โดนใบสั่งจากกล้องตรวจจับความเร็ว
เมื่อไหร่ที่ โดนใบสั่งจากกล้องตรวจจับความเร็ว นั่นหมายถึง เราขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด หรือ ขับรถผิดช่องทางการเดินรถ หรือทำผิดกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เรามีหน้าที่ต้องไปชำระค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เสร็จเรียบร้อยไป ไม่ควรค้างชำระหรือหลีกหนีไม่ไปชำระเด็ดขาด เพราะจะมีผลต่อการต่อภาษีรถประจำปีของคุณที่จะมีปัญหาตามมา
เพื่อเป็นการทำความเข้าใจว่า ทำไมเราถึงโดนใบสั่งจากกล้องตรวจจับความเร็ว เรามาทราบถึงความหมายกล้องตรวจจับความเร็วกันก่อนว่าทำหน้าที่อะไร และ กฎหมายกำหนดความเร็วบนท้องถนนอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อจะได้ขับรถให้ถูกตามกฎหมายกำหนดไว้
กล้องตรวจจับความเร็ว คืออะไร
เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่ดักจับสัญญาณจากกล้องจับความเร็วที่อยู่ตามท้องถนน ใรมีทั้งแบบยึดติดถาวรและแบบเคลื่อนที่ โดยรองรับกล้องที่ใช้สัญญาณแบบ เรดาร์ อินฟราเรด และ เลเซอร์ วามารถรับได้ทุกคลื่อนความถี่ที่นิยมใช้ในไทย มีทั้ง K-BRAND, X-BANG, KU-BANG. TRIPOD, POLICE KA-BAND, LASER BEAM และ VG-2 สามารถตรวจจับสัญญาณได้รอบคัน 360 องศา
การใช้กล้องจับความเร็วแบบอัตโนมัติ ถือเป็นการบังคับใช้กฎหมายในรูปแบบหนึ่งที่ได้ผลดีช่วยในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็วของผู้ใช้รถใช้ถนน ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความเร็วได้ดี โดยพบว่าการใช้กล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุได้สูงสุดถึง 33% และช่วยทำให้ผู้ขับขี่มีพฤติกรรมการขับขี่ด้วยความเร็วลดลงได้ถึง 31%
กล้องตรวจจับความเร็วมีกี่ประเภท
ระบบกล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- แบบอยู่กับที่ กล้องตรวจจับความเร็วจะถูกติดตั้งไว้กับที่ ตามเส้นทางหรือบริเวณต่าง ๆ ที่ต้องการตรวจจับความเร็ว เป็นการตรวจจับความเร็วเฉพาะจุด โดยเชื่อมต่อเข้ากับระบบประมวลผล พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลรูปถ่ายของรถยนต์ บันทึกหมายเลขทะเบียนรถ และความเร็วที่ตรวจพบ ส่งไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตรวจสอบและออกใบสั่งต่อไป
- แบบเคลื่อนที่ ตัวกล้องสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งหรือเปลี่ยนจุดตรวจจับได้ แต่การทำงานจะเหมือนกันคือ ตรวจจับความเร็วเฉพาะจุด กรณีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสุ่มตรวจจับความเร็วตามเส้นทางหรือบริเวณต่าง ๆ ที่ต้องการได้
ความหมายของความเร็วที่กำหนดบนท้องถนน
เป็นวิธีการที่ใช้เพื่อควบคุมและลดความเร็วของยานพาหนะบนท้องถนนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยผู้ขับขี่ต้องทราบถึงความเร็วสูงสุดที่ขับขี่ได้อย่างปลอดภัยและไม่เกินที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับยานพาหนะแต่ละประเภท
ความหมายของความเร็วจำกัดสูงสุดตามกฎหมาย
คือความเร็วสูงสุดสำหรับถนนแต่ละประเภทที่กำหนดโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยความเร็วสูงสุดตามกฎหมายอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 และ พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ความเร็วจำกัดสูงสุดตามกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน
- ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535
- ทางหลวงพิเศษ กำหนดไว้ที่ 120/100/80 กม./ชม.
- ทางหลวงชนบท กำหนดไว้ที่ 90/80/60 กม./ชม.
- ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522
- ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงชนบท กำหนดไว้ที่ 80/60/45 กม./ชม. สำหรับเขตเทศบาล กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา
หมายเหตุ : ความเร็วจำกัดบนทางหลวงพิเศษไม่รวมถึงรถ จักรยานยนต์และรถสามล้อ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาติให้ขับขี่บนถนนประเภทนี้
- ความเร็วจำกัดสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์
- ความเร็วจำกัดสำหรับรถบรรทุกหนักและรถประจำทาง
- ความเร็วจำกัดสำหรับรถพ่วงและรถสามล้อ
เมื่อได้รับใบสั่งจากกล้องตรวจจับความเร็วแล้ว ต้องทำอย่างไร
ตามกฎหมายเมื่อได้รับใบสั่งจากกล้องตรวจจับความเร็ว แสดงว่าเราทำความผิดในเรื่องของการขับรถเร็วเกินกำหนด หรือ ขับผิดช่องทาง ขับแซงในที่ห้ามแซง เรามีหน้าที่ต้องไปชำระค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น จ่ายทันที ณ จุดตรวจหรือด่านตรวจที่ออกใบสั่ง, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ หรือ สถานีตำรวจท้องที่
อย่างไรก็ตาม หากไม่ไปจ่ายค่าปรับตามใบสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนด ถึงจะต่อภาษีได้ตามปกติ แต่จะมีการแจ้งว่ามีใบสั่งค้างชำระ ซึ่งถ้ายังไม่พร้อมหรือไม่ไปจ่ายตามใบสั่ง กรมการขนส่งขนส่งทางบกจะไม่ออกป้ายวงกลมให้ โดยจะออกหลักฐานชั่วคราว 30 วัน แทนการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีแทน หลังจากที่ชำระค่าปรับแล้วจึงจะได้รับป้ายภาษีติดหน้ารถได้ตามปกติ
เมื่อโดนใบสั่งจากกล้องตรวจจับความเร็วแล้วก็ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป เพียงแค่เราไปชำระค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เรียบร้อย แล้วเรียนรู้ถึงข้อผิดที่เราโดนจับว่าเราทำผิดในข้อหาใด เพื่อคราวหน้าจะได้ไม่ทำผิดกฎหมายอีกต่อไป หากทางที่ดีคุณควรเรียนรู้ถึงกฎหมายบนท้องถนนด้วยและขับรถอย่างระมัดระวังในทุกครั้งที่คุณออกสตาร์รถ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนต่อคุณเองและผู้ร่วมทาง
อ่านเพิ่มเติม : 10 สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนเกิดจากอะไรบ้าง
อ่านเพิ่มเติม : 10 อันดับพฤติกรรมการขับขี่ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในประเทศไทย
และเพื่อความปลอดภัยสูงสุด คุณควรทำประกันภัยรถยนต์ติดรถไว้เสมอ เพราะประกันภัยจะช่วยคุณได้เสมอเมื่อคุณเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะช่วยจัดการเรื่องการเคลมค่าเสียหายทั้งเราและคู่กรณี ไกล่เกลี่ยกับคู่กรณี เพียงแค่คุณโทรหาโบรกเกอร์อีซี่อินชัวร์ประกันภัย เราพร้อมส่งเจ้าหน้าที่ประกันภัยตรงถึงที่เกิดเหตุคอยช่วยเหลือคุณได้อย่างปลอดภัยไม่ว่าจะสถานการณ์ใด เราพร้อมยินดีไปช่วยเหลือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายด้วยดี โดยคุณสามารถเช็คเบี้ยประกันภัยก่อนได้ที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง ในราคาเบี้ยที่ไม่แพง สามารถผ่อนกับเราได้ ดอกเบี้ย 0 % พร้อมบริการพิเศษอื่น ๆ อีกมากมายที่พร้อมแจกให้กับคุณได้อย่างคุ้มค่าที่สุด