สัญญาณจราจร ขั้นพื้นฐาน

ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร สัญลักษณ์จราจร ที่ควรรู้ 2020

ป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจร

ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจรเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมาก เพราะไม่ว่าจะเดินทางไปไหน เราจะเห็นป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจรอยู่ทุกช่วงของการเดินทาง  ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง เราจึงควรศึกษาและมีความรู้ในเครื่องหมายจราจรเหล่านี้ไว้ เพื่อความสะดวกของตัวเราและผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

ความหมายและความสำคัญของป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจร

เครื่องหมายจราจร คือ สัญลักษณ์ทางจราจรที่ใช้ในการควบคุมการจราจร โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำหนด บังคับ การเคลื่อนตัวของจราจร  การจอด หรืออาจจะมีความหมายในการแนะนำหรือการเตือน  ได้แก่

สัญญาณไฟจราจร
สีไฟจราจร

สัญญาณไฟจราจร

สัญญาณไฟจราจร คงเป็นที่คุ้นตากันอยู่แล้ว เพราะตามแยกต่าง ๆก็จะมีสัญญาณไฟจราจรติดตั้งอยู่ เพื่อใช้ในการควบคุมการจราจร ซึ่งสัญญาณไฟจราจรจะมี 3 สี   ได้แก่ สีเขียว หมายถึง การให้รถขับผ่านไปได้  สีเหลือง ให้ผู้ขับขี่ระวัง เตรียมหยุดรถ  และสีแดง หมายถึงให้หยุดรถ แต่ในบางจุดเราจะเห็นสัญญาณไฟจราจรเป็นไฟกระพริบ ซึ่งจะใช้สำหรับทางแยกที่มีการจราจรไม่พลุกพล่าน   และยังรวมถึงให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวังในทางแยกที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้

ป้ายจราจร

ป้ายจราจรเป็นป้ายควบคุมการจราจร ซึ่งแบงออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1 เครื่องหมายจราจร (ป้ายบังคับ) เป็นป้ายกำหนดที่จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากผ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งป้ายบังคับนี้จะมีพื้นสีขาว ขอบสีแดง เช่น ห้ามเลี้ยว

2 เครื่องหมายจราจร (ป้ายเตือน) เป็นป้ายแจ้งเตือนล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวัง ลักษณะของป้ายจะเป็นพื้นสีขาว ขอบสีดำ

3 เครื่องหมายจราจร (ป้ายแนะนำ)  เป็นป้ายสำหรับแนะนำการเดินทาง เพื่อให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น ป้ายบอกระยะทาง

ป้ายจราจร ประเภทป้ายบังคับ 1 และ รูปภาพเครื่องหมายจราจร

แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
ป้ายบังคับที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด และ ป้ายบังคับที่แสดงด้วยข้อความ และ/หรือสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ ลักษณะชื่อเรียก ความหมาย
ป้ายจราจรหยุด ป้ายหยุด ป้ายจราจรนี้ จะสั่งให้รถยนต์ทุกคันจะต้องหยุด หลังจากนั้น ค่อยๆ มองดูแล้วว่าปลอดภัย ดีหรือยัง ถ้าปลอดภัยแล้ว รถโล่ง ถึงจะค่อยๆ เคลื่อนออกไป
ป้ายจราจรให้ทาง  ป้ายให้ทาง รถทุกชนิดจะต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปเสียก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว และไม่มีสิ่งกีดขวางการจราจรที่บริเวณนั้น สามารถเคลื่อนรถไปต่อได้ด้วยความระมัดระวัง
ป้ายจราจรสวนทาง  ป้ายให้รถสวนทางมาก่อน รถทุกชนิดจะต้องหยุดรถตรงป้าย เพื่อให้รถที่กำลังแล่นสวนทางมาก่อน หากเห็นว่ารถข้างหน้าหยุดรออยู่ก่อนแล้วให้ผู้ขับขี่หยุดรถรอถัดมาตามลำดับ จนกระทั่งรถที่สวนทางมาผ่านไปหมดแล้ว จึงสามารถไปต่อได้
ป้ายจราจรห้ามแซง ป้ายห้ามแซง ห้ามมิให้ขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในเขตทางห้ามแซงตามที่ติดตั้งป้ายไว้  ณ จุดนั้นๆ
ป้ายจราจรห้ามเข้า ป้ายห้ามเข้า ห้ามรถทุกชนิด เข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายห้ามเข้า
ป้ายจราจรห้ามกลับรถไปทางขวา ป้ายห้ามกลับรถไปทางขวา ห้ามรถทุกชนิดกลับรถไปทางขวา ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใดๆก็ตาม ในเขตที่มีป้ายนี้ติดตั้งอยู่
ป้ายจราจรห้ามกลับรถไปทางซ้าย  ป้ายห้ามกลับรถไปทางซ้าย ห้ามรถทุกชนิดกลับรถไปทางซ้าย ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใดๆในเขตที่มีป้ายนี้ติดตั้งอยู่
ป้ายจราจรห้ามเลี้ยวซ้าย  ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย ห้ามมิให้รถทุกชนิดเลี้ยวรถไปทางซ้าย
ป้ายจราจร ห้ามเลี้ยวขวา  ป้ายห้ามเลี้ยวขวา ห้ามมิให้รถทุกชนิดเลี้ยวรถไปทางขวา
ป้ายจราจรห้ามรถยนต์ ป้ายห้ามรถยนต์ ป้ายห้ามรถยนต์ คือ ป้ายที่ห้ามให้รถยนต์เข้าในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายจราจร
ป้ายจราจรห้ามรถบรรทุก  ป้ายห้ามรถบรรทุก ห้ามรถบรรทุกไม่ว่าจะกี่ล้อ ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้ายนี้
ป้ายจราจรห้ามรถจักรยานยนต์  ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์ ห้ามรถจักรยานยนต์ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย
ป้ายจราจรห้ามรถสามล้อ ป้ายห้ามรถยนต์สามล้อ ห้ามรถยนต์สามล้อผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย อาทิเช่น รถตุ๊กตุ๊ก รถโดยสารสามล้อ
ป้ายจราจรห้ามรถสามล้อถีบ ป้ายห้ามรถสามล้อ ห้ามรถสามล้อผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย ส่วนใหญ่จะเห็นได้จากสะพานข้ามแยก หรือ เขตสุดสถานที่ท่องเที่ยว
ป้ายจราจรห้ามจักรยาน ป้ายห้ามรถจักรยาน ห้ามรถจักรยานผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย มักจะพบในพื้นที่ที่ขรุขระ หรือทางอันตราย
ป้ายจราจรห้ามรถเข็ญ ป้ายห้ามล้อเลื่อนลากเข็น ห้ามล้อเลื่อนลากเข็นผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย ในว่าด้วยวิธีใดๆก็ตาม
ป้ายจราจรห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร  ป้ายห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร ห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตรทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย ส่วนใหญ่จะพบบริเวณที่ทำให้ถนนทรุดตัวได้ เพราะล้อไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อ วิ่งบนถนนปกติ
ป้ายจราจรห้ามรถมอไซค์-รถยนต์ ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ห้ามมิให้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ทุกชนิดผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย
ป้ายจราจรห้ามรถมอไซค์-รถยนต์-รถสามล้อ ป้ายห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ ห้ามมิให้รถจักรยาน รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ ผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย
ป้ายจราจรห้ามใช้เสียง ป้ายห้ามใช้เสียง ห้ามมิให้ใช้เสียงสัญญาณหรือทำให้เกิดเสียงที่ก่อการรบกวนไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ในเขตที่ติดตั้งป้าย ส่วนใหญ่จะพบตาม สถานที่ราชการ เช่น โรงเรียน
ป้ายห้ามคนเข้า  ป้ายห้ามคน หรือ ป้ายห้ามคนเข้า ป้ายห้ามคนเข้า คือ การห้ามคนผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้ายไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆก็ตาม
ป้ายจราจรห้ามรถยนต์ ป้ายห้ามจอดรถ ห้ามมิให้จอดรถทุกชนิดระหว่างแนวนั้น เว้นแต่การรับ – ส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า
ป้ายจราจร ห้ามหยุด ป้ายห้ามหยุดรถ ห้ามมิให้หยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นอันขาด ส่วนใหญ่จะเป็นถนนสองเลน เพราะถ้าเกิดจอดรถตรงจุดนั้น อาจทำให้เกิดอันตราย หรือ จราจรติดขัดได้
ป้ายจราจร หยุดตรวจ  ป้ายหยุดตรวจ ให้ผู้ขับรถหยุดรถที่ป้ายนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจและเคลื่อนรถต่อไปได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจแล้วเท่านั้น
ป้ายจราจรจำกัดความเร็ว ป้ายจำกัดความเร็ว ห้ามมิให้ผู้ขับรถทุกชนิดใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามจำนวนตัวเลขในแผ่นป้ายนั้นๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย จนกว่าจะพ้นที่สุดระยะที่จำกัดความเร็วนั้น อาทิเช่น 80 90 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ป้ายจราจรห้ามรถหนักเกินกำหนด  ป้ายห้ามรถหนักเกินกำหนด ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดหรือเมื่อรวมน้ำหนักรถกับ น้ำหนักบรรทุก เกินกว่าที่กำหนดไว้เป็น “ตัน” ตามจำนวนเลขในเครื่องหมายนั้นๆ เข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย
ป้ายจราจร ห้ามกว้างเกิน3เมตร ป้ายห้ามรถกว้างเกินกำหนด ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีขนาดกว้างเกินกำหนดเป็น เมตร ตามจำนวนเลขในเครื่องหมายนั้น เข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้าย
ป้ายจราจร ห้ามสูงเกิน 2.5 เมตร  ป้ายห้ามรถสูงเกินกำหนด ห้ามมิให้รถทุกชนิดที่มีความสูงของรถรวมทั้งของที่บรรทุกเกินกว่ากำหนดเป็น “เมตร” ตาม จำนวนเลข ในเครื่องหมายเข้าไปในเขตทางหรืออุโมงค์ที่ติดตั้งป้าย
ป้ายจราจร .ให้ไปข้างหน้า  ป้ายให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า ให้รถทุกชนิดขับรถตรงไปตามทิศทางที่ป้ายกำหนด หรือเดินรถทางเดียว
ป้ายจราจร ให้ไปทางซ้าย  ป้ายทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย ให้รถทุกชนิดขับรถไปทางซ้ายแต่ทางเดียว
ป้ายจราจรให้ไปทางขวา ป้ายทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา ให้รถทุกชนิดขับรถไปทางขวาแต่ทางเดียว
ป้ายจราจรให้ชิดซ้าย  ป้ายให้ชิดซ้าย ให้รถทุกชนิดขับรถผ่านไปทางซ้ายของป้าย
ป้ายจราจรให้ชิดขวา ป้ายให้ชิดขวา ให้รถทุกชนิดขับรถผ่านไปทางขวาของป้าย
ป้ายจราจรให้เลี้ยวซ้าย  ป้ายให้เลี้ยวซ้าย ป้ายให้เลี้ยวซ้าย คือ ป้ายจราจร ที่บังคับให้รถทุกชนิดขับรถเลี้ยวไปทางซ้ายแต่ทางเดียว
ป้ายจราจร ให้เลี้ยวขวา  ป้ายให้เลี้ยวขวา ป้ายบังคับ ให้รถทุกชนิดขับรถเลี้ยวไปทางขวาแต่ทางเดียว
ป้ายจราจร เลี้ยวซ้ายและขวา ป้ายให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา ให้รถทุกชนิดสามารถขับรถไปทางซ้าย หรือไปทางขวา
ป้ายจราจร ไปทางซ้าย และ ขวา  ป้ายให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา ให้รถทุกชนิดขับรถผ่านไปทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวาของป้าย
ป้ายจราจร วงเวียน  ป้ายวงเวียน ให้รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียนและรถที่เริ่มจะเข้าสู่ทางร่วมบริเวณวงเวียนต้องหยุดให้สิทธิแก่รถที่เล่นอยู่ในทางรอบวงเวียนไปก่อน ห้ามขับรถแทรกหรือตัดหน้ารถที่อยู่ในทางรอบบริเวณวงเวียน หากเกิดอุบัติเหตุให้ดู ฝ่านถูกและฝ่ายผิด จากเลนหรือเส้นทางที่ขับมา
ป้ายจราจร สุดเขตบังคับ  ป้ายสุดเขตบังคับ พ้นสุดระยะที่บังคับตามความหมายของป้ายบังคับที่ติดตั้งไว้ก่อน อาทิเช่น ป้ายจำกัดความเร็ว

ประโยชน์ของป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจร

1 ช่วยให้ผู้ขับขี่มีวินัยมากขึ้น    เพราะว่าการการขับขี่รถ ไม่ว่าจะเป็นถนนสายหลัก สายรอง หรือแม้แต่ในหมู่บ้าน สถานที่   ก็ใช้กฎจราจรเดียวกันทั่วประเทศ การที่ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจรและมีความรู้ความเข้าใจในความหมายของป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจร ก็จะทำให้ผู้ขับขี่เมื่อเห็นป้ายจราจรหรือเครื่องหมายจราจรก็จะปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง เกิดวินัยในการใช้รถใช้ถนน และช่วยลดปัญหารถติดได้เช่นกัน
2 ช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุได้  เพราะการเกิดอุบัติส่วนมากจะมาจากการไม่เคารพและไม่ทำตามกฎจราจร มีป้ายจราจรบอกว่าห้ามเลี้ยว ก็เลี้ยว  มีสัญญาณไฟแดงขึ้น รู้ทั้งรู้ว่าต้องหยุด แต่ก็ยังเหยียบคันเร่งเพราะคิดว่าจะผ่านไปทัน ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดอุบัติเหตุ หากมีป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจรบ่งชัด และผู้ขับขี่มีวินัย มันก็จะช่วยลดการเกิดอุบัติได้ เพราะการเกิดอุบัติแต่ละครั้ง ความเสียหายมีมูลค่าไม่ใช่น้อย ๆ ที่สำคัญคือสูญเสียชีวิต ทำให้หลายครอบครัวขาดคนที่เป็นเสาหลักเกิดปัญหาต่าง ๆตามมา ป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจรก็จะมาเป็นส่วนช่วยในกาคอยเตือน คอยแนะนำให้กับผู้ขับขี่รถบนท้องถนนได้ปฏิบัติตาม

3 ช่วยลดการถูกจับ ปรับ จากการทำผิดกฎจราจร  แน่นอนว่าหลายคงเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำผิดกฎจราจร ทำให้คุณตำรวจจับ ปรับ แล้วข้ออ้างที่มักจะได้ยินจากคำพูดผู้กระทำผิด คือ มองไม่เห็นป้ายจราจร  หรือไม่มีป้ายจราจร  ซึ่งจะเห็นได้ว่า ป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจรหากมีการติดตั้งให้ผุ้ขับขี่ได้เห็น และผู้ขับขี่ปฏิบัติตาม ก็จำทำให้รอดพ้นจากการถูกจับ ปรับได้ค่ะ

4 ช่วยเตือนภัยล่วงหน้า ทำให้ผู้ขับขี่มีการขับขี่อย่างระมัดระวัง เช่น ป้ายทางลื่น ทางโค้ง  ป้ายระวังสัตว์ป่าเดินข้ามถนน เป็นต้น ซึ่งป้ายเหล่านี้มีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่มากเพราะจะทำให้เป็นการเตือนล่วงหน้า ให้ขับขี่อย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุไม่คาดฝัน และยังเป็นทำให้เป็นทางเลือกว่า ผู้ขับขี่ไปเส้นทางนี้หรือจะเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน ก็จะทำให้ผู้ขับขี่มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

เห็นไหมคะว่า ป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจรที่เราเห็นอยู่ตามท้องถนน มีความสำคัญขนาดไหน  ดังนั้น ผู้ขับขี่รถ และผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่าง ๆได้ลงมาก  และยังทำให้ไม่ถูกจับปรับ จากคุณตำรวจด้วย

ขอบคุณบทความจาก EASYINSUREBROKER

สามารถอ่าน ความรู้ ป้ายจราจร ฉบับเต็มๆได้ที่นี่ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร สัญลักษณ์ไฟจราจร ป้ายเตือน มีอะไรบ้างมาดูกัน

Loading

3 thoughts on “ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร สัญลักษณ์จราจร ที่ควรรู้ 2020

  1. Pingback: 10 รูปแบบการจอดรถที่ผิดกฎหมายจราจรทางบก หากใครฝ่าฝืนถูกปรับแน่

    • Admin says:

      เรียนคุณ : ปุณณภา ทองประดิษฐ์

      อีซี่ขอบคุณครับ ที่ติดตามสาระน่ารู้จากเรา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *