ทะเบียนขาดประกันจ่ายไหม
โดยปกติรถยนต์ทุกคันที่วิ่งตามท้องถนนจำเป็นอย่างยิ่งต้องต่อทะเบียนรถ หรือ ชำระภาษีรถยนต์ทุกปี หากรถยนต์คันใด ทะเบียนขาดประกันจ่ายไหม หรือ ไม่ได้ไปต่อทะเบียนชำระภาษีให้ถูกต้อง มีโทษปรับการต่อทะเบียนล่าช้าตามบทลงโทษสำหรับผู้ที่ขาดต่อทะเบียน สำหรับผู้ที่จ่ายภาษีรถยนต์ล่าช้า จะต้องเสียค่าปรับ โดยคิดเป็นร้อยละ 1 ต่อเดือน จากค่าภาษีรายปีที่ต้องจ่าย
การจดทะเบียนรถใหม่ หลังจากที่ได้ถอยรถใหม่ออกมาจากศูนย์ หรือ รถยนต์ที่ออกมาใหม่ป้ายแดง จำเป็นต้องจดทะเบียนรถใหม่ทุกคัน หากคันใดไม่ได้ทำเรื่องจดทะเบียนรถใหม่ จะผิดต่อกฎหมายและมีบทลงโทษตามมาตรา 59 ปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ไม่เกิน 10,000 บาท แต่ได้มีการอนุโลมให้ใช้รถใหม่ป้ายแดงได้ไม่เกิน 1 เดือนหรือไม่เกิน 3,000 กิโลเมตร หากเกินกว่านี้ถือว่าจงใจที่จะหลีกเหลี่ยงการจดทะเบียนให้ดำเนินการจับกุมทันที
ทำไมต้องต่อทะเบียนรถยนต์ทุกปี
การต่อภาษีรถยนต์ หรือการต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ ต้องทำตามกฎหมาย หากมีรถยนต์เอาไว้ในครอบครองเพราะนี่ถือเป็นสิ่งที่จะครอบคลุม ช่วยให้เพื่อนๆและบุคคลที่ 3 หากเกิดความเสียหายจากรถยนต์ที่เพื่อนถือครองนั้นเอง
การต่อภาษีรถยนต์บังคับให้ทำทุกปี โดยสามารถต่อล่วงหน้าได้ก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน จำไว้ว่าการต่อภาษีรถยนต์นี้จำเป็นต้องทำทุกปี หากชำระล่าช้าอาจถูกปรับได้ และหากขาด ชำระติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี รถยนต์จะถูกระงับการใช้ทะเบียน และต้องทำเรื่องขอทะเบียนใหม่ ให้ยุ่งยากไปอีก
สำหรับผู้ที่มีรถยนต์และไม่รู้ว่าการที่ ทะเบียนขาดประกันจ่ายไหม ให้คิดซ่ะว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องต่อทะเบียนรถในทุกๆปี การต่อประกันภาษีรถยนต์ และการต่อทะเบียนรถยนต์ บางคนอาจจะเกิดความสงสัยแต่ก็ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าทำไมเราถึง จำเป็นจะต้องมีการต่อทะเบียนรถยนต์ ทั้ง ๆ ที่เล่มทะเบียนรถก็เป็นชื่อของผู้ใช้ เจ้าของรถอยู่ หรือ ของคนที่เรารู้จักอยู่ รถยนต์ก็ถือเป็นทรัพย์สินที่มีการซื้อขายและโอนประกัน ได้มีการเคลื่อนที่โดย เครื่องยนต์และมีการเสื่อมสภาพได้ จึงจำเป็นต้องมีการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี เพื่อให้แน่ใจ ในเรื่องของสิทธิครอบครองตามกฎหมายที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือครองและเหตุผลเรื่องอื่น
การต่อทะเบียนรถยนต์ก็เหมือนกับเป็นการต่ออายุให้กับรถยนต์สามารถวิ่งบนท้องถนนได้ต่อไปไม่ใช่เพียงแค่การจ่ายเงินให้กับกรมขนส่งทางบกแล้วก็นำรถออกมา เพราะตรงจุดนี้ยังถือเป็นการบังคับ ให้ตรวจสอบสภาพการใช้งานของรถเบื้องต้นไปในตัวด้วยว่ารถยนต์ของคุณยังคงสามารถใช้งานได้ ตามปกติ และไม่สุ่มเสี่ยงที่จะไปสร้างอุบัติเหตุรถเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่ได้
นอกจากนี้ฐานข้อมูลที่คุณได้ทำการต่อทะเบียนรถยนต์เอาไว้ก็จะถูกบันทึกไว้อยู่ตลอดทุกปีว่ารถยนต์ของคุณเป็นรถที่สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการตรวจสภาพรถยนต์ ชำระภาษี และ พ.ร.บ.ประจำปีอย่างถูกต้อง และเป็นการตรวจสอบว่าไม่มีรถยนต์คันอื่นที่แอบสวมรอยใช้ทะเบียน ปลอมที่เหมือนกับรถยนต์ของคุณ เรื่องนี้สำคัญมากเพราะหากเกิดเหตุอาชญากรรม โดยรถยนต์คันที่ สวมทะเบียนรถยนต์ของคุณ คุณก็อาจจะตกเป็นผู้ต้องหาถูกสอบสวนได้
การต่อทะเบียนรถยนต์เป็นเรื่องของกฎหมายเป็นหลักสำคัญทุกวันนี้คนใช้รถใช้ถนนกันมาก หน้าหลายตา มันจึงจำเป็นต้องมีการระบุผู้ใช้อยู่ทุก ๆ ปี นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยย้ำเตือน คุณไม่ให้ คุณลืมทำการต่อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับด้วย เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วมันจะเป็นของที่มาคู่กัน และจ่ายเงินคู่กันอยู่แล้วสำหรับ 2 เรื่องนี้ เวลาเกิดอุบัติเหตุผู้ประสบเหตุจะได้รับความคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถรถยนต์
นอกจากข้อดีต่าง ๆ ของการต่อทะเบียนรถยนต์ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมีมาตรการที่ใช้ บังคับสำหรับรถยนต์ที่ไม่ได้ทำการต่อทะเบียนรถยนต์ด้วย คือหากไม่ต่อทะเบียนรถยนต์นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถยนต์จะถูกระงับไปหากต้องการใช้รถยนต์จะต้องทำเรื่องกับกรมการขนส่งทางบกอีกครั้ง ดังนั้นควรตรวจสอบว่าตนเองต้องใช้รถยนต์อยู่เป็นประจำ เพื่อต่อเนื่องก็ควรจะต่อทะเบียนรถยนต์ ภายในกำหนดเวลาประจำปีจะดีที่สุด
ทะเบียนขาด คืออะไร
รถยนต์ที่ขาดการชำระภาษี หรือ ไม่ได้ไปต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี ซึ่งหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคนที่มีทะเบียนขึ้นอยู่กับกรมขนส่งทางบก จะต้องมีหน้าที่ชำระภาษีการใช้รถเป็นประจำทุกปี ซึ่งถ้าหาก ทะเบียนขาด หรือ ไม่ไปต่อทะเบียนรถประจำทุกปี เมื่อตำรวจพบเจอว่ารถคุณ ทะเบียนขาด จะต้องเสียค่าปรับ 200 บาท
บทลงโทษสำหรับผู้ที่ขาดต่อทะเบียน สำหรับผู้ที่จ่ายภาษีรถยนต์ล่าช้า
จะต้องเสียค่าปรับโดยคิดเป็นร้อยละ 1 ต่อเดือน จากค่าภาษีรายปีที่ต้องจ่าย เช่น ค่าภาษีรถปีละ 1500 บาท จะโดนค่าปรับล่าช้า เดือนละ 15 บาท แต่ถ้าขาดต่อเป็นระยะเวลาเกิน 3 ปี จะถูกยึดเลข ทะเบียน ต้องติดต่อกับทางกรมขนส่งเพื่อยื่นเรื่องทำป้ายทะเบียนใหม่
สรุปก็คือ ทะเบียนขาดประกันจ่ายไหม ให้ทำความเข้าใจก่อนว่าการ ทำประกันภัยรถยนต์ ไม่เกี่ยวข้อง การต่อภาษี เพราะ การต่อภาษี คือภาษีที่ต้องชำระประจำปีให้กับขนส่งหรือภาครัฐ แต่การประกันภัยหรือการเลือกซื้อประกันภัยคือ การซื้อความคุ้มครองการเสี่ยงภัยกับบริษัทประกันภัย ถ้ารถที่เราใช้อยู่ ทะเบียนขาด หรือ แม้แต่ขาดต่อ พ.ร.บ. แต่ประกันรถยนต์ที่เราทำไว้ไม่ขาด หรือ ได้ทำประกันภัยรถยนต์สมัครใจไว้ ก็ ยังอยู่ในความคุ้มครอง ประกันภัยจ่ายในทุกกรณีแน่นอน