วิธีร้องเรียนบริษัทประกันภัย
ในวงการธุรกิจทุกประเภทต่างก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการทำธุรกิจอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเงินอย่างบริษัทประกัน เราจะมี วิธีร้องเรียนบริษัทประกันภัย อย่างไร หากเราไม่ได้รับความเป็นธรรม
เพราะหากจะให้วิเคราะห์ตั้งแต่แรกในธุรกิจประกัน เราจะพบปัญหาต่าง ๆ ได้เสมอ เราจึงต้องมีวิธีร้องเรียนบริษัทประกันภัย ให้กับผู้ที่ทำประกันเสมอ ไล่ตั้งแต่ การขายประกันของตัวแทน หรือ นายหน้าที่ทำให้ผู้เอาประกันเข้าใจผิดจนเกิดความเสียหายการฟ้องร้องบริษัทประกันที่ปฏิเสธการเคลม เพราะไม่เข้าเงื่อนไข หรือ ผู้เอาประกันปิดบังข้อมูล
หรือแม้แต่การเปิดเผยข้อมูลในการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกันเอง ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจนครบถ้วน ก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในการทำประกันและความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย
จึงต้องมีหน่วยงานที่มาคอยดูแลแก้ปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในวงการประกันให้เรา ซึ่งคือหน้าที่ของ “สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ ที่รู้จักกันในนามของ คปภ.” ผู้ที่จะเข้ามารับผิดชอบในส่วนนี้
โดย คปภ.มีหน้าที่หลัก ๆ 3 ประการด้วยกันคือ
- กำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัย ให้มีความมั่นคงเนื่องจากธุรกิจประกันภัย เป็นธุรกิจที่ต้องแบกรับความเสี่ยงของลูกค้าเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนี้จำเป็นที่จะต้องมีความน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้า และมีการบริหารจัดการการเงินในบริษัทเป็นอย่างดี คปภ. จึงมีหน้าที่เข้ามากำหนดกฎเกณฑ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกันภัย เช่น การตั้งเงินสำรองที่เพียงพอ การออกแบบแบบประกันให้เหมาะสมกับบริษัทและตลาด ขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกัน เช่น การสนับสนุนให้บริษัทประกันนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมประกันภัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่จะช่วยผลักดันในการทำประกันภัยในไทยมีความก้าวหน้ามากขึ้น
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทในการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจสังคมของประเทศ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเนื่องจากประเทศชาติจะมีความมั่นคงได้ ประชาชนในประเทศจำเป็นที่ต้องมีความมั่นคงทางการเงินเสียก่อน ไม่อย่างนั้นปัญหาหรือภาระทางการเงินต่าง ๆ ก็จะตกเป็นภาระของรัฐบาลและของประเทศ ทำให้ประเทศชาติก้าวเดินต่อไปได้ยาก ดังนั้น คปภ. จึงต้องช่วยสนับสนุนธุรกิจประกันภัย เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจ และมีการทำประกันภัยกันอย่างถูกต้อง ถ้วนหน้า ที่จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับเศรษฐกิจของประเทศได้
- คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยถือเป็นหน้าที่หลักสำคัญของ คปภ. สำหรับประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้เอาประกันที่ต้องช่วยรับเรื่องร้องเรียน และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันที่เกิดความเสียหาย จากการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายที่เป็นผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นตัวแทน นายหน้า หรือบริษัทประกัน ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขณะเดียวกัน ก็ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องกันผู้เอาประกัน ในบางกรณีที่ผู้เอาประกันเกิดความเข้าใจผิดเสียเอง เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ทุกฝ่ายในธุรกิจประกันภัยด้วยเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม : คปภ.คืออะไร ทำไมคนทำประกัน ถึงต้องรู้จัก แนะนำให้อ่านเลย
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของปัญหาที่เราสามารถร้องเรียนให้ คปภ.ช่วยเหลือเราได้
- จ่ายค่าเบี้ยผ่านคนกลาง (ตัวแทน นายหน้า) แล้วคนกลางไม่ได้นำเงินไปส่งให้กับบริษัทประกัน แต่หนีหายไปพร้อมกับค่าเบี้ย แล้วติดต่อไม่ได้
- กรณีถูกรบกวนโดยการเสนอขายประกันทางโทรศัพท์ แล้วยังไม่ได้ตกลงทำประกัน แต่บริษัทส่งกรมธรรม์มาให้ผู้เอาประกัน และมีการหักเงินจากบัตรเครดิต โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต
- ถูกคนกลาง (ตัวแทน นายหน้า หรือ ธนาคาร) สร้างความเข้าใจผิดว่าการทำประกันว่าเป็นการฝากเงินดอกเบี้ยสูง โดยไม่บอกว่าเป็นประกันชีวิต หรือ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์หรือสิทธิ์ต่าง ๆ ของแบบประกัน ไม่ตรงกับข้อมูลความเป็นจริง หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือ การันตีผลประโยชน์บางอย่าง ที่ไม่สามารถการันตีได้เช่น เงินปันผล
- ตัวแทนเสนอขายกรมธรรม์ไม่ตรงกับที่บริษัทประกันขออนุญาต
- บริษัทประกัน ไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือจ่ายไม่เป็นไปตามเงื่อนไขบริษัทประกัน จะจ่ายค่าซ่อมหรือค่าสินไหมทดแทนน้อยกว่าจำนวนที่ผู้เสียหายเรียกร้อง หรือไม่ยอมจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงที่ไม่เกิดวงเงินเอาประกัน
- บริษัทประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
- ถูกบริษัทประกัน ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยอ้างว่าผู้เอาประกันปกปิดข้อเท็จจริงในใบคำขอ
วิธีร้องเรียน คปภ. เราสามารถติดต่อโดยตรงที่สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก หรือ สำนักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปศึกษาหาข้อมูลในเว็บไซต์ของ คปภ. ที่ http://www.oic.or.th/th/home เลือก สำหรับผู้บริโภค เลือก แหล่งความรู้ ซึ่งในนี้จะมีความรู้เกี่ยวกับประกันภัยมากมายที่เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้
ย่าปล่อยให้ต้องถูกเอารัดเอาเปรียบเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม วิธีร้องเรียนบริษัทประกันภัย ที่กล่าวข้างต้นนั้นจะทำให้ท่านได้รับความเป็นธรรมจากเหล่าคนที่คิดไม่ซื่อในการทำธุรกิจประกันภัย เพียงท่านติดต่อเข้ามาหา คปภ. หน่วยพิทักษ์ความเป็นธรรมรอรับใช้ท่านเสมอ
สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามค่ะ รถดิฉันจอดติดไฟแดงอยู่ แต่ถูกรถคู่กรณีวิ่งมาชนท้ายจนไถลจากจุดจอดมาประมาณ 50 ม. เมื่อประมาณวันที่ 23/12/2563 และไม่มีรถใช้ เพราะต้องมาทำงานและส่งบุตรสาว เลยดำเนินการเช่ารถมาใช้เป็นเวลา 2 เดือน และได้ไปรับรถเช่ามาวันที่ 26/12/2563 เพราะเนื่องจากทางอู่ได้ประเมินการซ่อมมา 45-60 วัน แต่วันทนี้ทางบริษัทประกันคู่กรณีโทรมาว่าจะชดเชยให้แค่ 40 วัน มากสุดให้ได้เพียง 45 วัน ดิฉันอยากทราบว่าด้วยนโยบายแล้วทางบริษัทประกันควรยินยิมให้ค่าชดเชยดิฉันอย่างไร เนื่องด้วยดิฉันต้องหยุดงานจากเหตุการณ์นี้ด้วย แถมต้องสำรองการเช่ารถมาแล้ว 2 เดือน รบกวนชี้แจ้งด้วยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
ทำไม บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด หักค่าเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิต (กรณีชำระค่าเบี้ยฯผ่านบัตรเครดิต) ทั้งๆ แจ้งยกเลิกแล้ว
แจ้งยกเลิกพร้อมส่งคืนกรมธรรม์ภายใน 30 วัน หลังจากรับมอบกรมธรรม์ กฏหมายให้หักค่ากรมธรรม์ 500 บาท แล้ว คืน ส่วนที่เหลือให้ผู้เอาประกัน
แต่ ผู้รับประกัน ไม่คืน แล้วยังหักต่ออีก ไม่เข้าใจครับ
มีเรื่องปรึกษา
อีซี่ฯ สวัสดีครับ
หากมีข้อสงสัยในด้านการร้องเรียนบริษัทประกันภัย คุณ พนิดา สายสุด สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เบอร์ 02-801-9000 ตลอด 24 ชม. ครับ