืออาคารมีการระบายอากาศและทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
- ติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่นละอองภายในบ้าน เพื่อการป้องกันที่เหมาะสม เช่นการล้างแผ่นกรองตามความถี่ของการใช้อุปกรณ์
- ปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษ ช่วยกันคนละนิดปลูกต้นไม้ ๆ ที่ช่วยดูดซับฝุ่นละออง หรือ ก๊าซได้ดีเช่น
- ไม้ยืนต้นที่ช่วยดูดซับฝุ่นละอองได้แก่ กระถิน มะขาม บุนนาค ชาสีทอง มะม่วง มะกอกน้ำ
- ไม้ยืนต้นที่ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ได้แก่ ราชพฤกษ์ หูกวาง ขนุน มะเดือ ฝรั่ง แคฝรั่ง
- ไม้ประดับที่ช่วยดูดสารพิษทางอากาศได้ดี ได้แก่ หมากเหลือง พลูด่าง ไทรใบเล็ก หนวดปลาหมึก
สิ่งที่จะมาช่วยป้องกันจากฝุ่นควัน PM 2.5 ได้ดี
อย่างที่ทราบกันดีว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นฝุ่นที่อันตรายมาก เต็มไปด้วยโลหะหนักมากมายที่พร้อมเข้าสู่ร่างกายไปทำลายระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ เพราะฝุ่นมีขนาดเล็กมากจนขนาดขนภายในจมูกของเรายังไม่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่จะมาช่วยป้องกันจากฝุ่นควัน PM 2.5 เบื้องต้นได้ดีก็คือ หน้ากากอนามัย
หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 มีกี่ชนิด
- หน้ากากอนามัยชนิด N95 เป็นหน้ากากอนามัยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ เพราะเป็นหน้ากากที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับว่าสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด เพราะป้องกันได้ทั้งในการละอองเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการป้องกันมลพิษ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และ ไอระเหยของสารเคมีต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
- หน้ากากอนามัยแบบผ้าฝ้าย เป็นหน้ากากคล้ายแบบเยื่อกระดาษ เน้นการป้องกันการกระจายของน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอจามได้ดี แต่ไม่สามารถกรองเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้ สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไป
- หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หน้ากากใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นหน้ากากที่เหมาะสำหรับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอจาม เป็นการป้องกันผู้สวมใส่จากเชื้อโรคจำพวกเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราได้ แต่หากเป็นเชื้อไวรัสอนุภาคขนาดเล็กระดับไมครอนจะไม่สามารถป้องกันได้
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นกับภาวะฝุ่น PM 2.5
- สวมใส่หน้ากากอนามัยมาตรฐาน N95 หน้ากากประเภทนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันที่สูงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป โดยสามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กมากถึงขนาด 0.3 ไมครอน ได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นหน้ากากแบบมีวาล์วระบายอากาศ ช่วยให้หายใจและระบายความร้อนจากลมหายใจออกมาได้สะดวก
- พกเจลล้างมือติดตัวไว้ หรือ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกบนมือเราออกก่อน เป็นการช่วยทำความสะอาดได้ในระดับหนึ่ง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะการนอนหลับพักผ่อนเพียงพอช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อสู้กับโรคภัยได้ดี และเสริมด้วยการทานวิตามินซี และวิตามินอีร่วมด้วย
- เลี่ยงฝุ่นด้วยการงดทำกิจกรรมภายนอกอาคาร หรือ ออกกำลังกายกลางแจ้ง เพราะอากาศภายนอกจะมีฝุ่นควันมากมายลอยอยู่บนอากาศ เราไม่สามารถแยกแยะได้ หากสูดดมเข้าไปมาก ๆ ระหว่างออกกำลังกาย มีโอกาสที่จะเผลอสูดควันอากาศเป็นพิษเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว
วิธีเช็คค่าฝุ่นควัน PM 2.5 รายวันจากเว็บไซต์ และ แอพพลิเคชั่นไหนได้บ้าง
- เว็บไซต์เช็คค่าฝุ่นรายวัน : Air4Thai.pcd.go.th, AitVisual.com
- แอพพลิเคชั่นเช็คค่าฝุ่นรายวัน : Air4Thai, AirVisual, AirMatters, Airveda, Air Quality Real time AQI
อ่านเพิ่มเติม : ไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ แห่งเมืองอู่ฮั่น เกิดจากอะไร
สรุป
วาระแห่งชาติ ฝุ่น PM 2.5 เป็นวาระที่สำคัญยิ่งต่อคนไทยที่ยังคงต้องเผชิญ และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคฝ่าย ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ประชานชนทุกคน ช่วยกันไม่ทำให้เกิดฝุ่นควันพิษ เช่น ไม่เผาขยะ ไม่เผาหญ้า ปัญหาจากควันรถยนต์ หรือ โรงงานอุตสาหกรรมไม่ปล่อยควันพิษออกสู่ภายนอก โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหิน ระบบการขนส่งที่จราจรติดขัดทำให้ปล่อยควันพิษออกมา สิ่งเหล่านี้ถ้าทุกคนช่วยกันดูแลป้องกัน หลีกเลี่ยง ลด ละเลิก ทำได้ก็เพื่อชีวิตของทุกคน ลูกหลานจะได้อยู่ในสังคมที่มีอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด และอีกสิ่งที่เราจะทำได้คือ อยู่บนโลกแห่งความจริง ไม่ตระหนักกลัวจนไม่กล้าออกนอกบ้าน เพียงแต่เราดูแลตนเองง่าย ๆ ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย N 95 ทุกครั้งที่ออกนอกบ้านหรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง และ ตรวจเช็คค่าอากาศฝุ่นควันพิษก่อนทุกครั้งที่ออกเดินทาง ติดตามข่าวสารที่เป็นจริง เพียงเท่านี้เราจะอยู่กับฝุ่นควัน PM 2.5 ได้อย่างปลอดภัย
แหล่งอ้างอิงของข้อมูล
- Air4thai.pcd.go.th
- Greepeace.org
- pcd.go.th
- nsm.or.th