มีโรคประจำตัวขับรถชน

มีโรคประจำตัวขับรถชน ประกันรับผิดชอบหรือไม่

มีโรคประจำตัวขับรถชน

อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจากความประมาทของเราเอง จากผู้ร่วมทาง หรือแม้แต่ โรคประจำตัวของเราที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว แล้วถ้าเรา มีโรคประจำตัวขับรถชน ในกรณีเช่นนี้ ประกันรับผิดชอบหรือไม่

มีโรคประจำตัวขับรถชน ประกันรับผิดชอบหรือไม่

เมื่อคนมีโรคประจำตัวขับรถชน แล้ว ประกันจะรับผิดชอบค่าเสียหายหรือไม่ จากกรณีนี้เราจะพิจารณาจาก กรณีแพทย์ระบุสาเหตุการเสียชีวิตที่ชัดเจนว่า คนขับเสียชีวิตเนื่องจากโรคประจำตัว เช่น จากโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย โดยตายจากโรคประจำตัวที่ไม่มีบาดแผลของการเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีรอยกระแทกใด ๆ เกิดขึ้นบนร่างกาย กรณีเช่นนี้ ประกันภัยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการจ่าย PA ได้ รวมถึง พ.ร.บ.ที่มีอยู่ในรถยนต์ทุกคันก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธการจ่ายความคุ้มครองในส่วนนี้ได้เช่นกัน เพราะคนขับไม่ได้ตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว และมีความจำเป็นที่จะต้องการขับรถยนต์ ในกรณีเช่นนี้ให้แนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง หรือไปตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะประเมินตัวเองได้ว่า โรคประจำตัวที่เป็นอยู่อยู่ในระดับใด เรามีความพร้อมที่จะขับรถยนต์เดินทางไปไหนมาไหนคนเดียวได้หรือไม่

ทั้งนี้ทางที่ดีนอกจากปรึกษาแพทย์ ตรวจเช็คร่างกายแล้ว ควรที่จะชวนใครสักคนเดินทางไปด้วยกัน หรือทางที่ดีหลีกเลี่ยงการขับรถยนต์เป็นทางที่ปลอดภัยที่สุด โดยควรเลือกใช้บริการรถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง รถตู้สาธารณะ จะปลอดภัยมากกว่าเอาชีวิตเข้าไปเสี่ยงในขณะที่มีโรคประจำตัว

ต่อจากนี้เป็นรายการกลุ่มโรคที่ต้องระวังห้ามขับรถยนต์โดยเด็ดขาด กลุ่ม 9 โรคที่ต้องห้ามขับรถยนต์ได้แก่โรคอะไรบ้าง กรมควบคุมโรคได้เปิดเผย 9 กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบการมองเห็น การได้ยิน ระบบประสาท และโรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวเรื้อรัง ที่ไม่ควรขับรถยนต์เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ

9 โรคที่ต้องห้ามขับรถยนต์ มีอะไรบ้าง

  1. โรคลมชัก เป็นโรคที่มีอาการชักเกร็ง และกระตุกโดยไม่รู้สึกตัว เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะสาเหตุจากหลายประการ เช่น เกิดจากความผิดปกติของระบบในสมอง หากถูกกระตุ้นมากไปจะทำให้เกิดอาการชัก แต่ละครั้งขึ้นกับว่าสมองส่วนไหนถูกกระตุ้น
  2. โรคทางสมอง สำหรับโรคนี้คือยังเป็นไม่มาก อย่างเช่น อาการหลงลืม โดยการขับขี่รถยนต์หากมีอาการหลงลืม ลืมเส้นทางแล้วอาจจะทำให้ระบบสมาธิมีปัญหาจนทำให้การตัดสินใจช้าลง
  3. โรคหลอดเลือดสมอง โรคนี้ทำให้แขนขาไม่มีแรงขับรถ หรือ เหยียบคันเร่ง เบรก หรืออาจมีอาการชักกะตุก หรือ กระดูกขาอ่อนแรง ส่งผลต่อการเหยียบเบรคคันเร่งที่อ่อนประสิทธิภาพลง
  4. โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่มีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น ทำอะไรตัดสินใจช้าลง ส่งผลให้ขับรถได้ไม่ดี ผู้ป่วยเกิดอกาการทางระบบประสาทเคลื่อนไหวช้า อาการสั่นมักจะสั่นขณะอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ หากขยับตัวนั้นการสั่นจะลดลง ถือว่าเป็นความเสี่ยงในการขับรถ
  5. โรคหัวใจ ผู้ป่วยจะเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เมื่อต้องขับรถนาน ๆ หรือ อยู่ในภาวะเครียด ความกดดันจากรถติดการจราจร อาจทำให้เกิดโรคหัวใจเฉียบพลันในระหว่างขับรถได้
  6. โรคสายตาต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม โรคเหล่านี้ส่งผลทำให้การมองเห็นในการขับรถทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่ไม่ชัด คนที่เป็นต้อหินจะทำให้การมองเห็นมุมมองสายตาแคบลง ทำให้มองเห็นภาพรอบข้างได้ไม่ดี รวมถึงการมองเห็นแสงไฟจราจร ไฟหน้ารถ ที่ด้อยประสิทธิภาพลง
  7. โรคไขข้อเสื่อม ข้ออักเสบ โรคเหล่านี้มีผลกระทบต่อการขับรถ หากการเจ็บปวดไขข้อเกิดขึ้นจะทำให้เราไม่สามารถใช้ร่างกายได้อย่างเต็มที่ เพราะความเจ็บปวดร้าวของกระดูกไขข้อ ทำให้เราอ่อนแรงในการขับขี่รถได้อย่างแน่นอน
  8. โรคเบาหวาน จะมีอาการหน้ามือ ใจสั่น ตาพร่า น้ำตาลในเลือดมีปริมาณต่ำลง อาจทำให้เป็นลมได้ และก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
  9. การกินยา ฤทธิ์ของยามักเกิดขึ้นหลังทานยาไปได้สักระยะ เช่นยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้แพ้ เหล่านี้เมื่อทานยาไปอาจทำให้ง่วงซึมง่วงนอนได้ ทำให้มึนงงสับสนเวลาขับรถและอาจเผลองีบหลับได้ และสมาธิในการขับขี่ลดลงไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม : 10 สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนเกิดจากอะไรบ้างในปี 2562

สำหรับกรณีที่คน มีโรคประจำตัวขับรถชน ต้องขอบอกเลยนะว่าประกันภัยรวมถึงพ.ร.บ. มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่จ่ายค่าเสียหายให้แต่อย่างใด เพราะย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่ามีโรคประจำตัว ไม่ควรขับรถยนต์เด็ดขาด แต่ยังฝืนขับย่อมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้อย่างแน่นอน นอกจากจะเกิดอุบัติเหตุแล้วยังต้องเสียทรัพย์สินไม่ได้รับค่าเสียหายด้วย ดังนั้นเมื่อรู้เช่นนี้แล้วหลีกเลี่ยงการขับรถยนต์หันมาใช้บริการสาธารณะดีกว่าปลอดภัยทั้งตัวเองและผู้อื่นด้วย

Loading

2 thoughts on “มีโรคประจำตัวขับรถชน ประกันรับผิดชอบหรือไม่

  1. Pingback: พนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุด และเกิดอุบัติเหตุประกันคุ้มครองไหม

  2. Pingback: ขับรถระวังวูบ กับ ประเภทของยาที่กินแล้วง่วง มีอะไรบ้าง - Easyinsure

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *