ขับรถตกเขา ขับรถตกเหว
เรามักจะเห็นข่าว ขับรถตกเขา ขับรถตกเหว เป็นจำนวนมาก และจะเกิดขึ้นในทุก ๆ ปี อาจเป็นเพราะภัยธรรมชาติ ความประมาทของผู้ขับขี่ หรือสภาพรถยนต์ โดยเฉพาะภาคเหนือที่ถนนจะมีลักษณะขึ้นเขา แล้วยังมีเหวลึกลงไป ขนาดคนพื้นที่ยังบอกว่าเลยน่ากลัว แล้วถ้าคนไม่ชินหรือไม่ใช่คนพื้นที่จะเป็นเช่นไร รถที่ตกเขาส่วนใหญ่จะเป็นรถบรรทุก รถโดยสารประจำทาง เบรกแตกบ้าง คนขับเมาบ้าง โดยเฉพาะรถประจำทางที่ต้องพาหลายชีวิตไปด้วย ผู้ขับขี่ควรจะระมัดระวังให้มากที่สุด เพราะไม่มีใครอยากให้เกิดเรื่องแบบนี้กับตนเองอย่างแน่นอน แต่ถ้าเกิดแล้วมีวิธีเอาตัวรอดอย่างไร มาดูกันเลย
ขับรถตกเขามีวิธีเอาตัวรอดอย่างไร ?
คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับวิธีเอาตัวรอดกัน เนื่องจากหลายคนคิดว่าเรื่องแบบนี้คงไม่เกิดขึ้นกับตนเอง แต่อะไรที่ไม่แน่นอน และไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ หนึ่งในนั้นอาจเป็นคุณ ในเมื่อคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้เราก็มาดูวิธีเอาตัวรอดหากเราขับรถตกเขากันเลย
1. ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนเดินทาง
“กันไว้ดีกว่าแก้” อย่าให้เกิดเรื่องแล้วค่อยมานั่งตรวจเช็ค ก่อนเดินทางควรตรวจเช็คสภาพรถยนต์ให้เรียบร้อย ระบบเบรก ที่ปัดน้ำฝน ช่วงล่าง และอื่น ๆ โดยให้นำรถยนต์ไปเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์ หรืออู่ที่ไว้ใจได้ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง บางคนเสียดายเงินอะไรพังค่อยซ่อม หรือดูอาการไม่เป็น วิธีแก้ไขคือการตรวจเช็คตามระยะที่กำหนด เพราะทางศูนย์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ จะรู้ว่าถึงกี่กิโลเมตรหรือระยะเวลาเท่าไหร่ถึงควรจะนำรถเข้าตรวจเช็ค เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดและอะไหล่ที่มีการสึกหรอ
2. เตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่
รถพร้อมคนพร้อม คือ สัญญาณที่ดีในการเดินทาง ก่อนสตาร์ทรถควรตรวจสอบโดยรอบของรถให้เรียบร้อย ให้ผู้ขับขี่ตั้งสติก่อนสตาร์ท และให้ทุกคนคาดเข็มขัดให้เรียบร้อยทุกครั้งเมื่อขึ้นรถ ทำไมถึงต้องคาดเข็มขัดทุกคน นอกจากกฎหมายจะบังคับแล้วหาก ขับรถตกเขา หรือ ขับรถตกเหว รถเสียหลักพุ่งลงไปจะไปชนกับต้นไม้ หิน และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถุงลมไม่สามารถช่วยได้เต็มที่ การคาดเข็มขัดจึงช่วยลดความรุนแรงลงได้ เพราะเมื่อคุณคาดเข็มขัด เข็มขัดจะช่วยไม่ให้คุณไปกระแทกกับกระจกหน้ารถ ป้องกันคุณกระเด็นออกไปนอกตัวรถนั่นเอง
3. ขับรถตกเขาต้องตรวจสอบอะไรบ้าง
เมื่อขับรถตกเขาหากรถหยุดแล้วให้คุณพยายามปลดเข็มขัดแล้วเคลื่อนตัวออกมาจากรถให้เร็วที่สุด หากมีคนอื่นมาด้วยให้เราเดินไปดูประตูว่าเปิดได้ไหม แล้วปลดเข็มขัดทุกคน ตรวจสอบว่าใครบาดเจ็บมากหรือน้อย แต่ถ้าหากไม่มีใครสามารถลุกขึ้นเดินได้ หรือบาดเจ็บสาหัส ให้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อโทรขอความช่วยเหลือ ถ้าโชคร้ายแบบว่าแถวนั้นไม่มีสัญญาณอีก ให้คนที่บาดเจ็บน้อยหรือไม่ได้รับการบาดเจ็บตะโกนให้ดังที่สุดเพื่อขอความช่วยเหลือจากคนที่ผ่านไปมาแถวนั้น โดยให้ช่วยจากเด็กไปผู้ใหญ่ หรือจากคนที่บาดเจ็บมากไปน้อย โดยใช้สติให้มากที่สุด
4. แจ้งรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่
เมื่อได้รับการช่วยเหลือ ให้คนที่มีสติและได้รับการบาดเจ็บน้อยที่สุด แจ้งรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าคุณกำลังจะเดินทางไปไหน เหตุเกิดเพราะอะไร เช่น ถนนลื่น , ฝนตกทำให้มองเห็นทางไม่ชัดเจน , คนขับเมา หรือเล่นโทรศัพท์ขณะขับรถ บอกรายละเอียดที่เป็นความจริง เพราะถ้าคุณให้การเท็จจะโดนข้อหาเข้าตัวไปอีก เพื่อเจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลไปตรวจสอบคู่กับที่เกิดเหตุ และอาจมีการนำป้ายหรือที่กั้นทางไปติดตั้งเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเช่นนี้อีก
5. แจ้งบริษัทประกัน
เมื่อรักษาตัวเรียบร้อยให้แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ เพื่อนำรถเข้าเคลม หรือประเมินว่ารถควรซ่อมหรือไม่ เพื่อดำเนินการตรวจสอบ เมื่อเรื่องรถเสร็จสิ้น ก็แจ้งบริษัทประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิต เพื่อรับค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายต่าง ๆ เมื่อเราแจ้งทั้งหมด บริษัทประกันจะดำเนินเรื่องให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเรา โดยระยะเวลาดำเนินการจะอยู่ที่ประมาณ 3-15 วัน แล้วแต่บริษัทประกัน
หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับคุณ แนะนำว่าอย่าห่วงรถหรืออะไรเลย รักษาตนเองและคนที่ไปด้วยให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วค่อยมาจัดการทีละเรื่อง ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บันทึกรูปภาพไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเอาใบบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจมายื่นต่อบริษัทประกันว่าเรา ขับรถตกเขา หรือ ขับรถตกเหว จริง ๆ เพื่อรับความคุ้มครองต่อไป เรื่องแบบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดขึ้นก็ควรจะเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดของตนเองและคนที่ไปด้วย โดยเฉพาะสติที่ต้องมีหากเกิดเหตุเช่นนี้
แนะนำโดย : Easyinsure โบรกเกอร์ประกันภัยที่ ดูแลด้วยใจ จนเรื่องของประกันภัย ง่ายนิดเดียว