ต่อทะเบียนรถยนต์
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ใครมีรถยนต์ จะต้อง ต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นประจำทุกปี ขาด หรือ ลืม ต่อเมื่อไหร่มีปัญหาแน่ๆ เพราะจะไม่สามารถนำรถออกไปขับตามท้องถนนได้แบบปกติ ไปก็ไปแบบหลบๆ ซ่อนๆ ไปตามทางลัด ทางซอย เพราะกลัวคุณตำรวจจะเห็น จริงๆแล้วมันจะลำบากไปไหมถ้าจะต้องหลบขนาดนั้น เพราะการต่อทะเบียนรถยนต์ทุกวันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร และการต่อภาษีรถยนต์แบบธรรมดาก็แค่หลักพันต้นๆ ดีกว่าต้องมาขับรถหลบคุณตำรวจอยู่ทุกวัน แถมเวลาประสบอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครองอีกต่างหาก ถือว่าไม่คุ้มเลย ไปต่อทะเบียนรถยนต์กันดีกว่าค่ะ
หากรถยนต์ของคุณ ยังอยู่ในช่วงเช่าซื้อกับสถาบันการเงิน เมื่อครบอายุการต่อทะเบียนรถยนต์ ทางสถาบันการเงินก็จะมีหนังสือมาแจ้งมายังผู้เช่าซื้อ หากเราไม่สะดวกที่จะต่อทะเบียนรถยนต์เอง ก็สามารถให้ทางสภาบันการเงินเป็นผู้ดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ให้ได้ แต่ทางสถาบันการเงินมักจะคิดค่าดำเนินการสูงถึง 500 บาท ซึ่งถือว่าเยอะมาก หรือบางแห่งอาจจะถูกกว่านั้น แต่ก็ไม่ต่ำกว่า 300 บาท และยังคิดค่าต่อภาษีและต่อประกัน พ.ร.บ. โดยการปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม เช่น ค่าภาษี อยู่ที่ 1,790 บาท ทางสถาบันการเงินก็จะคิดเป็น 2,000 บาท ทำให้รวมๆแล้วเราต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยบาท ถ้าใครไม่มีปัญหาเรื่องการจ่ายเงินก็ถือว่าสะดวกดี ให้ทางสถาบันการเงินดำเนินการให้เลย แล้วรอรับใบอย่างเดียวก็พอ แต่ถ้าคิดว่าไปต่อทะเบียนรถยนต์เองดีกว่า ประหยัดมากกว่า เพราะเสียดายเงิน ซึ่งทุกวันนี้มีการต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ ที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ก่อนไปต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ เราไปดูกันก่อนว่าต้องเตรียมเอกสารอะไร และต้องทำอย่างไรบ้าง
วิธีต่อทะเบียนรถยนต์ไม่ต้องง้อสถาบันการเงิน
ต่อทะเบียนรถยนต์ แบบธรรมดา
1 เอกสารที่ต้องเตรียมในการต่อทะเบียนรถยนต์ ซึ่งก็ไม่มีอะไรมากมาย แค่สำเนาทะเบียนรถใบเดียวที่ทางสถาบันการเงินส่งมาให้ (กรณียังอยู่ในช่วงเช่าซื้อรถยนต์) ซึ่งนอกจากจะใช้ในการต่อทะเบียนรถยนต์แล้ว ควรถ่ายเอกสารติดรถไว้เสมอด้วยนะคะ เผื่อคุณตำรวจถามหาจะได้มีไว้ดู และไม่เสียค่าปรับด้วยค่ะ
2 ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลค่ะ ส่วนรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี จะต้องไปตรวจสภาพรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แต่ถ้าเป็นรถที่มีการดัดแปลงไปจากคู่มือรถ ต้องไปตรวจสภาพรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดเท่านั้น เพื่อขอใบรับรอง
3 เอกสารการรับรองติดตั้งแก๊ส จะต้องมีใบรับรองการติดตั้งและตรวจสภาพจากวิศวกรแนบไปด้วย ซึ่งถ้าติดตั้งระบบ LPG สามารถอยู่ได้ 5 ปีต่อการตรวจสภาพ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นระบบ CNG จำเป็นต้องตรวจสภาพทุกปี
4 ก่อนต่อทะเบียน ต้องทำประกัน พ.ร.บ.ก่อน เพราะกฎหมายบังคับไว้ว่า รถทุกคันต้องมี พ.ร.บ. เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้
ต่อทะเบียนรถยนต์ แบบออนไลน์
5 ต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ เมื่อจัดเตรียมเอกสารครบแล้ว หากใครสะดวกและมีเวลา ก็ไปต่อทะเบียนรถยนต์ได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด แต่ก็ต้องยอมรับว่ากว่าจะเสร็จก็ต้องเสียเวลารอคิวเป็นค่อนวัน แต่เดี๋ยวนี้สบาย และสะดวกขึ้นมากค่ะ เพราะว่า กรมการขนส่งทางบก ได้เปิดช่องทางให้ต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://www.dlt.go.th/th/ หน้าให้บริการต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf โดย ต้องทำการสมัครสมาชิกเพื่อขอรหัสผ่าน และดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ โดย นอกจากค่าภาษี และค่าประกัน พ.ร.บ.แล้ว ยังมีค่าธรรมเนียมดังนี้
1 ค่าจัดส่งเอกสาร 40 บาท
2 ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท กรณีหักผ่านบัญชีธนาคาร
3 ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร ร้อยละ 2 รวม Vat 7%) กรณีชำระผ่านบัตรเครดิต
หรือถ้าไม่สะดวกหักผ่านบัญชีหรือบัตรเครดิต ก็ปริ๊นใบชำระเงินไปจ่ายที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสได้ และเข้าไปเช็คสถานะการชำระภาษีได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกช่องทางเดียวกับการต่อทะเบียนออนไลน์ ที่เมนู ตรวจสอบผลการชำระภาษี ซึ่งจะบอกเลขพัสดุ EMS เพื่อให้ตรวจสอบสถานการณ์ส่งได้ด้วย ถือว่าสะดวกมากๆ
อ่านเพิ่มเติม : ต่อทะเบียนรถยนต์ ต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ 2562 ง่าย สะดวกกว่า ไม่ต้องเสียเวลาทำเรื่องที่ขนส่ง
เมื่อดำเนินการเสร็จเสร็จ ก็จะได้ใบเพื่อเก็บไว้ติดรถ ก่อนที่จะได้รับใบมาติดรถยนต์ หากเจอคุณตำรวจจะได้เป็นหลักฐานว่า เรา ต่อทะเบียนรถยนต์เรียบร้อยแล้ว เพียงอยู่ในขั้นตอนการจัดส่ง เพียงแค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ
เรียบเรียงบทความโดย EasyInsure
Pingback: วิธีการตรวจสภาพรถยนต์ ( ตรอ. ) แบบ 7 ปี พร้อมบอก ราคาที่จะต้องจ่าย