ผู้รับประกันภัย
ผู้รับประกันภัย (The Insurer) คือ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยทั่วไปคือบริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาต ตามกฎหมายจากกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ในการรับเบี้ยประกัน และ มีหน้าที่พิจารณารับประกันภัย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามที่ระบุไวัในสัญญา ในการชดใช้นั้น อาจจะชดใช้เป็นเงินสดหรือการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมหรือการหาของชิ้นใหม่ มาแทนที่ได้รับความเสียหายก็ได้
สิทธิและหน้าที่ของผู้รับประกันภัย
1. สิทธิรับเบี้ยประกันภัย
เมื่อผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงิน ซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย เป็นการตอบแทนการเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยแล้วสัญญาประกันภัยย่อมเกิดขึ้นสมบูรณ์ และก่อให้เกิดหนี้ หรือ หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องชำระเบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกัน ผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ที่จะฟ้องเรียกร้องให้ผู้เอาประกันภัย ชำระเบี้ยประกันภัย ภายในอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่สิทธิจะเรียกให้ชำระเบี้ยประกันภัย ถึงกำหนด และเนื่องจากสัญญาประกันภัย เป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้รับประกันภัยจึงอาจปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน เมื่อเกิดวินาศภัย หากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม : ผู้เอาประกันภัย หมายถึงใคร ทำไมถึงระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
2. สิทธิ์ลดค่าสินไหมทดแทน
กรณีคู่สัญญาได้กำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยซึ่งก็คือส่วนได้เสียไว้ หากผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์ได้ว่า ราคาแห่งมูลประกันตามที่ได้ตกลงเป็นจำนวนสูงเกินกว่า ราคาส่วนได้เสียตามความเป็นจริง ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิ์ได้ลดจำนวนทดแทน ขณะเดียวกัน ก็มีหน้าที่คืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วน ของจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ลดลง ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จะต้องคืนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
3. กรณีผู้เอาประกันภัยล้มละลาย
ตามกฎหมายระบุว่าขอเอาประกันภัยทุกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายผู้รับประกันภัยดังนี้
- เรียกให้ผู้เอาประกันภัยหาประกันอันสมควรให้แก่ตนประกันอันสมควร หมายถึง หลักประกันที่พอสมควรแก่จำนวนนี้ที่ฝ่ายผู้เอาประกันภัยรับเบี้ยประกันภัยนั่นเอง
- บอกเลิกสัญญา แต่ในการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาในกรณีนี้ กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยได้ส่งเบี้ยประกันภัยไปแล้วจำนวนเพื่ออายุุประกันภัยเป็นเวลามาก น้อยเท่าใด ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลานั้นสิ้นสุด แต่ผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ โดยกระทำดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม : วิธียกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องง้อบริษัทประกันภัย
4. สิทธิเรียกให้ผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์ใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อมีความวินาศเกิดขึ้น เพราะภัยดังระบุในสัญญา หากผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบภัยแล้ว ไม่ได้มีการแจ้งเหตุแก่ ผู้รับประกันภัย โดยไม่ชักช้า ตามหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัย ได้รับความ เสียหาย เช่น การแจ้งเหตุล่าช้าทำให้สภาพของทรัพย์ที่ถูกวินาศภัยนั้นแปรสภาพ จนไม่สามารถตรวจพิสูจน์ ได้ด้วยวิธีการธรรมดาได้ ผู้รับประกันภัยจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประเมินราคา ความเสียหายเพิ่มขึ้นกว่าปกติมาก หรือ การแจ้งเหตุล่าช้า ทำให้รถยนต์ที่เอาประกันภัยถูกขโมยไปเป็นเวลานาน
ผู้รับประกันภัยต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ในการสืบหาติดตามรถยนต์คันดังกล่าว คืนเป็นต้น กฎหมายบัญญัติให้ ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์แล้วแต่กรณี ต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประกันภัย เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดจากการแจ้งเหตุ วินาศภัยล่าช้า เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยหรือ ผู้รับประโยชน์นั้น พิสูจน์ได้ว่า ไม่สามารถจะแจ้งเหตุ โดยไม่ชักช้าได้จึงจะไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
5. สิทธิบอกเลิกสัญญาตามกฎหมาย
เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องทำไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้รับประกันใช้สิทธิ์เลิกสัญญาประกันภัยเสียก็ได้ ได้ส่งเบี้ยประกันภัยแล้วเพื่ออายุประกันภัย เป็นระยะเวลาเท่าใด ห้ามมีให้ผู้รับประกันภัยใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาก่อนพ้นระยะเวลานั้น
6. สิทธิ์รับช่วงสิทธิ์
ถ้าความวินาศภัยการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ์ผู้เอาประกันประโยชน์ และของผู้รับประโยขน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น ถ้าผู้รับประกันภัยมาทดแทนเป็นเพียงบางส่วน ถ้าไม่ให้ผู้รับประกันภัยนั้นใช้สิทธิ์ของตนให้เสื่อมเสียผู้เอาประกันภัย และ ผู้รับผลประโยชน์ ในการที่เขาจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกเพื่อเศษแห่งจำนวนวินาศภัยนั้น
กล่าวคือ หากเกิดเหตุการณ์วินาศภัยขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิ์เลือกที่จะเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอก หรือเรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัย ตามสัญญ า ประกันภัยก็ได้ แต่ถ้าผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิ์เรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัย ซึ่งสะดวกกว่า แล้วผู้รับประกันภัยก็รับช่วงสิทธิ์ของผู้เอาประกันภัยไปเรียกร้อง เอาจากบุคคล ภายนอกนั้นต่อไปได้
7. หน้าที่ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย
ผู้รับประกันภัยจะต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย ให้กับผู้เอาประกันภัย โดยข้อความถูกต้องตามสัญญาประกันภัย และต้องระบุรายการตามที่ กฎหมายกำหนด ถึงแม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนดไว้กรมธรรม์ ประกันภัยนั้นก็มิได้เสียไปแต่อย่างได
8. หน้าที่คืนเบี้ยประกันภัย
ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องคืนเบี้ยประกันภัยตามกรณีดังต่อไปนี้
- การคืนเบี้ยประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัยคือ
- กรณีผู้เอาประกันภัยขอยกเลิกสัญญาก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ตามกฎหมายผู้รับประกันภัยต้องคืนเบี้ยประกันภัยให้กึ่งหนึ่ง
- กรณีผู้เอาประกันภัยขอลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย นอกจากเงินประกันภัยลดน้อยถอยลงไปมากระหว่างอายุสัญญาประกันภัย กฎหมายบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องคืนเบี้ยประกันภัยตามส่วนเฉพาะที่ยังไม่ได้เสียง ภัยในอนาคต
- กรณีผู้รับประกันภัย ขอลดจำนวนค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจากราคาแห่งมูล ประกันภัย ที่ได้ตกลงกันไว้นั้นมีจำนวนสูงเกินกว่าความเป็นจริงมาก หากเป็นเช่นนี้ กฎหมายกำหนดให้ผู้รับประกันภัยต้องคืนเบี้ยประกันภัยตามส่วนของจำนวนค่าสินไหม ทดแทน ที่ขอลดพร้อมทั้งเสียดอกเบี้ยด้วย
- การคืนเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา กรณีบอกเลิกสัญญาตามเงื่อนไข ของสัญญาโดยมีเงื่อนไขเบี้ยประกันภัยด้วย
- การคืนเบี้ยประกันภัยตามพรบประกันวินาศภัย พ. ศ. 2535 ในกรณีดังต่อไปนี้
- กรณีผู้เอาประกันภัยขอยกเลิกสัญญา ผู้รับประกันภัยออกกรมธรรม์ประกันภัยโดย ใช้ข้อความที่นายทะเบียนประกันวินาศภัยไม่ได้เห็นชอบ ผู้รับประกันภัยต้องคืน เบี้ยประกันภัยทั้งสิ้นที่ได้รับชำระไว้แล้วให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- กรณีผู้เอาประกันภัยของเลิกสัญญา เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่า การกำหนดจำนวนซึ่งเอาประกันไว้เกินกว่าราคาของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย จึงได้รายงานไปยังไงทะเบียน เพื่อมีคำสั่งให้ลดจำนวนเงินซึ่งเอา ประกันภัย ลงตามที่เห็นสมควร แต่ก็ไม่ต่ำกว่าราคาทรัพย์สินที่เอาประกัน จากกรณีนี้ กฎหมายให้สิทธิ์ผู้เอาประกันภัยซึ่งต้องเสียสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม จำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้แต่เดิม บอกเลิกสัญญาประกันภัยได้ภายใน 3 วันนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียนและให้ผู้รับประกันภัยคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาที่เอาประกันภัย
9. หน้าที่ใช้ค่าสินไหมทดแทน
ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นดังระบุไว้ในสัญญา
- บุคคลที่มีสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมทดแทน รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลซึ่งมีสิทธิ์รับค่าสินไหมทดแทน ได้แก่
- ผู้เอาประกันภัย โดยปกติผู้รับประกันภัยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย
- ผู้รับผลประโยชน์ กรณีผู้เอาประกันภัยระบุในกรมธรรม์ประกันภัยให้บุคคลภายนอกของผู้รับผล ประโยชน์ สัญญาประกันภัยนั้นย่อมเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ต่อบุคคลภายนอก ดังนั้นบุคคลภายนอกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยได้ก็ต่อเมื่อ บุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยแล้ว และผู้เอาประกันภัยจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ์นั้นอีกไม่ได้
- ผู้รับช่วงทรัพย์ตามกฎหมาย กรณีทรัพย์ที่จำนอง จำนำ รู้อยู่ในบุริมสิทธิ อย่างอื่นนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้เอาประกันภัยไว้ กรณีให้สิทธิจำนอง จำนำ หรือ บุริมสิทธินั้นครอบคลุมถึงสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัย
- ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้รับประกันวินาศภัยจะต้องใช้ได้แก่
- ค่าสินไหมทดแทนเพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ใช้ค่าสินไหม ทดแทนไม่เกินจำนวนความเสียหายอันแท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับจากวินาศภัยที่เกิดขึ้น ตามหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของ สัญญาประกัน วินาศภัย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันให้ผู้เอาประกันภัย ได้กำไรจากการทำสัญญาประกันภัย
- ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์ที่เอาประกันภัยวินาศภัยผู้รับประ กันภัยยังมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนความบุบสลายการเกิดแก่ทรัพย์ ที่เอาประกัน วินาศภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อปัดป้องวินาศภัยอันเกิดแก่ทรัพย์ด้วย
- ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินที่เอา ประกันภัยไว้มิให้วินาศ
- การใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีทำสัญญาประกันวินาศภัยไว้หลายรายการ ประกันภัย หลายราย หมายถึง การที่ผู้เอาประกันภัยนำทรัพย์อย่างเดียวไปประกันวินาศภัยไว้กับ ผู้รับประกันมากกว่าหนึ่งราย สามารถพิจารณาสาระสำคัญของการประกันภัยหลายรายการได้ดังนี้
- ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นคนเดียวกัน
- วัตถุที่เอาประกันภัยต้องเป็นสิ่งเดียวกัน
- เหตุแห่งความพินาศหรือความเสียหายต้องเป็นชนิดเดียวกัน
- กรณียกเว้นพี่ผู้รับประกันวินาศภัยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามกฎหมายผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์ ดังนี้
- กรณีวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยมีผู้รับประโยชน์ หากวินาศภัยเกิดขึ้นเนื่องมาจาก ความทุจริต มีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลอื่น ซึ่งแม้จะเป็น ผู้ที่ใกล้ชิด ผู้รับประกันภัยก็ยังคงต้องรับผิดไม่อาจอ้างข้อยกเว้น ความรับผิดตามที่กฎหมายระบุได้
- กรณีวินาศภัยเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากความไม่สมประกอบในเนื้อหาแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยไม่ใช่เกิดจากเหตุภายนอก ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในการ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
สรุปง่ายๆก็คือ ผู้รับประกันภัย หมายถึง บริษัทประกันภัยที่เป็นผู้ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัย พูดกันภาษาบ้านๆก็คือ บริษัทประกันภัยรับประกันประเภทต่างๆ ที่เราต้องการซื้อความคุ้มครอง โดยเราต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน เป็นการแลกเปลี่ยนความเสี่ยง จากที่เราต้องเก็บความเสี่ยงไว้เองก็โยนให้บริษัทประกันเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบ แต่ย้ำว่าไม่ใช่ทั้งหมด ย้ำ !!! ไม่ใช่ทั้งหมดนะอย่าคิดว่าบริษัทประกันเป็นเทวดาคุ้มครองทุกสรรพสิ่ง ดังนั้นผู้ร่วมรับผิดชอบ เราผิดเราก็ต้องรับผิดชอบตนเองด้วยนะ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงาน อีซี่ อินชัวร์ โบรกเกอร์ประกันภัย ดูแลด้วยใจ ประกันภัยง่ายนิดเดียวนะจ๊ะ
Pingback: หนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note) คืออะไร - Easyinsure