เช็คสภาพรถยนต์

วิธีการตรวจสภาพรถยนต์ ( ตรอ. ) ต่อภาษีรถยนต์ 7 ปี ต้องทำอย่างไรบ้าง

ตรวจสภาพรถยนต์

การขับขี่รถบนท้องถนน ความพร้อมของรถเป็นสิ่งสำคัญ และต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี ยิ่งใครที่ต้องขับขี่รถทุกวันหรือเดินทางไกลบ่อยยิ่งสมควร ตรวจสภาพรถ เป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่เอง และผู้ที่คนที่ร่วมเส้นทาง หากรถมีปัญหาจะได้นำไปแก้ไขได้ทัน และไม่ควรนำรถที่สภาพไม่พร้อมใช้งานออกมาวิ่งบนท้องถนน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

การตรวจสภาพรถยนต์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารเกิดความปลอดภัย รวมทั้งผู้ที่ร่วมใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆด้วย ซึ่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 รถที่ต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเสียภาษี คือ

1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุกรใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป

2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป

3 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป

4 รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป

สถานที่ตรวจสภาพรถ

ผู้ขับขี่สามารถนำรถยนต์เข้าไปตรวจสภาพก่อนการยื่นต่อภาษี ได้ที่

1 สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก

2 ยกเว้น

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม จะต้องตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
  • รถของส่วนราชการ บุคคลในคณะผู้แทนการทูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ จะตรวจสภาพที่ ตรอ. หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
  • รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ ให้นำรถไปตรวจสภาพ ร หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก

ระยะเวลาที่จะต้องนำรถไปตรวจสภาพ

การตรวจสภาพรถ เจ้าของรถสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี

อัตราค่าตรวจสภาพรถ

1 รถจักรยานยนต์ ราคา คันละ 60 บาท

2 รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท

3 รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท

ในการไปตรวจสภาพรถนั้น เจ้าของรถต้องนำรถคันที่จะตรวจสภาพและคู่มือรถไปแสดงขอรับการ ตรวจสภาพรถยนต์ เมื่อผ่านเกณฑ์การตรวจ สถานตรวจสภาพรถก็จะออกใบรับรองการตรวจสภาพรถตาแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด  แต่ถ้ารถไม่ผ่านการตรวจสภาพ สถานตรวจสภาพรถ จะแจ้งข้อบกพร่องที่เป็นเหตุให้รถนั้นไม่ผ่านการตรวจสภาพให้เจ้าของทราบ เพื่อให้เจ้าของรถนำไปแก้ไขข้อบกพร่อง และนำรถเข้ามาตรวจสภาพใหม่

หากเจ้าของรถนำรถที่แก้ไขแล้วไปตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพเอกชนแห่งเดิมภายใน 15 วัน จะเสียค่าตรวจใหม่ในอัตราครึ่งหนึ่งของค่าบริการที่กำหนดไว้ แต่หากเกิน 15 วัน หรือไปตรวจที่สถนตรวจสภาพรถเอกชนแห่งอื่นจะเสียค่าบริการเต็มอัตรา

รถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ไม่สามารถรับรับตรวจสภาพได้ 

เป็นรถที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้ ได้แก่

1รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ

2 รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่อง เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข ตัวเลขชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูดลบ หรือลบเลือน จนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้

3 รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราวหรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้

4 รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นทะเบียนรุ่นเก่า เช่น กท-00001 ซึ่งรถดังกล่าวต้องเปลี่ยนรถใหม่เมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี

5 รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน

6 รถที่ได้สิ้นอายุภาษีประจำปี ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี

ดังนั้น เจ้าของรถเมื่อใกล้ครบกำหนดการต่อภาษีรถยนต์ ควรนำรถยนต์เข้าตรวจสภาพ ซึ่งกฏหมายกำหนดให้ต่อภาษีได้ก่อนวันครบอายุไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน เพื่อไม่มีปัญหาในการต่อภาษีล่าช้า ควรรีบไปทำการต่อภาษีรถยนต์ก่อนถึงวันครบกำหนด และควรนำรถยนต์เข้าตรวจสภาพก่อนยื่นต่อภาษีด้วย เพราะตามกฎหมาย ถ้าไม่มีใบรับรองกการตรวจสภาพรถยนต์ก่อน ก็ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้เช่นกัน  เมื่อกฎหมายให้ระยะเวลาล่วงหน้าแล้ว ก็ไม่มีข้ออ้างกับคุณตำรวจแล้วนะคะ รีบไปดำเนินการให้เรียบร้อยจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง หวังว่าบทความ การตรวจสภาพรถยนต์ คงมีประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะ สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อน สวัสดีจ้า

เรียบเรียงบทความโดย EasyInsure

Loading

One thought on “วิธีการตรวจสภาพรถยนต์ ( ตรอ. ) ต่อภาษีรถยนต์ 7 ปี ต้องทำอย่างไรบ้าง

  1. Pingback: ต่อภาษีรถยนต์ วันหยุด เสาร์และอาทิตย์ ทำที่ไหนได้บ้าง - Easyinsure

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *