รหัสรถยนต์
โดยหลักตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ได้กำหนดให้บริษัทประกันภัยรับประกันภัยรถยนต์ตาม รหัสรถยนต์ ลักษณะการใช้รถยนต์ ขนาดรถยนต์และประเภทรถยนต์
เพื่อให้สามารถซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจได้ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขในการรับประกันที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังได้
การตรวจสอบ ให้ตรวจสอบจากรหัสรถยนต์ ลักษณะการใช้รถยนต์ ขนาดรถยนต์และประเภทรถยนต์ โดยตรวจสอบจากทะเบียนรถยนต์ หรือเปรียบเทียบกับกรมธรรม์ที่บริษัทประกันภัยรถยนต์ออกให้ ซึ่งข้อมูลทุกอย่างจะต้องตรงกันกับกรมธรรม์ที่ออกมา หากพบว่าไม่ถูกต้องตรงกันให้รับทำการแก้ไขกรมธรรม์โดยด่วน
ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจกับคำว่ารหัสรถยนต์ กันก่อนว่าคือรหัสอะไร ที่เห็นตัวเลขระบุไว้ในกรมธรรม์มีความหมายว่าอย่างไร ใช้กับรถยนต์ประเภทใด ว่าแต่พร้อมหรือยัง เรามาไขข้อข้องใจกัน
รหัสรถยนต์ คือ ตัวเลขที่แสดงถึงความหมายที่บริษัทประกันระบุเอาไว้ในหน้าตารางกรมธรรมประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยแจกแจงความหมายของตัวเลขดังนี้
ตารางแสดงรหัสรถยนต์ สำหรับประกันภาคสมัครใจ
- ตัวเลขหลักที่หนึ่ง แสดงถึงประเภทรถยนต์
- ตัวเลขหลักที่สองและสาม แสดงถึงลักษณะการใช้รถยนต์
ตัวเลขหลักที่หนึ่ง | มีหมายเลข 1-8 แบ่งประเภทรถยนต์ | หมายเลข | ประเภทรถยนต์ |
หมายเลข 1 | ประเภทรถยนต์นั่ง | ||
หมายเลข 2 | ประเภทรถยนต์โดยสาร | ||
หมายเลข 3 | ประเภทรถยนต์บรรทุก | ||
หมายเลข 4 | ประเภทรถยนต์ลากจูง | ||
หมายเลข 5 | ประเภทรถพ่วง | ||
หมายเลข 6 | ประเภทรถจักรยานยนต์ | ||
หมายเลข 7 | ประเภทรถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ | ||
หมายเลข 8 | ประเภทรถยนต์เบ็ดเตล็ด | ||
ตัวเลขหลักที่สองและสาม | ใช้บอกรถยนต์คันนี้ใช้เพื่ออะไร | หมายเลข 10 | ชนิดรถยนต์ส่วนบุคคล |
หมายเลข 20 | ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ | ||
หมายเลข 30 | ชนิดรถยนต์ใช้รับจ้างสาธารณะ | ||
หมายเลข 40 | ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ |
แต่หากเป็นประเภทรถยนต์เบ็ดเตล็ดจากตัวเลขหลักที่หนึ่งนั้น ตัวเลขหลักที่สองและสามได้ถูกกำหนดไว้ดังนี้
- 01 รถยนต์ป้ายแดง
- 02 รถพยาบาล
- 03 รถดังเพลิง
- 04 รถใช้ในการเกษตร
- 05 รถใช้ในการก่อสร้าง
- 06 รถอื่นๆ
เรามาดูความหมายเพิ่มเติมกันว่ารหัสรถยนต์ภาคสมัครใจและลักษณะการใช้รถว่าตัวเลขนำหน้าที่เราเห็นนั้นมีความหมายของรถยนต์ใช้เพื่อการอะไร
- รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประดูไม่ต่อสองแถว ป้ายสีขาวตัวอักษรสีดำ (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง)
- รหัส 110 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า
- รหัส 120 คือรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือรถจดทะเบียนบุคคลแต่ใช้งานรับจ้าง(ไม่ประจำทาง) หรือรถยนต์ให้เช่า
- รถกระบะแคปและไม่แคป ป้ายสีขาวตัวอักษรสีเขียว (รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน)
- รหัส 210 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคล ไม่กั้นโครงเหล็ก ไม่ติดหลังคา (เน้นใช้งานโดยสาร)
- รหัส 320 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ รับจ้างหรือให้เช่า (เน้นใช้งานบรรทุก)
- รหัส 340 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ ใช้บรรทุกวัตถุอันตราย เช่น ก๊าซ น้ำมัน วัตถุไวไฟ เป็นต้น
- รถตู้โดยสาร ป้ายสีขาวตัวอักษรสีฟ้า (รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล)
- รหัส 210 คือรถยนต์โดยสารใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า ชื่อบุคคลหรือชื่อบริษัทแต่ใช้ประจำตำแหน่ง
- รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารพาณิชย์ใช้รับจ้างรับส่งพนักงานบริษัท
- รถตู้โดยสาร ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรเป็นตัวเลขทั้งหมด ตัวเลขสีดำ (รถยนต์โดยสารรับจ้าง)
- รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารใช้รับจ้างรับส่งพนักงานบริษัท นักเรียนวิ่งทัวร์ต่าง ๆ
- รหัส 230 คือรถยนต์โดยสาร ใช้รับจ้างประจำทาง รับจ้างสาธารณะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคงหายสงสัยกันแล้วนะว่า รหัสรถยนต์ ที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คืออะไรใช้กับรถยนต์ประเภทใด หากต่อไปนี้เห็นตัวเลขในกรมธรรม์ที่เราซื้อประกันไว้ ก็คงจะเข้าใจว่ารถยนต์ของเราอยู่ในรหัสใด หากไม่ตรงจะได้รีบแจ้งบริษัทประกันภัยได้ทันที
บทความที่เกี่ยวข้อง : กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คืออะไร
ทั้งนี้ หากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดในกรมธรรม์ประกันภัย สามารถติดต่อขอข้อมูลหรือปรึกษาขอคำแนะนำได้ที่ อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ เพราะเราชาวอีซี่อินชัวร์พร้อมให้ข้อมูลดี ๆ ด้านประกันภัย คำปรึกษา แนะนำ การทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจให้ตรงกับความต้องการของคุณและรถของคุณให้ได้รับการคุ้มครองที่ดีที่สุด และได้อย่างปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนน
ซึ่งสามารถเช็คเบี้ยประกันออนไลน์กันก่อนได้ที่ Easyinsure.co.th ซึ่งสามารถเลือกบริษัทประกันภัยได้หลายบริษัทในการเปรียบเทียบราคาเบี้ยที่ไม่แพงก่อนตัดสินใจได้เลย
Pingback: รถกระบะทำประกันแบบไหนดี ใช้งานหนัก ขับทุกวันมาเลือกไปพร้อมกันเลย