ถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหนดี

ถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหนดี พกให้ถูกประเภท ป้องกันไฟไหม้รถยนต์

ถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหนดี

หากเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้รถยนต์ อุปกรณ์ที่จำเป็นในขณะนั้นคือถังดับเพลิงในรถยนต์ แต่จะทราบได้อย่างไรว่า ถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหนดี ชนิดไหน ขนาดไหนดี ที่จะเหมาะไว้พกพาติดในรถยนต์ แล้วถ้าเป็นถังดับเพลิงขนาดเล็กสามารถป้องกันไฟไหม้รถยนต์ได้หรือไม่

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ถังดับเพลิงคืออะไร ประกอบด้วยอะไร และถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหนดี ที่จะใช้พกพาติดในรถยนต์ได้ถูกต้องและสามารถหยิบใช้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดไฟไหม้ในรถยนต์ เพื่อความปลอดภัยในการช่วยดับไฟป้องกันไฟไม่ให้ลุกลามไปใหญ่โต

ถังดับเพลิง หรือ Fire Extinguisher เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ ประกอบด้วยถังแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่น ๆ พร้อมมือจับ ไก เปิดปิด สลักนิรภัย และสายฉีด ออกแบบไว้สำหรับการดับเพลิงไหม้ที่ยังไม่ลุกลาม ในตัวถังดับเพลิงนั้นมักจะเป็นสีแดง เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายและติดตั้งไว้เป็นระยะห่าง ๆ กันภายในอาคาร ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้ใช้สามารถหิ้วถังจากจุดติดตั้งมาในบริเวณที่เกิดเหตุ ดึงสลักนิรภัยออก จับสายฉีดให้ปลายหันเข้าหาเปลวไฟ และเมื่อทำการบีบไก น้ำหรือสารเคมีที่อยู่ภายในถังก็จะพุ่งตรงไปยังบริเวณที่ไฟไหม้และดับไฟลงในที่สุด

ประเภทและคุณสมบัติของถังดับเพลิงมี 4 Class

  • Class A : จะเป็นเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง ไม้ กระดาษ พลาสติก ยาง สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท สเปร์ยโฟม, ผงเคมีแห้ง, สารเหลวระเหย และ เคมีสูตรน้ำ
  • Class B : เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท สเปร์ยโฟม (แบบจำกัด), ผงเคมีแห้ง, สารเหลวระเหย และ เคมีสูตรน้ำ
  • Class C : เกิดจากอุปกรณ์ที่เกิดจากไฟฟ้า อิเล็กโทรนิค สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท ผงเคมีแห้ง (แบบจำกัด), สารเหลวระเหย และ เคมีสูตรน้ำ
  • Class K : เกิดจากน้ำมันพืช สามารถใช้ถังดับเพลิงประเภท เคมีสูตรน้ำ ได้อย่างเดียว

ถังดับเพลิงมีหลายชนิด ตั้งแต่แบบผงเคมีแห้ง แบบฟองโฟม และ แบบสารระเหย แต่สาระสำคัญอยู่ที่ฉลากข้างถัง ซึ่งจะบอกว่า ถังดับเพลิงนั้นสามารถใช้ดับไฟแบบไหนได้บ้าง เครื่องดับเพลิงมีหลายแบบ ถัง 2 ปอน์ดสำหรับติดรถราคาประมาณ 600-1000 บาท

ซึ่งถังดับเพลิงที่เหมาะสมสำหรับพกติดในรถ ควรเป็นชนิดสารระเหยที่มีฉลากสัญลักษณ์ A กับสัญลักษณ์ B ติดอยู่ ซึ่งทั้งสองแบบมีข้อดีคือ เมื่อดับเพลิงเสร็จแล้วจะไม่ทิ้งคราบสกปรกเอาไว้ ต่างจากพวกโฟมหรือผงเคมีแห้ง

ลักษณะของคุณสมบัติถังดับเพลิงขนาดเล็ก ถังดับเพลิงขนาดพกพา

  • ถังดับเพลิงขนาดเล็ก ถังดับเพลิงติดรถยนต์ ขนาด 2-5 ปอนด์
  • ถังดับเพลิงขนาดเล็ก ถังดับเพลิงแบบพกพา ขนาดบรรจุกระป๋องขนาด 1,000 มล. มิติกว้าง x ยาว x สูง ( 7 x 7 x 30 ซม.) ถังดับเพลิงขนาดพกพาสะดวก
  • ถังดับเพลิงขนาดเล็ก สามารถพกพา มีขาพลาสติกสำหรับยึดติดผนัง สามารถติดตั้งในจุดที่ต้องการได้
  • สามารถใช้ถังดับเพลิงดับไฟในกรณีฉุกเฉิน ในพื้นที่ขนาดเล็ก พื้นที่จำกัด จากเหตุการณ์อุบัติเหตุไฟไหม้รถยนต์ ไฟไหม้ห้องครัว หรือ พื้นที่สำนักงานได้
  • มีถังดับไฟขนาดเล็ก หากมีไว้ติดรถสามารถใช้งานได้ทันที หากเกิดเหตุการณ์เพิลงไหม้ขึ้นมา สามารถช่วยดับไฟได้ทันท่วงทีในระยะเริ่มต้น ก่อนที่ไฟจะลุกลามกลายเป็นไฟขนาดใหญ่ลุกลามใหญ่โต
  • สามารถใช้ถังดับไฟ ดับเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็วและมีระดับความสามารถในการดับเพลิงสูง
  • ใช้งานง่าย เพียงเขย่ากระป๋องและฉีดพ่นน้ำยาไปยังจุดไฟไหม้ เพื่อควบคุมไม่ให้ไฟลุกลามและควบคุมไฟดับไฟให้สงบลงได้

คำเตือนในการใช้งาน

  • ไม่ควรเก็บไว้ตรงที่สัมผัสแสงแดดโดยตรง ควรเก็บไว้ใต้เบาะหรือแขวนไว้ในห้องโดยสาร
  • กรณีใช้งานในอาคาร ควรวางหรือแขวนไว้ในที่เห็นได้เด่นชัด สามารถหยิบจับใช้ได้สะดวก
  • ห้ามใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ยังเสียบปลั๊กอยู่ และต้องเก็บให้ห่างพ้นจากมือเด็ก

เมื่อทราบกันดีแล้วว่า ถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหนดี ที่เหมาะกับการพกพาติดในรถยนต์ เพื่อความปลอดภัยผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคันก็ควรที่จะมีติดไว้สักเครื่อง โดยเฉพาะผู้ขับขี่รถยนต์ประเภทใช้แก๊สแทนน้ำมัน เพราะโอกาสจะเกิดไฟไหม้นั้นมีมากกว่าหรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็สามารถหยิบใช้ได้ทันเวลา

ไฟไหม้รถ ทำอย่างไรดี

แน่นอนไฟไหม้รถของเรา ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดแล้วเราจะทำอย่างไร แล้วก่อนเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับเรา เราควรเตรียมตัวอย่างไร ให้เจ็บตัวน้อยสุด ความเสียหายน้อยสุด โดยที่เราสบายใจได้ โดยในที่นี้มี 2 วิธีด้วยกัน คือ

  1. ใช้ถังดับเพลิงติดรถ ฉีดบนบริเวณที่ไฟไหม้รถ ตามคำแนะนำการใช้งาน หรือใช้น้ำดับ กรณีไฟไม่ลุกไหม้จนเกินไป
  2. ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1, 2+ และชั้น2 เพราะมีความคุ้มครองกรณีไฟไหม้รถอีกด้วย สนใจทำประกันภัยรถยนต์ : คลิกเลย

Loading

One thought on “ถังดับเพลิงในรถยนต์แบบไหนดี พกให้ถูกประเภท ป้องกันไฟไหม้รถยนต์

  1. Pingback: ไฟไหม้รถประกันจ่ายไหม รถยนต์ไฟไหม้ ประกันคุ้มครองอะไรบ้าง ในปี 2562

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *