คนขับขาหักขับรถชนคนเสียชีวิต

คนขับขาหักขับรถชนคนเสียชีวิต ประกันรับผิดชอบไหม

คนขับขาหักขับรถชนคนเสียชีวิต

เป็นที่ทราบกันดีว่า หากเราต้องขับรถยนต์ก็ควรที่จะมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แต่หากร่างกายไม่พร้อม เช่นขาหัก แล้วเกิดกรณี คนขับขาหักขับรถชนคนเสียชีวิต เหตุการณ์เช่นนี้จะมีผลอย่างไร ประกันภัยจะรับผิดชอบหรือไม่

เมื่อเกิดเหตุการณ์คนขับขาหักขับรถชนคนเสียชีวิต แล้วนั้น ในทางกฎหมายเบื้องต้นต้องมีบทลงโทษอย่างแน่นอน หากพิสูจน์ได้ว่า ผู้ขับ ๆ รถเร็วเกินกำหนด หรือ เมาแล้วขับ เพราะการขับรถเร็ว หรือขับรถโดยไร้สติส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นร้ายแรงเลยคือเสียชีวิต ถือเป็นการขับรถโดยประมาท ซึ่งถือเป็นคดีอาญาที่ไม่สามารถยอมความได้ โดยมีบทลงโทษดังนี้

กฎหมายขับรถชนคนเสียชีวิต

โดยกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา ป.อ.มาตรา 291 ระบุเอาไว้ว่า ผู้ใดที่กระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ป.อ.มาตรา 300 ระบุเอาไว้ว่า ระบุไว้ว่า ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย สาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุปคือ

  • หากขับรถด้วยความประมาทจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต ต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท

แต่กรณีเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจาก คนขับขาหักขับรถชนคนเสียชีวิต ในทางกฎหมายถือว่าเป็นความผิดต้องได้รับบทลงโทษแน่นอนตามกฎหมายแพ่งและอาญา แต่หากภายหลังพบว่า คนขับมีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ คือขาหักแต่ยังพอขับรถได้ก็ตาม จึงเป็นเหตุให้การขับรถยนต์ไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ 100% เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่า ก็ยังถือว่าเป็นความผิดเพราะผู้ขับขี่รู้ตัวดีอยู่แล้วว่า ขาของตนเองหัก ทำให้ประสิทธิภาพการเหยียบเบรกไม่ดีเท่าที่ควร ก็ไม่สมควรที่จะขับรถจนกว่าขาของตนเองจะหายดีสมบูรณ์

สำหรับกรณีนี้ ถึงแม้อย่างไรก็เป็นความผิดที่ต้องรับผิดแล้วก็ตาม เราขอแนะนำเพิ่มเติมว่าให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตัวดังนี้จะช่วยให้บทลงโทษที่ร้ายแรงได้เป็นบทลงโทษที่เบาแทนได้

  1. ผู้ขับขี่อย่าหลบหนี เพราะการหลบหนีเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ยอมแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้ากฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด
  2. แสดงความรับผิดชอบ การมีน้ำใจเช่น การให้ความช่วยเหลือ พาคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาล แสดงถึงน้ำใจที่ดี ศาลอาจจะรออาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา หรือ การชดใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บ ก็มีประโยชน์ เช่นจ่ายค่าทำศพให้เขา คดีแพ่งก็จะระงับไป เพราะถือว่ายอมความคดีแพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเราในทางแพ่งไม่ได้อีก
  3. ยอมรับผิดด้วยรู้สำนึกต่อการกระทำที่เกิดขึ้นและให้ความร่วมมือในการสอบสวนคดีของตำรวจ
  4. ผู้ขับขี่ต้องแสดงตนหรือมอบตัวต่อเจ้าพนักงานสอบสวน

นอกจากนี้การทำประกันภัยรถยนต์ ไม่ว่าชั้นใดก็ตามก็มีประโยชน์อย่างมากเพราะในกรมธรรม์ประกันภัยจะมีความคุ้มครองต่อชีวิตบุคคลภายนอกเอาไว้ด้วยเสมอ ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้เองจะไปชดใช้ค่าเสียหายต่อชีวิต ที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลที่เกินจาก พ.ร.บ.

เมื่อรู้เช่นนี้แล้วไม่ว่าจะร่างกายสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ การขับรถชนคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตต้องได้รับบทลงโทษตามกฎหมายอย่างแน่นอน สำหรับ คนขับขาหักขับรถชนคนเสียชีวิต นั้น คนขับย่อมรู้ตัวเองดีว่าร่างกายไม่สมบูรณ์แล้วก็ไม่ควรขับขี่รถยนต์ในช่วงบาดเจ็บจะดีกว่า แต่หากต้องเดินทางหันไปใช้รถสาธารณะแทนจะปลอดภัยกว่ามาก

ข้อดีของการทำประกันภัยนั้นมีมากเหลือเกิน หากสนใจทำประกันภัยรถยนต์ก็ไม่อยากเลย ติดต่อ อีซี่ อินชัวร์ โบรกเกอร์ เรามีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องการทำประกันภัยรถยนต์เป็นอย่างดี โดยให้คำแนะนำการทำประกันภัยให้ความคุ้มครองสูงสุดตรงตามที่ลูกค้าต้องการ หรือจะเปรียบเทียบราคาก่อนได้ที่ เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง

อุบัติเหตุที่บริษัทประกันภัยรถยนต์จะไม่รับผิดชอบ คือ แม้ว่าจะทำประกันภัยรถยนต์และบริษัทประกันภัยให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขในกรมธรรม์อยู่แล้ว แต่ในบางกรณีทางบริษัทประกันภัยรถยนต์ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายด้วยข้อยกเว้นดังต่อไปนี้

  1. ใช้รถยนต์ในทางผิดกฎหมาย เช่น ปล้น ขนยาเสพติด
  2. สายซิ่ง พารถไปแข่งขันความเร็ว
  3. ขับออกนอกพื้นที่คุ้มครอง เช่น ขับไปเที่ยวต่างประเทศ
  4. เมาแล้วขับ มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อ่านเพิ่มเติม : เมาแล้วเกิดอุบัติเหตุ ประกันจ่ายไหม ?
  5. รถถูกขับโดยคนไม่มีใบขับขี่ หรือ เคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิ์ตามกฎหมาย
  6. นำรถไปลากจูงคันอื่น โดยไม่ได้ทำการคุ้มครองในส่วนนี้
  7. ใช้รถนอกเหนือจากการที่จดกรมธรรม์ไว้ เช่นจดว่าเป็นรถยนต์สำหรับส่วนบุคคลแต่นำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *