ประกันภัยรถยนต์

เทคนิคขับรถในช่วงหน้าร้อนอย่างไรให้ปลอดภัย ตามสไตล์ อีซี่

บ้านเรามีฤดูกาลหลักทั้งหมดสามฤดู คือ หน้าร้อน หน้าฝน และหน้าหนาว ซึ่งวิธีการขับรถให้ปลอดภัยในแต่ละฤดูกาลก็จะแตกต่างกันไป และในครั้งนี้เราจะมาคุยกันถึงประเด็นที่ว่าขับรถในหน้าร้อนอย่างไรให้ปลอดภัย เวลาคิดถึงผลกระทบของฤดูกาลที่มีต่อการใช้รถใช้ถนน คนก็มักจะคิดว่าหน้าฝนนั้นอันตราย เพราะถนนจะลื่น ทัศนวิสัยก็ไม่ค่อยดี แต่ไม่ใช่แค่หน้าฝนเท่านั้น หน้าร้อนก็มีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเหมือนกัน

เทคนิคขับรถในช่วงหน้าร้อนอย่างไรให้ปลอดภัย

         เทคนิคขับรถในช่วงหน้าร้อนอย่างไรให้ปลอดภัย

สิ่งแรกที่ต้องคิดถึงในการขับรถช่วงหน้าร้อนก็คือความร้อนนี่แหละ ยิ่งหน้าร้อนบ้านเราที่ร้อนกันแบบเอาเป็นเอาตาย ขนาดนั่งในห้องโดยสารที่เปิดแอร์เบอร์แรงสุดเรายังรู้สึกได้ว่ามันร้อน แล้วรถทั้งคันที่ต้องวิ่งตากแดดจะไม่ร้อนได้ยังไง และความร้อนนี่แหละที่จะทำให้รถคันสวยหมดสภาพได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น การจะปล่อยให้รถเกิดกระบวนการเยียวยาตัวเองก็คงไม่ทันการ เราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อช่วยรถของเราด้วย และนั่นก็เพื่อความปลอดภัยของเราเอง

การวิ่งรถในหน้าร้อนเราต้องหาจุดหยุดพักเป็นระยะ ซึ่งควรจะถี่กว่าการขับรถตอนที่อากาศเย็น และเมื่อจอดรถเรียบร้อยแล้วก็ต้องเปิดกระโปรงรถเพื่อช่วยให้รถได้ระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์ด้วย เพราะหากเครื่องยนต์ร้อนจัด อาจเกิดอาการน็อคกลางทางจนรถเสียหลักและเกิดอุบัติเหตุได้ ขณะที่พักรถก็ต้องพักคนไปด้วย เนื่องจากความร้อนก็ทำให้เรารู้สึกอ่อนล้าได้ง่ายขึ้นเหมือนกัน

เมื่อรถเย็นลงแล้วก็พร้อมที่จะเดินทางต่อ ให้เปิดกระจกเล็กน้อยเพื่อไล่ความร้อนออกจากห้องโดยสารแล้วเปิดแอร์ด้วยระดับปกติสักพักก่อนที่จะปิดกระจก จะช่วยให้ระบบแอร์ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป อย่าใช้วิธีเข้ามาในรถแล้วก็เร่งแอร์แรงสุดเพื่อให้เย็นไวๆ แบบนั้นจะกลายเป็นว่าต้องเอารถเข้าศูนย์เร็วกว่ากำหนดอย่างแน่นอน และอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ภายในห้องโดยสารไม่ร้อนมากไปก็คือ แผ่นปิดกระจกกันความร้อนซึ่งอาจจะช่วยได้ไม่เท่าไรแต่ก็ดีกว่าไม่ติดไว้นะ

สุดท้ายคือหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์อยู่เสมอ เพราะความร้อนสามารถสร้างความเสียหายให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นได้ เช่น แบตเตอรี่ที่เป็นส่วนสำคัญของระบบไฟจะเกิดอาการบวมได้ง่ายเมื่อเจอความร้อน หรือสายไฟที่ฉนวนหุ้มสายจะชำรุดได้เพราะความร้อนเช่นกัน เมื่อเห็นบางอย่างผิดปกติไปก็ต้องเอารถเข้าอู่หรือศูนย์เพื่อบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานเสียก่อน

ขอบคุณภาพจาก    Auto Sanook  , สสส.

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *