ประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพ (Health insurance) คือ การประกันภัยที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยบริษัทประกันภัยจะต้องทำสัญญาชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กับผู้เอาประกันภัย เช่น ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยประกันสุขภาพจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- การประกันสุขภาพและอุบัติเหตุแบบเดี่ยว
- การประกันสุขภาพและอุบัติเหตุแบบกลุ่ม
ประกันสุขภาพแบบไหนดี คุ้มครองอะไรบ้าง
ก่อนเลือกซื้อความคุ้มครอง เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่าประกันสุขภาพมีกี่แบบ แต่ละแบบมีความคุ้มครองอะไรบ้าง เพื่อช่วยให้เพื่อนๆตัดสินใจง่ายขึ้น เพื่อนๆจะต้องรู้ว่าแผนประกันแบบใดเหมาะสมกับเรามากที่สุด และคุ้มค่ามากที่สุดนั่นเอง โดยแบ่งออกเป็น 5 แบบดังนี้
1. ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD)
การประกันสุขภาพผู้ป่วยใน คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง กรณีที่ผู้เอาประกันเจ็บป่วย โดยรวมถึงการที่โรงพยาบาลรับตัวผู้ป่วยหรือผู้เอาประกันไว้ แต่เสียชีวิตลงภายใน 6 ชั่วโมงนั่นเอง
2. ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD)
การประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันได้รับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่า 6 ชั่วโมง หรือไม่จำเป็นต้องรักษาตัว หรือผู้เอาประกันสุขภาพมีอาการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง เช่น การเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย การฉีดวัคซีน เป็นต้น
3. ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ECIR)
การประกันสุขภาพโรคร้ายแรง คือ ความคุ้มครองเกี่ยวกับโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง เป็นโรคที่ต้องใช้การรักษาเป็นระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, เนื้องอก หรือโรคที่เกิดจากการบาดเจ็บร้ายแรง เป็นต้น
4. ประกันอุบัติเหตุ (PA)
การประกันอุบัติเหตุ คือ ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยเกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บ ส่งผลให้ผู้เอาประกันต้องได้รับการรักษาพยาบาล ดังนั้นผลจากการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งไม่ว่าผู้เอาประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ จะมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย หรือทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันจะต้องรับผิดชอบชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาตัวผู้เอาประกัน ถ้าหากว่าผู้เอาประกันต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนด้วย
5. ประกันชดเชยรายได้
การประกันชดเชยรายได้ คือ ความคุ้มครองเกี่ยวกับรายได้ของผู้เอาประกันระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยบริษัทประกันจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนเป็นรายวันให้ เป็นการชดเชยรายได้เมื่อผู้เอาประกันภัยไม่สามารถทำงานได้จากการรักษาตัว โดยจะต้องแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ เงินชดเชยรายได้เป็นเพียงจำนวนเงินที่ชดเชยรายได้ตามที่บริษัทประกันกำหนดเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงการชดเชยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกัน
ทำไมต้องทำประกันสุขภาพ
แน่นอนว่าการทำประกันสุขภาพ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกัน แต่ส่วนใหญ่จะทำประกันชดเชยรายได้ควบคู่กับประกันสุขภาพเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและได้รับเงินชดเชยรายได้ระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั่นเอง
เชื่อว่าหลังจากที่เพื่อนๆได้อ่านข้อมูลที่ทีมงานแนะนำไปเบื้องต้น จะช่วยให้เพื่อนๆตัดสินใจในการทำประกันสุขภาพได้ดีมากขึ้น สิ่งเดียวที่อยากจะบอกก็คือ แผนประกันทุกรูปแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากต้องการความคุ้มครองที่คุ้มค่ามากที่สุดให้ดูความต้องการของเราเป็นหลัก ก่อนที่จะเลือกแผนประกันและเปรียบเทียบราคาของแต่ละบริษัทประกันภัย และอย่าหลงเชื่อคนอื่นที่มาเชียร์ว่าแบบนี้ดีแบบโน้นดี เพราะสุดท้ายแล้วคุณจะรู้ด้วยตนเองว่า แผนประกันสุขภาพแบบใดเหมาะสมกับคุณมากที่สุด
สนใจทำประกันสุขภาพ : เปรียบเทียบราคาประกันสุขภาพและแผนประกันที่คุ้มค่ากับสิ่งที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด
Pingback: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีสาเหตุเกิดจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงและอาการเบื้องต้น
Pingback: โรคมะเร็งรังไข่ สาเหตุเกิดจากอะไร อาการเบื้องต้นและวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง
Pingback: โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายไหม - Easyinsure
Pingback: โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอาการอะไรบ้าง พร้อมการรักษาด้วยการผ่าตัด
Pingback: โรคมะเร็งตับ เกิดจากสาเหตุอะไร มีกี่ประเภทและมีกี่ระยะ - Easyinsure
Pingback: ประกันสุขภาพครอบครัว ที่ไหนดี ทำประกันทั้งครอบครัวแบบคุ้มค่า ราคาถูก
Pingback: ชาวต่างชาติทำประกันได้ไหม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง อยู่เมืองไทยก็เสี่ยงนะรู้ยัง
Pingback: ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไหนดี อายุ 60-80 ปีขึ้นไป แบบไหนดีกว่ากัน ในปี 2562
Pingback: ประกันกลุ่ม คืออะไร ราคาเท่าไหร่ ประกันภัยกลุ่มแต่ละประเภทคุ้มครองอะไรบ้าง
Pingback: ซื้อประกันสุขภาพเด็ก ให้ลูกน้อย ลูกรัก เด็กแรกเกิด ที่ไหนดี คุ้มครองคุ้มค่า ราคาถูก
Pingback: ชวนส่องดู กรมธรรม์ประกันภัย แต่ละประเภทว่ามีความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ?
Pingback: ประกันสุขภาพที่ไหนดี เปรียบเทียบราคาและบริการ ราคาถูกที่สุด ในปี 2562