4 พฤติกรรม ที่ทำให้รถพังโดยไม่รู้ตัว ฉบับแสนง่าย สไตล์ อีซี่

รถยนต์ ถือเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของคนปัจจุบันไปแล้ว เพราะนอกจากจะลดเวลาในการเดินทางแล้ว บางครั้งรถยนต์ก็เป็นปัจจัยที่ใช้ในการทำงานได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ารถยนต์เป็นสิ่งของที่มีราคาค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่จึงเป็นสิ่งสำคัญ พฤติกรรมการขับขี่บางอย่างอาจจะทำให้รถเสียหายเร็วมากขึ้นกว่าปกติได้ เช่น

4 พฤติกรรม ที่ทำให้รถพังโดยไม่รู้ตัว

4 พฤติกรรม ที่ทำให้รถพังโดยไม่รู้ตัว

           1. การขับรถโดยปล่อยให้น้ำมันเชื้อเพลิงหมดถัง พฤติกรรมดังกล่าวทำความเสียหายให้กับชิ้นส่วนภายในรถยนต์ได้มากเลยทีเดียว เพราะชิ้นส่วนรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นโลหะทั้งสิ้น น้ำมันเชื้อเพลิงนอกจากจะให้พลังงานเพื่อให้รถวิ่งได้แล้ว ยังเป็นสารหล่อลื่นลดการเสียดสีของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเช่นกัน การปล่อยให้น้ำมันเชื้อเพลิงหมดก็หมายถึงเพิ่มการเสียดสีของชิ้นส่วนโลหะอันจะทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้เสื่อมก่อนเวลาอันสมควร

2. การไม่เข้าเช็คระยะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด นอกจากน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องเปลี่ยนตามระยะเวลาหรือระยะทางที่วิ่งจนครบเช่นกัน การเข้าศูนย์บริการหรืออู่มาตรฐานนอกจากจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแล้วยังเป็นการเช็คความสมบูรณ์ของชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ด้วย รวมไปถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นเช่น ยางรถยนต์ หรือผ้าเบรค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตขณะขับรถ

3. เกียร์รถยนต์ ถือเป็นส่วนสำคัญและมีมูลค่าความเสียหายที่สูงมากเช่นกัน พฤติกรรมการเปลี่ยนเกียร์เร็วเกินไป เช่น เปลี่ยนจากเกียร์เดินหน้าเป็นถอยหลังในขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่งจะทำให้อายุการทำงานของเกียร์ลดน้อยลงและค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนที่สูงมากตามมา แม้จะเห็นได้ว่าในภาพยนตร์หรือทีวีที่มีการสลับเกียร์อย่างรวดเร็วจะสามารถทำได้ แต่ต้องตระหนักไว้เสมอว่า ผู้ที่ทำไม่ได้เป็นเจ้าของรถและไม่ได้เป็นคนออกค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์เหล่านี้ นอกจากนี้การใช้เกียร์ผิดเช่น การขึ้นลงเขาด้วยเกียร์ปกติจะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเช่นกัน แม้จะไม่ได้เป็นผลเสียที่เกิดกับเกียร์โดยตรงแต่พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้อายุของผ้าเบรครถยนต์เสื่อมเร็วกว่าปกติ และอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุเมื่อผ้าเบรคไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน

4. การบรรทุกของหนักในรถตลอดเวลา เนื่องจากรถยนต์แต่ละประเภทถูกออกแบบโครงสร้างมาแตกต่างกัน เช่น รถยนต์ที่ใช้สำหรับบรรทุกจะมีโครงสร้างเพื่อรองรับน้ำหนักของที่จะบรรทุกมากกว่า เช่น โช๊ค หรือปีกนก ที่ใหญ่กว่ารถโดยสารทั่วไป ดังนั้นการบรรทุกของหนักไว้ในรถประเภทที่เป็นรถโดยสาร นอกจากจะทำให้โครงสร้างรถโดยรวมเสียหายแล้วยังจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยเช่นกัน

แม้รถยนต์จะสร้างมาจากโลหะและออกแบบมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับเจ้าของ แต่การขาดการดูแลอาจจะทำให้รถยนต์ที่เป็นประโยชน์กลายเป็นของให้โทษและภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น กับเจ้าของได้เช่นกัน

ขอบคุณภาพจาก joodnee ,Auto Sanook

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *