จุดเสี่ยงน้ำท่วม
เมื่อพูดถึงพื้นที่ จุดเสี่ยงน้ำท่วม เราจะรู้กันดีว่าปัญหา น้ำท่วม ที่เป็นมานานหลายสิบปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะจัดการปัญหานี้ได้เลยไม่ว่าจะยุคสมัยไหนก็ตาม อีกทั้งตอนนี้ก็มีเรื่องของ น้ำท่วมขังรอระบาย ที่ไม่ใช่น้ำท่วมซะทีเดียว แต่เป็นน้ำที่มาจากฝนตกเพียงไม่กี่นาทีที่ทำให้เส้นทางบนท้องถนนมีน้ำท่วมขังและทำให้การจราจรติดขัดกันยาวเหยียด เป็นปัญหาระดับชาติที่ยังไม่สามารถหาแนวทางป้องกันได้เลย
ปัญหาดังกล่าวทำให้การจราจรบนท้องถนนมีน้ำท่วมขัง ที่เรียกได้ว่า เป็น จุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง ที่เรา ๆ ผู้ใช้รถยนต์ต้องระวังปัญหาน้ำท่วมนี้ เพื่อเตรียมหลีกเหลี่ยงเส้นทางจุดเสี่ยงนี้ไว้ ไม่ให้เครื่องยนต์ต้องเสียกลางถนน และ ไม่ต้องหงุดหงิดกับการจราจรที่ติดขัด เรามาติดตามจุดเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานคร พร้อม วิธีหลีกเหลี่ยงเส้นทางนั้นทำอย่างไร
จุดเสี่ยงน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครที่ต้องเฝ้าระวังปัญหาน้ำท่วมประกอบด้วย
- ถนนพหลโยธิน ช่วงหน้าตลาดอมรพันธ์ และ แยกเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร
- ถนนรัชดาภิเษก ช่วงหน้าธนาคารกรุงเทพ เขตจตุจักร
- ถนนแจ้งวัฒนะ จากคลองประปาถึงคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่
- ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ช่วงแยกเตาปูน เขตบางซื้อ
- ถนนราชวิถี หน้ามหาวิทยาลัยสวนดุสิตถึงเชิงสะพานกรุงธน เขตดุสิต
- ถนนจันทร์ จากซอยบำเพ็ญกุศลถึงไปรษณีย์ยานนาวา เขตสาทร
- ถนนบางขุนเทียนชายทะเล จากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสะแกงาม เขตบางขุนเทียน
- ถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณแยกตัดถนนจันทร์ เขตสาทร
- ถนนสวนพลู จากสาทรใต้-นางลิ้นจี่ เขตสาทร
- ถนนเพชรเกษม จากคลองทวีวัฒนาถึงคลองราชมนตรี เขตบางแค
- ถนนศรีอยุธยา ช่วงหน้า สน.พญาไท เขตพญาไท
- ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ จากถนนเพชรเกษมถึงวงเวียนกาญจนภิเษก เขตบางแค
- ถนนสุวินทวงศ์ ช่วงจากคลองสามวาถึงคลองแสนแสบ เขตมีนบุรี
- ถนนพญาไท ช่วงหน้ากรมปศุสัตว์ เขตราชเทวี
- ถนนงามวงศ์วาน หน้าซอยชินเขต
3 จุดที่ได้แก้ไขในเบื้องต้นแล้ว แต่ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด
- ถนนเจริญกรุง จากถนนแปลงนามถึงแยกหมอมี เขตสัมพันธ์วงศ์
- ถนนเยาวราชฝั่งเหนือ จากถนนทรงสวัสดิ์ถึงถนนราชวงศ์ เขตสัมพันธ์วงศ์
- ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณวงเวียนหลักสี่ หน้า สน.บางเขน เขตบางเขน
วิธีหลีกเหลี่ยงเส้นทาง เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม
- วางแผนเส้นทางและตรวจสอบข่าวสาร – ควรวางแผนเส้นทางการเดินทางแบบมีทางเลือกเผื่อเหลือเผื่อขาด จะช่วยให้เราสามารถหลีกเหลี่ยงการจราจรที่ติดขัดได้บ้าง ก่อนสตาร์รถควรเช็คข่าวสารด้วยว่ามี จุดเสี่ยงน้ำท่วม ในพื้นที่ใดบ้าง การจราจรติดขัด หรือ รถเสียกลางถนน ในเส้นทางที่ต้องขับผ่านหรือไม่ เพื่อหลีก เหลี่ยงเส้นทางนั้น
- ลองศึกษาเส้นทางใหม่ ๆ จากบ้านไปที่ทำงาน – เพราะบางทีอาจจะมีเส้นทางใหม่ ๆ ที่เราอาจจะยังไม่รู้มาก่อน บางทีอาจจะเป็นเส้นทางใหม่ที่ทำให้เราถึงที่ทำงานเร็วขึ้นก็ได้ แถมประหยัดเวลา เชื้อเพลิง และเพื่อหลีกเหลี่ยงการจราจรบนท้องถนนติดขัด หรือ มีปัญหาน้ำท่วมเหล่านี้ได้
- ออกจากบ้านให้เช้าขึ้น – ถ้าบ้านพักอาศัยอยู่ชานเมือง ยิ่งต้องพิจารณาออกจากบ้านให้เช้ากว่าปกติ เพื่อหลีกเหลี่ยงการจราจรในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เวลาที่เหมาะสมอยู่ที่ราว 06.00-06.30 เพราะหากออกจากบ้านช้ากว่านี้ รับรองได้เลยว่าคุณต้องไปทำงานสายแน่นอน
- กลับช้ากว่าเวลาปกติ – หากใครมีความคิดที่ว่า เลิกงานแล้วต้องรีบกลับบ้านจะได้ถึงบ้านไวขึ้น ขอบอกเลยว่าผู้คนส่วนใหญ่ก็มีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน เมื่อเลิกงานแล้วทุกคนต่างรีบกลับในเวลาเดียวกัน ย่อมทำให้การจราจรหนาแน่นยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดสภาพการจราจรติดขัดตามมานั่นเอง ดังนั้นอาจอยู่เคลียรงานค้างให้เสร็จก่อน หรือ เอาเวลานี้มานั่งประชุมแทนวันพรุ่งนี้เช้าไปเลย ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ นอกจากจะทำให้ไม่ต้องหงุดหงิดกับการจราจรแล้ว ยังได้งาน แผนงานทำงานต่อไปอีกด้วย
- หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ – ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า BTS MRT AIRPORT LINK ล้วนเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง ยิ่งโดยเฉพาะระบบรถไฟฟ้าหลากหลายสีสันที่กำลังจะเปิดอีกหลายเส้นทาง ยิ่งเป็นการบ่งบอกถึงความหวังในอนาคตข้างหน้าที่ประชาชนจะสามารถเดินทางได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะยังเป็นการช่วยประหยัดพลังงานและลดมลภาวะจากการที่ทุกคนต่างใช้รถส่วนตัวกันอีกด้วย ทั้งนี้ที่สำคัญที่สุดคือ การลดปริมาณรถในท้องถนนให้น้อยลง เพื่อให้การจราจรคล่องตัวขึ้น ไม่ต้องนำรถยนต์มาเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วม น้ำเข้ารถยนต์ เครื่องยนต์เสียหาย
- ขึ้นทางด่วนแทน – หากเรามีเส้นทางที่สามารถขึ้นทางด่วนแทนได้ ก็ขึ้นทางด่วนไปซะ นอกจากจะไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาน้ำท่วม แล้วยังไม่ต้องเสี่ยงกับการจราจรที่ติดขัดจากน้ำท่วมด้วย ถึงบ้านเร็วกว่าเดิมอีกด้วย
ถึงแม้ว่าปัญหาน้ำท่วมขังรอระบายในแต่ละเขตแต่ละพื้นที่ จะยังไม่สามารถหาทางแก้ไขปัญหาได้เลย แต่เราสามารถเผชิญหน้ากับปัญหาน้ำท่วมนี้ได้ ด้วยการติดตามข่าวสารในช่วงฝนตกหนัก มีน้ำท่วมขัง และวางแผนการเดินทางล่วงหน้า หลีกเหลี่ยงเส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง หรือลองใช้บริการรถสาธารณะ รถไฟฟ้า เหล่านี้ได้ เพื่อการเดินทางไปถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย ไม่อารมณ์เสีย ไม่เสียงาน ไม่เสียเวลาบนท้องถนนอีกต่อไป
ประกันภัยรถยนต์น้ำท่วมรถ
สำหรับใครที่ทำประกันน้ำท่วมรถเอาไว้แม้จะต้องขับรถฝ่า จุดเสี่ยงน้ำท่วม ก็อุ่นใจได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม เช่น ซ่อมเรา + ซ่อมคู่กรณี + ไฟไหม้รถ + รถสูญหาย + น้ำท่วมรถ ซึ่งแม้แต่น้ำท่วมยันหลังคารถก็คุ้มครองนะ ดังนั้นอย่าลืมนะครับการทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นเรื่องสำคัญ และไม่ควรมองข้าม ฝากไว้เพียงเท่านี้นะครับ ขับขี่ปลอดภัย มีน้ำใจร่วมกันบนท้องถนนนะ ^^
Pingback: ขับรถลุยน้ำ แล้วรถดับ สตาร์ทไม่ติดประกันจ่ายไหม ให้ความคุ้มครองอย่างไร