อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากผู้ขับรถมีอาการเมาแล้วขับ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยไปจนกระทั่งเมาไม่ได้สติก็ทำให้เกิดอุบัติได้เหมือนกันซึ่งเป็นเพราะว่าแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการกดประสาท ทำให้สติสัมปัญชัญญะในการตัดสินใจลดน้อยลง ในทางกฎหมายเองก็มีการจำกัดระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดของผู้ขับขี่ด้วยเช่นกัน ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบว่ามีระดับแอลกอฮอล์สูงกว่ากำหนดผู้ขับขี่ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการปรับเงิน หรือการจำคุก ยิ่งถ้าตรวจพบระดับแอลกอฮอล์เกินกว่ากำหนดในขณะที่เกิดอุบัติเหตุด้วยแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดก็จะโดนโทษหนักมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2562 มีการปรับแก้ไขกฎหมายเรื่องเมาแล้วขับให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ดังนี้
- เมาแล้วขับจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000 บาทถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังถูกศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาต จนถึงการยึดรถที่ใช้ไม่เกิน 7 วัน
- เมาแล้วขับจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ มีโทษจำคุก 1-5 ปี ถูกปรับ 20,000 ถึง 100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือเพิกถอนใบอนุญาต
- เมาแล้วขับจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส มีโทษจำคุก 2-6 ปี ปรับขั้นต่ำ 40,000 ถึง 120,000 บาท ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต
- สุดท้ายในกรณีเมาแล้วขับจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่กรรม มีโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับเป็นเงิน 60,000 ถึง 200,000 บาทรวมถึงถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ทันที
โดยระดับแอลกอฮอล์ที่กฎหมายกำหนดคือ ต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ในร่างกาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ตรวจถ้าไม่ยอมให้ตรวจหรือเจตนาหลบหนีก็จะมีโทษทางกฎหมายด้วยเช่นกัน ซึ่งแอลกอฮอล์ในปริมาณดังกล่าวถือว่าเป็นปริมาณที่ต่ำมาก เพราะการดื่มเบียร์ 1 กระป๋องร่างกายจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ถึง 330 มิลลิกรัม ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วถ้าดื่มก็ไม่ควรขับเด็ดขาดเพราะเพียงแค่เริ่มดื่มปริมาณแอลกอฮอล์ก็เกินกว่ากฎหมายกำหนดแล้ว
อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือ อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่ากำหนดทางประกันจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นค่าสินไหมทดแทน ค่าประกันตัว หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทางศาล โดยผู้ขับขี่จะต้องเป็นผู้จ่ายเองทั้งสิ้น เมื่อทราบอย่างนี้แล้วถ้าทราบว่าจะต้องดื่มแอลกอฮอล์ควรใช้บริการรถแทกซี่ หรือให้ผู้ที่ไม่ได้ดื่มเป็นผู้ขับจะเป็นการปลอดภัยที่สุด
เรียบเรียงโดย ( Easyinsure )
ถ้าไม่ถึง50ไม่โดน แต่บางด่านขอดุใบขับขี่ถ้ามีก็รอดไม่มีก็โดน เพราะกฏหมายกำหนดผุ้ที่ไม่ถึง20หรือมีใบขับขี่ชั่วคราว แอลกอฮอลต้องไม่เกิน20 ตรงจุดนี้และที่เรายังไม่รุ้กันคือไม่เกิน20นี่คือวัดจากในเลือดนะคับไม่ใช่เป่าแล้ววัดใด้20จำใว้ ถ้าวัดแล้วไม่เจอแนะนำคับหาทนายสู้ในศาลเลยคับ ุ้าเราไม่ผิดบอกเลยเราฟ้องกลับใด้คับมันโดนหลายข้อหาเลย ตำรวจ ถ้ามันแจ้งข้อหาว่ามาวใบขับขี่ไม่มีเกิน20 ช่วงนั้นให้เราบอกมันพาไปวัดที่โรงบาลเลยคับ ถ้ามั่นใจว่าแฮลกอฮอลในเลือดไม่ถึง ไม่ต้องกลัวคับ ผมเกือบฟ้องแล้ว แต่มันยอม ถึงปล่อยผมวันนั้นผมโดนเป่า28 จึงโทรหาทนายผม
วัดได้90ประกันจะซ่อมรถให้เรามั้ยถ้าเราเป็นฝ่ายผิด
ช่วยตอบผมด้วย
ถ้าไม่ถึง 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่ถือว่าเป็นการเมาแล้วขับ ครับ
ผมไปรับน้องมาพอดีน้องมันเมาผมจึงไปรับกับแต่ตอนกับผมกินไป1แก้วขี่ออกมาโดนจับตรวจวัตได้32จะโดนอะไรไหมคับ
เมาแล้วขับ แบบนี้ไม่ดีเลยนะ ทำให้คนอื่นเดือดร้อน