พฤติกรรมการขับขี่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด
อุบัติเหตุ คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน และอาจทำให้เสียชีวิตได้ทั้งของตนเองและผู้อื่น แต่บางครั้งอุบัติเหตุก็เกิดจากความประหม่าของผู้ก่อให้เกิดเอง อย่างเช่น อุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีพฤติกรรมการขับรถที่เกิดจากความประหม่าของผู้ขับขี่ โดย 10 อันดับพฤติกรรมการขับขี่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในประเทศไทย เกิดจากพฤติกรรมดังนี้
- หลับใน – หลายครั้งที่ได้ข่าวว่า ผู้ขับขี่รถหลับในระหว่างการขับรถ กรณีเช่นนี้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ดังนั้นหากรู้สึกไม่สบายหรือพักผ่อนน้อย ก็ไม่ควรขับรถเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งของตนเองและผู้อื่น
- เมาสุรา – ร้อยละ 41.24 เสียชีวิต 434 รายในปี 2561 ทั้งที่ทราบกันดีว่าถ้าดื่มสุรา แอลกอฮอล์แล้วจะทำให้สมรรถภาพในการขับขี่ลดลง ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ดื่มจะช้าลงอย่างมาก หากขับรถในขณะที่ร่างกายไม่พร้อมอาจทำให้เรากลายเป็นฆาตกรได้ ดังนั้นหลังจากปาร์ตี้ที่มีการดื่มแอลกอฮอล์แล้วควรหลีกเหลี่ยงการขับรถเด็ดขาด
- โทรศัพท์ขณะขับรถ – ถึงแม้ว่าจะมีธุระมากมาย ก็ไม่ควรที่จะคุยโทรศัพท์ระหว่างการขับรถเด็ดขาด เพราะการคุยโทรศัพท์จะทำให้เสียสมาธิไปส่วนหนึ่ง รวมถึงกรณีมีอะไรตัดหน้าจะยิ่งทำให้เบรกรถไม่ทัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้
- ตัดหน้ากระชั้นชิด – ร้อยละ 14.76 ที่มีการขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด ทำให้เบรกรถไม่อยู่ ก็เกิดการชนได้อย่างง่ายดาย
- ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร – เครื่องหมายจราจรเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้ถนนมีการปฏิบัติตนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ผู้ขับขี่ก็มักจะฝ่าฝืนกันอยู่บ่อย ๆ เช่น ห้ามยูเทิร์นหรือห้ามแซง ส่งผลให้เกิดการเฉี่ยวชนกับผู้ร่วมทางคันอื่น ๆ อยู่เป็นประจำไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
- ไม่เปิดไฟเลี้ยว – สาเหตุที่เกิดการชนท้ายบ่อยครั้งของทั้งรถมอเตอร์ไซด์และรถยนต์มักเกิดจากการไม่เปิดไฟเลี้ยว แล้วเลี้ยวรถกะทันหันทันทีโดยไม่ได้มองรถคันหลังเลยว่าขับรถมาเร็วแค่ไหน จะเบรกรถทันหรือไม่อย่างไร จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน
- เปลี่ยนเลนกระทันหัน – หลายครั้งที่ผู้ขับขี่มีการตัดสินใจช้า ทำให้ต้องขับรถเปลี่ยนเลนอย่างกะทันหัน ส่งผลให้รถคันอื่นชะลอรถไม่ทันจนทำให้เกิด อุบัติเหตุ ขึ้นในที่สุด ดังนั้นผู้ขับขี่ควรทำการศึกษาเส้นทางก่อนการเดินทาง ชะลอความเร็ว และตัดสินใจให้ไวขึ้น รวมถึงควรฝึกฝนและทดสอบความไวในการตอบสนองของตนเองเพื่อให้มีการตัดสินใจที่เหมาะสม
- ทัศนวิสัยไม่ดี – ร้อยละ 8.21 ทัศนวิสัยไม่ดีที่เกิดจากฟ้าฝน ภัยธรรมชาติ พายุเข้า สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดทัศนวิสัยไม่ดีบนท้องถนนเป็นแน่ โอกาสเกิดอุบัติเหตุย่อมมีมากขึ้น หากเกิดฟ้าฝนที่ทำให้มองไม่เห็นทางก็ควรชะลอความเร็วขับรถอย่างมีสติมากขึ้น
- มีสิ่งกีดขวางบนถนน – บางครั้งการขับรถอาจจะไม่สามารถมองเห็นสิ่งกีดขวางบนท้องถนนได้ ทำให้เบรกรถกะทันหัน คันหลังที่ตามมาอาจขับชนรถเราได้ จึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นไม่ควรขับรถเร็วมากไป และมีระยะห่างจากคันหน้า หรือทางด้านหน้าเสมอ
- ขับรถเร็วเกินกำหนด – ร้อยละ20.42 โดยคนไทยมีพฤติกรรมการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการสร้างความเสี่ยงให้กับทั้งตนเองและผู้ร่วมทาง ทำให้เสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
ข้อมูลสถิติผู้เสียชีวิตอุบัติเหตุจากทางถนนมากที่สุดในปี 2561
- กรุงเทพมหานคร เสียชีวิต 693 คน และบาดเจ็บ 79,484 คน
- นครราชสีมา เสียชีวิต 438 คน และบาดเจ็บ 34,791 คน
- ชลบุรี เสียชีวิต 413 คน และบาดเจ็บ 42,786 คน
- เชียงใหม่ เสียชีวิต 304 คน และบาดเจ็บ 33,162 คน
- นครศรีธรรมราช เสียชีวิต 298 คน และบาดเจ็บ 18,422 คน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ
สำหรับวิธีป้องกันอุบัติเหตุ 5 หลักการ โดยนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยพบว่าปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงมาก โดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตรายของเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน เฉลี่ยวันละเกือบ 50 คน ส่วนใหญ่เกิดที่บนถนนทางหลวง 37-9% ถนนอบต.และถนนในหมู่บ้าน 36-7% ทางตรง 64-9% และทางโค้ง 19.7% โดยมีสาเหตุมากจาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 39.1% ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด 23.5% จักรยานยนต์มากที่สุด”
ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุจะพบว่ามีความรุนแรงมากขึ้น ทางกรมควบคุมโรคได้คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุประมาณ 300 กว่าคน จึงได้เสนอวิธีป้องกันอุบัติเหตุในช่วงดังกล่าวเอาไว้ 5 หลักการดังนี้
- การบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน
- ถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย
- ยานพาหนะปลอดภัย
- ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย
- การตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งได้ออกมาตรการ 4 หลักรองรับคือ
- สนับสนุนให้แต่ละจังหวัดมีฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
- สายด่วนรับแจ้งเหตุ
- ควบคุมการจำหน่ายสุราสุ่มตรวจ และตั้งรางวัลสำหรับผู้ที่แจ้งเบาะแสของผู้ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
- ขอความร่วมมือจากชุมชนในการตั้งด่านปราบปรามผู้ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
ดังนั้น ถึงแม้ว่า อุบัติเหตุ จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหวังหรือไม่ได้ตั้งใจ และไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่รู้ล่วงหน้าได้ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หากเป็นอุบัติเหตุบนท้องถนนก็คือการป้องกันจากตัวเราก่อนคือตัวผู้ขับขี่ที่ทุกครั้ง เมื่อมีการขับรถเมื่อไหร่ก็ตามจะต้องขับรถด้วยสติสัมปชัญญะครบถ้วน เมาไม่ขับ ขับรถตามกฎหมายการจราจรที่กำหนดไว้ ไม่ฝ่าฝืน มีน้ำใจบนท้องถนนแก่ผู้ร่วมทาง อุบัติเหตุก็จะเกิดขึ้นน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย
นอกจากนี้ทุกคนควรจะ ทำประกันรถ เอาไว้ เพื่อคุ้มครองความเสียหายต่อรถของเรา แม้ว่าบางปีเราอาจจะไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่มีการแจ้งเคลม แต่ก็มีส่วนลดในปีถัดไป ถ้าใครคิดว่าไม่คุ้มค่า หรือไม่รู้จะทำที่ไหนดี ลองโทรมาปรึกษากับทางทีมงาน อีซี่ฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ 02-801-9000 ฟรีน่ะ !
Pingback: โดนใบสั่งจากกล้องตรวจจับความเร็ว จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ - Easyinsure
Pingback: 10 สถานที่เที่ยวหน้าหนาว ขับรถเที่ยวไหนดีเตรียมตัวลางานได้เลย - Easyinsure