3 ระดับ ขับรถลุยน้ำท่วมแล้วยังไหว

3 ระดับ ขับรถลุยน้ำท่วมแล้วยังไหว ฉบับแสนง่าย สไตล์ อีซี่

ในช่วงฤดูฝนหรือบริเวณที่มีปัญหาน้ำท่วมบ่อยๆ เมื่อผู้ขับขี่ประเมินแล้วว่าจำเป็นต้องขับรถผ่านบริเวณนั้นไป นอกเหนือจากเทคนิคในการขับ เช่น การปิดเครื่องปรับอากาศรถหรือใช้เกียร์ต่ำแล้ว ผู้ขับขี่ควรประเมินระดับน้ำก่อนที่จะตัดสินใจขับผ่านไป โดยการประเมินนี้ไม่ได้หมายถึงว่าผู้ขับขี่จะต้องถึงกับลงไปวัดระดับน้ำที่จะขับผ่าน แต่เป็นการสังเกตระดับน้ำโดยดูจากตัวรถเช่น น้ำท่วมถึงระดับกลางล้อ หรือถึงระดับหน้ารถ ถ้าผู้ขับขี่สังเกตระดับน้ำแล้วก็จะสามารถประเมินได้มากขึ้นว่าควรจะขับผ่านบริเวณนั้นไปหรือไม่

  3 ระดับ ขับรถลุยน้ำท่วมแล้วยังไหว

 3 ระดับ ขับรถลุยน้ำท่วมแล้วยังไหว

ระดับต่ำกว่ากลางล้อ สามารถขับผ่านได้ปกติ แต่ควรระมัดระวังเรื่องน้ำกระเด็นถูกผู้อื่น หรือแม้กระทั่งกระเด็นเข้าใต้ท้องรถ เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงแล้วกำลังจะเข้าสู่บริเวณน้ำท่วมนี้ควรปฏิบัติดังนี้คือ ยกเท้าออกจากคันเร่ง และเหยียบเบรคเพื่อลดความเร็ว

โดยใช้ลักษณะการเหยียบแบบเหยียบแล้วปล่อย หลายๆ ครั้งติดกัน เพื่อไม่ให้เบรคทำงานหนักมากเกินไปและไม่เป็นอันตรายมากต่อผู้โดยสารในรถด้วยเช่นกัน และเมื่อรถกำลังจะแล่นผ่านบริเวณน้ำท่วมขังนั้นไม่ควรเหยียบเบรคต่อเพราะจำทำให้รถเสียหลักได้เนื่องจากผิวถนนกับล้อรถมีน้ำมากั้นแล้ว การเหยียบเบรคในขณะที่รถวิ่งมาเร็วจะทำให้หน้ารถปัดไปมาและควบคุมได้ลำบาก ซึ่งไม่ต้องตกใจว่ารถจะแล่นเร็วไปเพราะน้ำจะช่วยชะลอความเร็วรถได้ในระดับนึง ถ้าไม่เหยียบคันเร่งต่อไป

ระดับน้ำที่สูงกว่ากลางล้อจนถึงไฟหน้า เป็นระดับที่เสี่ยงต่อการดับในขณะขับผ่าน แต่ก็ยังสามารถขับไปได้ โดยร่วมไปกับเทคนิคในขณะขับด้วยดังที่กล่าวมาข้างต้น เช่น ปิดแอร์ และใช้รอบเครื่องต่ำ โดยหลักสำคัญในการขับรถผ่านที่ระดับน้ำท่วมขนาดนี้คือการรักษารอบเครื่องให้สม่ำเสมอ ซึ่งผู้ขับขี่ต้องประเมินว่าสามารถทำได้ตลอด เช่น ถ้ามีรถที่จะข้ามบริเวณนี้ไปหลายคันต่อกันอยู่ ควรจะเว้นระยะระหว่างคันให้มากเข้าไว้เผื่อกรณีที่รถคันหน้ามีความจำเป็นต้องหยุดจะได้ไม่ส่งผลกระทบถึงรถของเรา หรือถ้าให้ดีควรจะรอให้รถคันหน้าขับผ่านพ้นบริเวณน้ำท่วมไปก่อนเลย

ระดับน้ำที่สูงกว่าไฟหน้ารถขึ้นไป เป็นระดับน้ำที่ไม่แนะนำให้ขับผ่านเนื่องจากเป็นระดับที่น้ำสามารถเข้าเครื่องยนต์ได้ง่าย ถึงแม้จะใช้เทคนิคการขับที่กล่าวมาแล้วก็อาจจะทำให้น้ำเข้าเครื่องจนเครื่องยนต์ดับได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมาก อาจจะต้องเลือกเส้นทางอื่นในการขับจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า

ขอบคุณภาพจาก Auto Sanook ,not-mitsubishi.com

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *