เรียกได้ว่า ผู้ที่มีรถยนต์ทุกคนต่างมีหน้าที่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และ เสียภาษีรถยนต์ อยู่ทุกปี แต่สำหรับคนทั่วไป หรือ ผู้ที่ไม่มีรถยนต์อาจจะยังสงสัยว่า พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ คืออะไร ต่างกันอย่างไร เพื่อให้ความเข้าใจระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ได้เป็นที่หายสงสัยกันกับคนทั่วไป เรามาทำความรู้จักกันให้มากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ร.บ. คือเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำ รถทุกคันต้องทำและมีไว้เพื่อเป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที หากหมดอายุ จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 200 บาท หรือ หากเป็นรถที่ใช้งานอยู่แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเสียภาษีจะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท
อ่านเพิ่มเติม : พรบ รถยนต์ คืออะไร กับความสำคัญและความคุ้มครองที่คุณต้องรู้
ภาษีรถยนต์ คืออะไร
ภาษีรถยนต์ คือ การต่อภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ เรียกได้ว่าเมื่อคุณมีรถยนต์ การชำระภาษีรถยนต์เป็นสิ่งที่ต้องทำตามกฎหมายเป็นรายปี หากขาดการชำระภาษีติดต่อกันเป็นเวลานาน 3 ปี รถยนต์คันนั้นจะถูกระงับในส่วนของการใช้ทะเบียน หากนำมาขับโดยไม่ชำระภาษีจะต้องถูกตำรวจจับเสียค่าปรับอย่างแน่นอน และจะมีความยุ่งยากตามมาหากต้องการนำรถคันดังกล่าวมาใช้อีก จะต้องเสียเวลาในการยื่นเอกสารอีกมากมายทั้งเสียค่าปรับและเสียเวลาอีกอย่างแน่นอน
การต่อภาษีรถยนต์ สามารถต่อล่วงหน้าได้ก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน แต่หากเสียภาษีล่าช้าจะถูกปรับเดือนละ 1% ของราคาภาษี (เศษวันนับเป็น 1 เดือน) และหากขาดชำระติดต่อกันนาน 3 ปี รถจะถูกระงับการใช้ทะเบียนและต้องทำเรื่องขอทะเบียนใหม่อีกครั้ง
พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ต่างกันอย่างไร
ภาษีรถยนต์ หรือ ป้ายภาษี เป็นป้ายลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ต้องพกติดรถไว้ตลอดเวลา มีไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่า รถยนต์คันดังกล่าวได้มีการชำระภาษีรายปีเรียบร้อยแล้ว
ส่วน พ.ร.บ. ปัจจุบันจะเป็นกระดาษ A4 โดยมีแถบสีเงินพร้อมข้อความว่า “สมาคมประกันวินาศภัย”พร้อมตราสัญลักษณ์สมาคม ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า การต่อภาษีรถยนต์จะต้องแนบเอกสารส่วนท้ายของ พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุไปด้วยถึงจะทำการต่อภาษีรถยนต์ได้
ทำไมต้องต่อพ.ร.บ.รถยนต์
- กฎหมายได้กำหนดให้มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันต่อสังคม
- เป็นมาตรการการลดปัญหาทางสังคม ซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด
- เป็นมาตรการบรรเทาผลร้ายต่อผู้เสียหายหากเกิดการรับผิดชอบ
- เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ที่ขับขี่หรือเจ้าของรถหากต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถยนต์ทุกคันที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด
- เป็นการแบ่งเบาภารถของรัฐด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์
ทำไมต้องเสียภาษีรถยนต์
ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเงินที่จ่ายไปรัฐจะนำไปใช้ในการทำนุบำรุง บริหารจัดการประเทศ ซึ่งภาษีมีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ภาษีเงินได้ไปถึงภาษีสินค้าและบริการ
ซึ่งรถยนต์ก็ถือเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่ต้องมีการชำระภาษีประจำปี เช่นเดียวกับ บ้านที่ดิน การที่เจ้าของรถไม่ชำระภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปีนั้น ย่อมมีโทษปรับ อัตราเทียบปรับตาม พรบ รถยนต์มีโทษปรับ 200 บาท และหากไม่สามารถแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนรถยนต์ หรือ เล่มทะเบียนรถจริง
การต่อ ภาษีรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ หรือ ใบแทน
- หลักฐานการทำ พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ
- หลักฐานรับรองการผ่านการตรวจสภาพรถ หากรถมีอายุเกิน 7 ปี ต้องขอใบตรวจอนุญาตรถ ( ต.ร.อ.) ด้วย
- ค่าต่อภาษี ( ค่าต่อภาษีจะแตกต่างตามประเภทของรถยนต์ )
สำหรับการต่อ พ.ร.บ. หรือ ต่อภาษีรถยนต์ สามารถต่อได้ที่กรมการขนส่งแต่ละจังหวัด หรือ หากไม่สะดวกไปด้วยตัวเอง สามารถเรียกใช้บริการโบรกเกอร์ประกันภัยกับอีซี่อินชัวร์ได้ตลอดเวลา เรามีบริการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และ ชำระภาษีรถยนต์ ให้กับท่าน เมื่อได้เอกสารแล้วจะจัดส่งเอกสารส่งตรงถึงหน้าบ้านท่านอย่างสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้เรายังมีบริการทำประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทในราคาเบี้ยที่ไม่แพง ให้ความคุ้มครองสูงสุด พร้อมบริการพิเศษอีกมากมาย เช่น บริการลากรถเมื่อรถยนต์ของท่านไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เอง บริการเติมน้ำมัน หรือ บริการรถยนต์ให้ใช้ระหว่างซ่อม ซึ่งบริการดี ๆ เหล่านี้มีที่ อีซี่ อินชัวร์ โบรกเกอร์ประกันภัย เว็บไซต์ Easyinsure.co.th
Pingback: ต่อภาษีรถยนต์ วันหยุด เสาร์และอาทิตย์ ทำที่ไหนได้บ้าง - Easyinsure
Pingback: พรบ รถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ - Easyinsure